วารสารวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมการเกษตร https://li01.tci-thaijo.org/index.php/ASJ The Agricultural Science Society of Thailand th-TH วารสารวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมการเกษตร 3027-7159 การศึกษาการเจริญเติบโต การออกดอก และการพัฒนาฝักของวานิลลาปอมโปนาที่ปลูกเลี้ยงในสภาพพรางแสง จังหวัดราชบุรี https://li01.tci-thaijo.org/index.php/ASJ/article/view/259610 <p><strong>ความเป็นมาและวัตถุประสงค์</strong>: วานิลลาปอมโปนาเป็นพันธุ์การค้าที่ปลูกเลี้ยงได้ง่าย ทนต่อโรคและการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ใช้ประโยชน์ในด้านเภสัชกรรมและเครื่องหอม การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามการเจริญเติบโต การออกดอก และการพัฒนาฝักของวานิลลาปอมโปนาที่ปลูกเลี้ยงในสภาพพรางแสงร่วมกับสวนกล้วยไม้สกุลหวายตัดดอกที่จังหวัดราชบุรี<br /><strong>วิธีดำเนินการวิจัย</strong>: ศึกษาการเจริญเติบโตของต้นอายุ 4 ปี แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ 1) เถาที่ไม่ออกดอก ได้แก่ ความยาว และการหยุดชะงักการเจริญเติบโตที่บริเวณปลายยอด และ 2) เถาที่ออกดอก ติดตามต่อเนื่อง 2 ปี ของการให้ผลผลิต ได้แก่ ขนาด ช่วงเวลาออกดอกและการพัฒนาช่อดอก การเจริญเติบโตของฝัก การพัฒนาเมล็ด ปริมาณการออกดอก และการสูญเสียที่เกิดขึ้น<br /><strong>ผลการวิจัย</strong>: เถาที่ไม่ออกดอกมีความยาวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเดือนละ 30.2 เซนติเมตร และเกิดการหยุดชะงักการเจริญเติบโตที่บริเวณปลายยอดรวมร้อยละ 50 ส่วนเถาที่ออกดอกมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย 12.5 มิลลิเมตร ความยาวปล้องเฉลี่ย 7.1 เซนติเมตร โดยเริ่มออกดอกในช่วงฤดูหนาว (8 กุมภาพันธ์ 2564 และ 4 มกราคม 2565) ตาดอกใช้เวลา 1 สัปดาห์ ในการพัฒนาเป็นช่อดอกอ่อน จากนั้น ใช้เวลา 3 สัปดาห์ ในการพัฒนาจนกระทั่งดอกแรกเริ่มบาน และบานติดต่อกันเป็นเวลา 4 ถึง 16 วัน ขึ้นอยู่กับจำนวนดอกในช่อ (เฉลี่ย 6.2 ดอกต่อช่อ) ดอกต้องได้รับการผสมจึงสามารถติดฝักได้ การเจริญเติบโตของฝักเป็นแบบ S curve ขนาดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่สัปดาห์ที่ 1–4 หลังได้รับการผสมเกสร และมีค่าสูงสุดในสัปดาห์ที่ 5 ความยาวเฉลี่ย 8.9 เซนติเมตร และเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย 1.89 เซนติเมตร จากนั้น มีขนาดคงที่ไปจนถึงระยะเก็บเกี่ยวที่อายุ 36 สัปดาห์ เมล็ดพัฒนาจากลักษณะอ่อนนุ่ม สีขาวขุ่น และเปลี่ยนเป็นสีดำแข็ง เมื่อถึงระยะเก็บเกี่ยว โดยได้ผลผลิตรวมร้อยละ 53 จากจำนวนดอกอ่อนทั้งหมด และเกิดความเสียหายตั้งแต่ดอกบานจนกระทั่งฝักถึงระยะเก็บเกี่ยวร้อยละ 47<br /><strong>สรุป</strong>: วานิลลาปอมโปนาสามารถเจริญเติบโต ออกดอก และติดฝักได้ในการปลูกภายใต้สภาพพรางแสงร้อยละ 50 ร่วมกับการปลูกกล้วยไม้หวายในจังหวัดราชบุรี แต่พบความเสียหายระหว่างกระบวนการผลิตค่อนข้างสูง ข้อมูลที่ได้จึงเป็นแนวทางนำไปสู่การศึกษาและพัฒนากระบวนการผลิตวานิลลาในเขตราบลุ่มภาคกลางต่อไป</p> ณัฐวุฒิ ชูเดชา ดวงพร บุญชัย พูนพิภพ เกษมทรัพย์ พัชรียา บุญกอแก้ว Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมการเกษตร http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ 2024-05-21 2024-05-21 55 2 93–107 93–107 ผลของการใส่ปุ๋ยที่แตกต่างกันต่อการปลดปล่อยก๊าซมีเทนและผลผลิตข้าว