https://li01.tci-thaijo.org/index.php/ASJ/issue/feed วารสารวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมการเกษตร 2024-11-15T00:19:29+07:00 ศกร คุณวุฒิฤทธิรณ (Skorn Koonawootrittriron) thaiagrisci@gmail.com Open Journal Systems https://li01.tci-thaijo.org/index.php/ASJ/article/view/261628 การอนุรักษ์และถ่ายทอดภูมิปัญญาอาหารโปรตุเกส: กรณีศึกษาชุมชนกุฎีจีน เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร 2024-01-21T15:07:35+07:00 บุษกร สุทธิประภา s.bussakorn@gmail.com ศศิอาภา บุญคง sasiapa@dru.ac.th ข่ายทอง ชุนหสุวรรณ khaithong@dru.ac.th <p><strong>ความเป็นมาและวัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> ชุมชนกุฎีจีนตั้งอยู่ในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร จัดเป็นชุมชนพหุวัฒนธรรม มีภูมิปัญญาอาหารโปรตุเกสอยู่ในวิถีการดำเนินชีวิตของคนในชุมชน การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดของอาหารโปรตุเกส และแนวทางในการถ่ายทอดองค์ความรู้และอนุรักษ์ภูมิปัญญาอาหารโปรตุเกสภายในชุมชนกุฎีจีน<br /><strong>วิธีดำเนินการวิจัย</strong><strong>:</strong> กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักในการวิจัยครั้งนี้ มีจำนวน 10 คน ได้แก่ ผู้ที่สืบเชื้อสายของชาวโปรตุเกส ผู้นำชุมชน ชาวชุมชน และผู้รู้ด้านอาหารโปรตุเกส เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับความรู้ ประเภทของอาหารตามวัฒนธรรมโปรตุเกสร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อศึกษาแนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาด้านอาหารโปรตุเกสผ่านการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้วยวิธีต่าง ๆ<br /><strong>ผลการวิจัย</strong><strong>: </strong>ชนิดของอาหารโปรตุเกสที่พบในชุมชนกุฎีจีน จำนวน 14 ชนิด ได้แก่ ต้มมะฝ่า ต้มเค็มโปรตุเกส เนื้อซาโมล หมูอบมันฝรั่ง เจ้าเจา ขนมจีนแกงไก่คั่ว สัพแยก ยำทวาย ยำใหญ่ หมูฝอยผัดกากหมู ขนมฝรั่งกุฎีจีน ขนมกุสรัง ขนมกวยตัส และขนมหน้านวล เป็นอาหารที่ยังคงมีอยู่ในครัวเรือน บางส่วนได้มีการประกอบเชิงพาณิชย์ และมีความเชื่อมโยงระหว่างอาหาร ความเชื่อ ศาสนา และประเพณี โดยมีการประยุกต์ใช้วัตถุดิบและอุปกรณ์ที่มีในปัจจุบัน มีการอนุรักษ์ภูมิปัญญาอาหารโปรตุเกสในชุมชนกุฎีจีนผ่านการถ่ายทอดองค์ความรู้จากคนในครอบครัว ผ่านระบบผู้สูงวัยและเครือญาติ รวมทั้งการนำความรู้และทักษะที่ได้รับมาประกอบอาชีพภายในชุมชน<br /><strong>สรุป: </strong>การเปลี่ยนแปลงทางสังคมพหุวัฒนธรรมทำให้เกิดการผสมผสานของวัฒนธรรมอาหารในชุมชน และส่งผลให้อาหารโปรตุเกสในชุมชนมีการปรับเปลี่ยน และมีการประยุกต์ใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น มีการนำอาหารโปรตุเกสที่เป็นที่รู้จักมาผลิตและจัดจำหน่ายเชิงพาณิชย์ เกิดเป็นอัตลักษณ์ของชุมชน และควรจัดทำฐานข้อมูลตำรับอาหารเพื่อเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาและสานต่อองค์ความรู้ด้านอาหารโปรตุเกสให้คงอยู่ต่อไป</p> 