https://li01.tci-thaijo.org/index.php/ASJ/article/view/258058 <p><strong>ความเป็นมาและวัตถุประสงค์: </strong>การทำนามีความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก การขังน้ำตลอดฤดูปลูกข้าวเป็นสาเหตุให้เกิดปฏิกิริยารีดักชันในดินลดลงและเพิ่มการปลดปล่อยก๊าซมีเทน (CH<sub>4</sub>) งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใส่ปุ๋ยที่แตกต่างกันต่อการปลดปล่อยก๊าซมีเทนและผลผลิตข้าว<br /><strong>วิธีดำเนินการวิจัย: </strong>ปักดำข้าวหอมมะลิ 105 ในแปลงนา จังหวัดสุพรรณบุรีและอ่างทอง จัดแผนการทดลองแบบบล็อกสมบูรณ์เชิงสุ่ม ที่มี 6 ทรีตเมนต์ จำนวน 3 ซ้ำ ประกอบด้วย ทรีตเมนต์ที่ 1 ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับน้ำหมักชีวภาพ ทรีตเมนต์ที่ 2 ถ่านชีวภาพร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ ทรีตเมนต์ที่ 3 ปุ๋ยอินทรีย์ในอัตราร้อยละ 50 ร่วมกับปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำจากโปรแกรม TSFM และน้ำหมักชีวภาพ ทรีตเมนต์ที่ 4 ถ่านชีวภาพในอัตราร้อยละ 50 ร่วมกับปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำจากโปรแกรม TSFM ทรีตเมนต์ที่ 5 ปุ๋ยเคมีตามคำแนะจากโปรแกรม TSFM และทรีตเมนต์ที่ 6 ปุ๋ยเคมีในอัตราร้อยละ 70 ตามคำแนะนำจากโปรแกรม TSFM<br /><strong>ผลการวิจัย:</strong> ในแปลงนาสุพรรณบุรี ทรีตเมนต์ที่ 3 มีแนวโน้มปลดปล่อยก๊าซมีเทนสูงที่สุด (เฉลี่ย 12.59 มิลลิกรัมต่อตารางเมตรต่อชั่วโมง) และทรีตเมนต์ที่ 6 มีแนวโน้มปลดปล่อยก๊าซมีเทนต่ำที่สุด (เฉลี่ย 9.55 มิลลิกรัมต่อตารางเมตรต่อชั่วโมง) ขณะที่ ในแปลงนาอ่างทอง ทรีตเมนต์ที่ 2 มีแนวโน้มปลดปล่อยก๊าซมีเทนสูงที่สุด (เฉลี่ย 16.56 มิลลิกรัมต่อตารางเมตรต่อชั่วโมง) ส่วนทรีตเมนต์ที่ 1 มีแนวโน้มปลดปล่อยก๊าซมีเทนต่ำที่สุด (เฉลี่ย 13.70 มิลลิกรัมต่อตารางเมตรต่อชั่วโมง) ระดับน้ำ ค่ารีดอกซ์โพเทนเชียล และอัตราการหายใจของจุลินทรีย์ในดินมีความสัมพันธ์กับการปลดปล่อยก๊าซมีเทนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P &lt; 0.05) ขณะที่ การใช้ปุ๋ยที่แตกต่างกันส่งผลให้การเจริญเติบโตของต้นข้าวและผลผลิตข้าวไม่แตกต่างกันทางสถิติ<br /><strong>สรุป: </strong>การใส่ปุ๋ยเคมีในอัตราร้อยละ 70 ในแปลงนาจังหวัดสุพรรณบุรี และการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับน้ำหมักชีวภาพในแปลงนาจังหวัดอ่างทองปลดปล่อยก๊าซมีเทนน้อยที่สุด</p> ยุทธศาสตร์ อนุรักติพันธุ์ พงศ์ธร เพียรพิทักษ์ ปรางทิพย์ อุนจะนำ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมการเกษตร http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ 2024-05-21 2024-05-21 55 2 108–121 108–121 ผลของการใช้ผงจิ้งหรีดและแป้งข้าวดัชนีน้ำตาลต่ำทดแทนแป้งสาลีต่อคุณลักษณะทางกายภาพและเคมีของคุกกี้เนยกระเทียม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/ASJ/article/view/260214 <p><strong>ความเป็นมาและวัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> ผงจิ้งหรีดได้รับความนิยมและถูกนำมาประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์อาหาร สำหรับแป้งข้าว กข43 เป็นข้าวที่มีปริมาณอะมิโลสต่ำและมีค่าดัชนีน้ำตาลอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าข้าวพันธุ์อื่น ๆ จึงเป็นวัตถุดิบทางเลือกที่น่าสนใจนำมาทดแทนแป้งสาลีในการผลิตอาหารปราศจากกลูเตนและลดค่าดัชนีน้ำตาลในผลิตภัณฑ์ การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ผงจิ้งหรีดและแป้งข้าวดัชนีน้ำตาลต่ำทดแทนแป้งสาลีต่อคุณลักษณะทางกายภาพและเคมีของคุกกี้<br /><strong>วิธีดำเนินการวิจัย</strong><strong>: </strong>ทำการแปรผันปริมาณแป้งทั้งหมด 4 สูตร ได้แก่ สูตรแป้งสาลีร้อยละ 100 (สูตรควบคุม) และสูตรทดแทนแป้งสาลีด้วยแป้งข้าวดัชนีน้ำตาลต่ำเสริมจิ้งหรีดผงในอัตราส่วน 80:10, 75:15 และ 70:20 ปริมาณร้อยละ 90 ของน้ำหนักแป้งสาลี วางแผนแบบการทดลองสุ่มสมบูรณ์ และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยวิธี Duncan’s new multiple range test ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95<br /><strong>ผลการวิจัย</strong><strong>: </strong>ผลการศึกษาคุณภาพทางกายภาพ พบว่า การแปรผันจิ้งหรีดผงในปริมาณที่เพิ่มขึ้นและลดแป้งข้าวดัชนีน้ำตาลต่ำลงส่งผลให้ค่าการสูญเสียน้ำหนักในระหว่างการอบ สี ค่าวอเตอร์แอคทิวิตี้ และค่าความแข็งของคุกกี้มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P &lt; 0.05) โดยร้อยละการสูญเสียน้ำหนักในระหว่างการอบ ความสว่าง (L*) ความเป็นสีเหลือง (b*) และความแข็งของคุกกี้มีค่าลดลง ขณะที่ วอเตอร์แอคทิวิตี้และความเป็นสีแดง (a*) มีค่าเพิ่มขึ้น สำหรับผลการศึกษาคุณภาพทางเคมีพบว่า การแปรผันจิ้งหรีดผงในปริมาณที่เพิ่มขึ้นและลดแป้งข้าวดัชนีน้ำตาลต่ำลงส่งผลให้ปริมาณความชื้น โปรตีน และเยื่อใยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P &lt; 0.05) โดยทำให้ปริมาณความชื้น โปรตีน และเยื่อใยของคุกกี้มีค่าสูงขึ้น<br /><strong>สรุป: </strong>มีความเป็นไปได้ในการทดแทนแป้งสาลีด้วยแป้งข้าวดัชนีน้ำตาลต่ำเสริมจิ้งหรีดผงในปริมาณร้อยละ 70:20 ของน้ำหนักแป้งสาลี เพื่อเพิ่มโปรตีนในผลิตภัณฑ์คุกกี้</p> สุดา ชูถิ่น กาญจนา เหลืองสุวาลัย อังสุมา แก้วคต Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมการเกษตร http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ 2024-05-21 2024-05-21 55 2 122–136 122–136 ผลของการใช้น้ำมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองตกเกรดทดแทนนมสดในผลิตภัณฑ์พุดดิ้ง https://li01.tci-thaijo.org/index.php/ASJ/article/view/260003 <p><strong>ความเป็นมาและวัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> มะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ได้แก่ วิตามินซี วิตามินเอ โพแทสเซียม และเบต้าแคโรทีน และเป็นที่นิยมทั้งของชาวไทยและชาวต่างประเทศ เนื่องจากมีรสหวาน สีสวย และกลิ่นหอม งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาสูตรพุดดิ้งโดยทดแทนนมสดด้วยมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองตกเกรด<br /><strong>วิธีดำเนินการวิจัย</strong><strong>: </strong>วางแผนการทดลองแบบบล็อกสมบูรณ์เชิงสุ่ม (Randomized complete block design: RCBD) โดยศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของน้ำมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองทดแทนนมสดร้อยละ 0, 30, 45 และ 60 ทดสอบคุณภาพทางประสาทสัมผัส คุณลักษณะทางกายภาพ และคุณค่าทางโภชนาการของพุดดิ้ง นำผลมาวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนของข้อมูล (One-way ANOVA) และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยวิธี Duncan’s new multiple range test (DMRT) ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95<br /><strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> การทดแทนนมสดด้วยน้ำมะม่วงร้อยละ 30–45 ไม่มีผลต่อคุณลักษณะพุดดิ้ง (P &gt; 0.05) ในขณะที่การใช้น้ำมะม่วงร้อยละ 60 มีผลต่อคุณลักษณะของพุดดิ้ง (P &lt; 0.05) การใช้น้ำมะม่วงทดแทนนมสดในปริมาณเพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ค่า a* และ b* มีค่าเพิ่มขึ้น แต่ค่า L* และค่าความแข็งลดลง (P &lt; 0.05) พุดดิ้งที่ทดแทนนมสดด้วยน้ำมะม่วงร้อยละ 45 มีคะแนนการยอมรับสูงสุดในด้านลักษณะปรากฎ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม พุดดิ้งมะม่วงหนึ่งหน่วยบริโภค (120 กรัม) ให้พลังงาน 126.78 กิโลแคลอรี คาร์โบไฮเดรต 14.98 กรัม โปรตีน 2.59 กรัม ไขมัน 6.24 กรัม วิตามินเอ 138.03 ไมโครกรัมอาร์อีเอ เบต้าแคโรทีน 920.98 ไมโครกรัม และวิตามินซี 4.99 ไมโครกรัม<br /><strong>สรุป:</strong> การใช้น้ำมะม่วงทดแทนนมสดร้อยละ 45 ได้รับการยอมรับมากที่สุด และมีสารต้านอนุมูลอิสระเพิ่มขึ้นจากพุดดิ้งนมสด สามารถใช้เป็นขนมทางเลือกเพื่อสุขภาพและเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับมะม่วงตกเกรดได้</p> วิวรณ์ วงศ์อรุณ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมการเกษตร http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ 2024-05-21 2024-05-21 55 2 137–148 137–148 การได้รับการส่งเสริมการจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสานของเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนในอำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง https://li01.tci-thaijo.org/index.php/ASJ/article/view/260719 <p><strong>ความเป็นมาและวัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนในอำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง ประสบปัญหาการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืชส่งผลให้มีการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชในปริมาณมาก งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคลและการผลิตทุเรียนของเกษตรกร 2) การได้รับการส่งเสริมการจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสานของเกษตรกร และ 3) ความเห็นด้วยต่อปัญหาและข้อเสนอแนะในการจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสานของเกษตรกร<br /><strong>วิธีดำเนินการวิจัย</strong><strong>: </strong>ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนในอำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตร ปี พ.ศ. 2565 จำนวน 240 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 150 ราย เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์<br /><strong>ผลการวิจัย</strong><strong>: </strong>เกษตรกรร้อยละ 65.3 เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 51.93 ปี มีประสบการณ์ปลูกทุเรียนเฉลี่ย 8.54 ปี ต้นทุนการผลิตทุเรียนในปี พ.