2024-11-15T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมการเกษตร https://li01.tci-thaijo.org/index.php/ASJ/article/view/261667 การเปลี่ยนแปลงฤดูกาลต่อความผันแปรของสัดส่วนไขมันต่อโปรตีนในน้ำนม และความเสี่ยงของภาวะแอซิโดซิสและคีโตซิสในโคนมไทย 2024-03-15T10:14:08+07:00 ธัญญรัตน์ เกาะเกตุ thanyarat.kor@ku.th ดนัย จัตวา fagrdnj@ku.ac.th ธนาทิพย์ สุวรรณโสภี agrtts@ku.ac.th ศกร คุณวุฒิฤทธิรณ agrskk@ku.ac.th <p><strong>ความเป็นมาและวัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> ความผันแปรของสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศในแต่ละฤดูกาลอาจส่งผลต่อแนวทางการจัดการผลิตโคนม งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลต่อความผันแปรของสัดส่วนไขมันต่อโปรตีนในน้ำนม (FPR) และความเสี่ยงต่อการเกิดแอซิโดซิสและคีโตซิสในโคนมไทย<br /><strong>วิธีดำเนินการวิจัย</strong><strong>: </strong>ชุดข้อมูลปริมาณน้ำนม ไขมันนม โปรตีนนม และ FPR จำนวน 47,205 ข้อมูล ของโคนมท้องแรก 4,440 ตัว ถูกวิเคราะห์โดยใช้หุ่นจำลองเชิงเส้นที่พิจารณาฟาร์ม-ปี-ฤดูกาล อายุเมื่อคลอดลูก ระดับสายเลือดโฮลสไตน์ และจำนวนวันให้นมเป็นปัจจัยกำหนดและความคลาดเคลื่อนเป็นปัจจัยสุ่ม ความเสี่ยงของการเกิดแอซิโดซิส (FPR &lt; 1.10) และคีโตซิส (FPR &gt; 1.50) ถูกระบุโดย FPR และประเมินอุบัติการณ์ดังกล่าวตามฤดูกาลโดยใช้ไคสแควร์<br /><strong>ผลการวิจัย</strong><strong>: </strong>โคนมไทยให้ผลผลิตน้ำนมมากที่สุดในฤดูหนาว (13.32 ± 0.040 กิโลกรัมต่อวัน) แต่ให้ไขมันนม (ร้อยละ 3.69 ± 0.008) และโปรตีนนม (ร้อยละ 3.15 ± 0.005) มากที่สุดในฤดูฝน ความเสี่ยงของการเกิดแอซิโดซิสและคีโตซิสระหว่างฤดูกาลแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ (P = 0.4136) โคนมมีแนวโน้มเกิดภาวะแอซิโดซิสและคีโตซิสสูงสุดในฤดูหนาว (ร้อยละ 15.81 และ 3.38) ฤดูร้อน (ร้อยละ 15.42 และ 3.22) และฤดูฝน (ร้อยละ 14.96 และ 3.19) ตามลำดับ<br /><strong>สรุป: </strong>การวางแผนการจัดการอาหารที่เหมาะสมและเพียงพอเพื่อตอบสนองความต้องการของโคนมในแต่ละฤดูกาลเป็นสิ่งสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและคุณภาพน้ำนมและลดปัญหาสุขภาพของโคนม</p> 2024-11-15T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมการเกษตร https://li01.tci-thaijo.org/index.php/ASJ/article/view/261659 การศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพไข่ของไก่ไข่ทางการค้า ไก่เบตง (สายเคยู) และไก่พันธุ์สังเคราะห์ที่เลี้ยงในโรงเรือนระบบปิด 2024-04-20T15:16:49+07:00 เสวก เกียรติสมภพ savek.k@ku.th สมบัติ ประสงค์สุข agrsbp@ku.ac.th อัญชลี บวดขุนทด fagralb@ku.ac.th พรรณวดี โสพรรณรัตน์ fagrptb@ku.ac.th พนัดดา บึงศรีสวัสดิ์ fagrptb@ku.ac.th <p><strong>ความเป็นมาและวัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> การศึกษาครั้งนี้ได้ทำการศึกษาคุณภาพไข่ของไก่ไข่ทางการค้า ไก่เบตง (สายเคยู) และไก่พันธุ์สังเคราะห์ ซึ่งอาจมีลักษณะเด่นที่สามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ไก่ไข่โดยใช้การผสมระหว่างไก่พื้นเมืองและไก่ทางการค้า<br /><strong>วิธีดำเนินการวิจัย</strong><strong>: </strong>ไข่ไก่จำนวน 120 ฟอง จากไก่สามพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์โลห์มันบราวน์ พันธุ์เบตง (สายเคยู) และพันธุ์สังเคราะห์ ถูกสุ่มเก็บกลุ่มละ 20 ฟอง จำนวน 2 ครั้ง ห่างกัน 4 สัปดาห์จากแต่ละกลุ่ม เพื่อวิเคราะห์คุณภาพไข่ในด้านต่าง ๆ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความแปรปรวนร่วม โดยใช้น้ำหนักไข่เป็นตัวแปรควบคุม<br /><strong>ผลการวิจัย</strong><strong>: </strong>ลักษณะคุณภาพไข่ไก่ของไก่พันธุ์โลห์มันบราวน์มีลักษณะที่โดดเด่น โดยมีค่าเฉลี่ยน้ำหนักไข่ขาว 37.56 กรัม ค่าความสูงไข่ขาว 7.67 มิลลิเมตร ค่าฮอฟ์ยูนิต 87.93 และค่าความหนาของเปลือกไข่ 0.39 มิลลิเมตร โดยแตกต่างจากกลุ่มทดลองอื่น (P &lt; 0.05) โดยลักษณะที่ไก่พันธุ์สังเคราะห์มีความโดดเด่นคือ น้ำหนักไข่แดงที่สูงที่สุดโดยมีค่าเฉลี่ย 19.44 กรัม รวมถึงมีสัดส่วนไข่แดงต่อไข่ขาวสูงที่สุดที่ 0.61 สำหรับไก่พันธุ์เบตงมีจุดเด่นคือคะแนนสีของไข่แดงที่มีค่าสูงที่สุด<br /><strong>สรุป: </strong>การศึกษาคุณภาพของไข่ไก่เบตงและไก่พันธุ์สังเคราะห์ แสดงให้เห็นว่า น้ำหนักไข่แดงและสัดส่วนไข่แดงต่อไข่ขาวมีค่าสูงกว่าไก่ไข่ทางการค้า ข้อมูลที่ได้สามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ รวมถึงเป็นการนำเสนอข้อมูลพื้นฐานของคุณภาพไข่จากไก่เบตงและไก่พันธุ์สังเคราะห์ ซึ่งชี้ให้เห็นประโยชน์ของการรักษาไก่พันธุ์พื้นเมืองต่อไป</p> 2024-11-15T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมการเกษตร https://li01.tci-thaijo.org/index.php/ASJ/article/view/261666 อุณหภูมิในการเก็บรักษาและระยะเวลาในการแช่แข็งต่อคุณภาพและองค์ประกอบของน้ำนมแพะดิบ 2024-03-15T10:14:34+07:00 รัฐวีร์ ติณตะบุตร rathawee.t@ku.th เพ็ญพิชชา เอิบอิ่ม penpitcha.e@ku.th พรรณวดี โสพรรณรัตน์ agrpds@ku.ac.th เสวก เกียรติสมภพ savek.k@ku.th พนัดดา บึงศรีสวัสดิ์ fagrptb@ku.ac.th <p><strong>ความเป็นมาและวัตถุประสงค์</strong><strong>: </strong>เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะนมใช้การแช่แข็งน้ำนมแพะดิบก่อนส่งเข้าโรงงาน การศึกษาอุณหภูมิและระยะเวลาที่เหมาะสมในการเก็บรักษาสามารถใช้เป็นแนวทางควบคุมคุณภาพน้ำนมได้ วัตถุประสงค์ของการทดลองครั้งนี้ เพื่อเปรียบเทียบอุณหภูมิในการเก็บรักษาและระยะเวลาในการแช่แข็งต่อคุณภาพและองค์ประกอบน้ำนม รวมถึงคุณภาพทางจุลชีววิทยาของน้ำนมแพะดิบ<br /><strong>วิธีดำเนินการวิจัย</strong><strong>: </strong>ใช้แผนการทดลอง 2 x 5 แฟคทอเรียลในบล็อกสมบูรณ์ แหล่งที่มาของถังนมรวมเป็นบล็อก ปัจจัยทดสอบคือ อุณหภูมิเก็บรักษาและระยะเวลาแช่แข็ง โดยเก็บน้ำนมแพะดิบที่อุณหภูมิ -15 (-15.09 ± 0.28) และ -20 (-20.00 ± 0.25) องศาเซลเซียส และระยะเวลาในการเก็บรักษาที่ 7, 14, 30, 60 และ 90 วัน เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพน้ำนม องค์ประกอบทางเคมี