ศ. 2565 เฉลี่ย 13,628.57 บาทต่อปี ได้รับการส่งเสริมการจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสานเฉลี่ย 2 ครั้งต่อปี ได้รับการส่งเสริมจากสื่อบุคคล (เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร) อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 2.97) วิธีส่งเสริมการเกษตรได้รับจากการฝึกอบรมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.41) และเกษตรกรมีปัญหาด้านการจัดการศัตรูพืชโดยสารเคมี ได้แก่ ขาดเงินทุนในการซื้อสารเคมี<br /><strong>สรุป: </strong>เกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 51.93 ปี การจัดการศัตรูพืชยังคงใช้สารเคมีเป็นหลัก โดยเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมให้เกษตรกรมีการจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสานและผลักดันให้เกษตรกร ลด ละ เลิกการใช้สารเคมี</p> ระวีรัสมิ์ ขวัญซ้าย นารีรัตน์ สีระสาร บำเพ็ญ เขียวหวาน Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมการเกษตร http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ 2024-05-21 2024-05-21 55 2 149–162 149–162 การยอมรับเทคโนโลยีอัจฉริยะของเกษตรกรแปลงใหญ่ข้าว อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/ASJ/article/view/260958 <p><strong>ความเป็นมาและวัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> ปัจจุบันเทคโนโลยีอัจฉริยะได้เข้ามามีบทบาทด้านการเกษตรมากขึ้น เกษตรกรแปลงใหญ่ข้าว อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ จึงจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมและปรับตัวได้ทันต่อเทคโนโลยีอัจฉริยะ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคม การยอมรับเทคโนโลยีอัจฉริยะ และปัจจัยที่แตกต่างกันต่อการยอมรับเทคโนโลยีอัจฉริยะของเกษตรกรแปลงใหญ่ข้าว อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ<br /><strong>วิธีดำเนินการวิจัย</strong><strong>: </strong>กลุ่มตัวอย่างเกษตรกรแปลงใหญ่ข้าวจำนวน 116 ราย ถูกสุ่มจากสมาชิกแปลงใหญ่ข้าว 162 ราย โดยใช้วิธีการสุ่มแบบบังเอิญ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ค่า t-test และค่า F-test<br /><strong>ผลการวิจัย</strong><strong>: </strong>เกษตรกรส่วนใหญ่ (ร้อยละ 72.41) เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 61.06 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า (ร้อยละ 56.90) จำนวนสมาชิกในครัวเรือน 1–4 คน (ร้อยละ 52.59) ประสบการณ์การปลูกข้าวเฉลี่ย 32.15 ปี ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 84.48) เป็นพื้นที่เช่า มีพื้นที่ปลูกข้าวเฉลี่ย 29.16 ไร่ โดยปลูกข้าวพันธุ์พิษณุโลก 2 ร้อยละ 30.17 ต้นทุนในการปลูกข้าวเฉลี่ย 4,926 บาทต่อไร่ต่อฤดูกาล รายได้จากการจำหน่ายข้าวเฉลี่ย 8,581.03 บาทต่อไร่ต่อฤดูกาล ผลผลิตข้าวเฉลี่ย 953.53 กิโลกรัมต่อไร่ต่อฤดูกาล แรงงานในการปลูกข้าว 1–2 คน (ร้อยละ 64.66) โดยเงินทุนมาจากสินเชื่อธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ร้อยละ 59.06) และเกษตรกรนำเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาใช้ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต<br /><strong>สรุป: </strong>เกษตรกรมีการยอมรับเทคโนโลยีอัจฉริยะโดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.50) และเกษตรกรที่มีอายุ ระดับการศึกษา พื้นที่ปลูกข้าว และผลผลิตข้าวที่แตกต่างกันมีการยอมรับเทคโนโลยีอัจฉริยะแตกต่างกัน</p> มณวิภา เพ็ชรักษ์ พัชราวดี ศรีบุญเรือง พิชัย ทองดีเลิศ นริศรา อินทะสิริ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมการเกษตร http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ 2024-05-21 2024-05-21 55 2 163–173 163–173