และคุณภาพทางจุลชีววิทยา และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยในบางลักษณะคุณภาพด้วย Tukey’s test ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05<br /><strong>ผลการวิจัย</strong><strong>: </strong>อุณหภูมิในการเก็บรักษาที่ -15 และ -20 องศาเซลเซียส ระยะเวลาแช่แข็งที่ 7, 14, 30, 60 และ 90 วัน ไม่พบความแตกต่างของค่าจุดเยือกแข็ง องค์ประกอบทางเคมี และจำนวนโซมาติกเซลล์ในน้ำนมแพะดิบ (P &gt; 0.05) ยกเว้น ค่ากรด-เบส พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (P &lt; 0.05) คุณภาพทางจุลชีววิทยาที่อุณหภูมิและระยะเวลาในการทดสอบดังกล่าว พบว่า ไม่มีผลต่อการลดลงของเชื้อก่อโรค<br /><strong>สรุป: </strong>อุณหภูมิในการเก็บรักษาและระยะเวลาในการแช่แข็งน้ำนมแพะดิบในการทดสอบไม่ส่งผลต่อคุณภาพน้ำนม องค์ประกอบทางเคมี และคุณภาพทางจุลชีววิทยา นอกจากนี้ ค่ากรด-เบส และค่าองค์ประกอบทางเคมีสามารถนำมาใช้ในการประเมินคุณภาพน้ำนมแพะดิบในทางปฏิบัติ</p> 2024-11-15T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมการเกษตร https://li01.tci-thaijo.org/index.php/ASJ/article/view/262447 การใช้เทคโนโลยีเพิ่มศักยภาพการผลิตส้มโอพันธุ์ทับทิมสยามยกระดับสู่สินค้าเกษตรมูลค่าสูงของเกษตรกรอำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช 2024-05-01T00:24:21+07:00 เลิศศักดิ์ ดีหนู lerdsak1993@gmail.com พิชัย ทองดีเลิศ agrpct@ku.ac.th ชลาธร จูเจริญ fagrchch@ku.ac.th <p><strong>ความเป็นมาและวัตถุประสงค์: </strong>ส้มโอพันธุ์ทับทิมสยามเป็นสินค้าเกษตรตามนโยบาย 1 ท้องถิ่น 1 สินค้าเกษตรมูลค่าสูง โดยเกษตรกรมีการใช้เทคโนโลยีตลอดกระบวนการผลิต การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลและเศรษฐกิจ การเปิดรับข้อมูลการผลิต การส่งเสริมการผลิต การใช้เทคโนโลยีเพิ่มศักยภาพการผลิตของเกษตรกร และเปรียบเทียบการใช้เทคโนโลยีเพิ่มศักยภาพการผลิต โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นเกษตรกรผู้ปลูกส้มโอพันธุ์ทับทิมสยามในอำเภอปากพนัง จำนวน 262 คน<br /><strong>วิธีดำเนินการวิจัย: </strong>ข้อมูลถูกจัดเก็บด้วยแบบสอบถามและวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ทดสอบสมมติฐานด้วยค่า t-test, F-test และวิเคราะห์ความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี Least Significant Difference<br /><strong>ผลการวิจัย: </strong>เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 57.32 ปี จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษา มีพื้นที่ปลูกเฉลี่ย 7.29 ไร่ มีประสบการณ์ในการปลูกเฉลี่ย 9.31 ปี มีแรงงานในการปลูกเฉลี่ย 2 คน มีแหล่งเงินทุนของตนเองและมีรายได้เฉลี่ย 339,484.73 บาทต่อปี มีการเปิดรับข้อมูลความรู้จากเกษตรตำบลด้วยการประชุมหรือฝึกอบรม และเปิดรับข้อมูลความรู้จากสื่อสังคมออนไลน์ นอกจากนั้น เกษตรกรมีการเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการผลิต และส่วนใหญ่ได้รับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร (GAP) รวมถึงมีการเข้าร่วมกลุ่มแปลงใหญ่และสหกรณ์การเกษตร ซึ่งในภาพรวมเกษตรกรมีการใช้เทคโนโลยีเพิ่มศักยภาพการผลิตในระดับปานกลาง<br /><strong>สรุป: </strong>เกษตรกรที่มีปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลและเศรษฐกิจ การเปิดรับข้อมูลการผลิตและการส่งเสริมการผลิตแตกต่างกัน มีการใช้เทคโนโลยีเพิ่มศักยภาพการผลิตส้มโอพันธุ์ทับทิมสยามแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 และ 0.05 จึงสามารถนำแนวทางการใช้เทคโนโลยีเพิ่มศักยภาพการผลิตไปส่งเสริมในพื้นที่ต่อไป</p> 2024-11-15T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมการเกษตร https://li01.tci-thaijo.org/index.php/ASJ/article/view/262196 อิทธิพลของความแก่ของกิ่งมะเดื่อพื้นบ้านที่เหมาะสมต่อการขยายพันธุ์โดยวิธีการปักชำ 2024-03-22T09:44:41+07:00 อินทิรา พรมเล็ก gingginthira@gmail.com สมพงษ์ สุขขาวงษ์ sompong.s@psu.ac.th เยาวพรรณ สนธิกุล yaowaphan.s@psu.ac.th สุรพล ฐิติธนากุล suraphon.t@psu.ac.th <p><strong>ความเป็นมาและวัตถุประสงค์</strong><strong>: </strong>มะเดื่อพื้นบ้านเป็นพืชที่จัดอยู่ในวงศ์ <em>Moraceae</em> พบได้บริเวณพื้นที่ว่างเปล่าทั่วไป สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายด้าน เช่น การนำผลมารับประทานและการใช้ราก ลำต้น ใบเป็นยารักษาโรค และนำมาใช้เป็นต้นตอในการขยายพันธุ์มะเดื่อฝรั่ง โดยใช้วิธีการปักชำ เพื่อใช้เป็นต้นตอให้ได้ขนาดที่ใกล้เคียงกันกับกิ่งพันธุ์ดี จึงเป็นที่มาของวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลร่วมระหว่างพันธุ์มะเดื่อพื้นบ้านและความแก่ของกิ่งในการปักชำ<br /><strong>วิธีดำเนินการวิจัย</strong><strong>: </strong>ศึกษาความแก่ของกิ่ง 3 แบบ คือ กิ่งอ่อน กิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อน และกิ่งแก่ ต่อการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำมะเดื่อพื้นบ้าน 4 พันธุ์ คือ มะเดื่ออุทุมพร มะเดื่อปล้อง มะเดื่อฉิ่ง และมะเดื่อหูช้าง ตัดกิ่งให้มีความยาว 15–20 เซนติเมตร นำกิ่งพันธุ์ทั้งหมดแช่ในสารละลาย IBA เป็นเวลา 2–3 นาทีก่อนปักชำ วางแผนการทดลองแบบ 4 x 3 แฟกทอเรียลในแผนแบบการทดลองสุ่มสมบูรณ์<br /><strong>ผลการวิจัย</strong><strong>: </strong>การปักชำมะเดื่อพื้นบ้านมีอิทธิพลร่วมกันระหว่างพันธุ์และความแก่ของกิ่ง โดยกิ่งแก่มีเปอร์เซ็นต์การรอดตายมากที่สุดในมะเดื่ออุทุมพร มะเดื่อปล้อง และมะเดื่อหูช้าง เท่ากับ 46.67, 66.00 และ 48.00 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ มะเดื่อฉิ่งมีเปอร์เซ็นต์การรอดตายของกิ่งแก่และกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อน 38.00 และ 40.67 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ<br /><strong>สรุป: </strong>มีอิทธิพลร่วมกันระหว่างพันธุ์และความแก่ของกิ่ง โดยความแก่ของกิ่งที่เหมาะสมต่อการขยายพันธุ์โดยวิธีการปักชำคือ กิ่งแก่ (สีน้ำตาล) ในมะเดื่อทั้ง 4 พันธุ์</p> 2024-11-15T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมการเกษตร