การยอมรับการผลิตข้าวโพดตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) ของเกษตรกรในจังหวัดอ่างทอง

ผู้แต่ง

  • ณัฐวุฒิ จั่นทอง สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา พระนครศรีอยุธยา
  • พหล ศักดิ์คะทัศน์ สาขาวิชาพัฒนาทรัพยากรและส่งเสริมการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่

คำสำคัญ:

การยอมรับ, การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา  1) ลักษณะส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมของเกษตรกร  2) การยอมรับการผลิตข้าวโพดตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP)  3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับการผลิตข้าวโพดตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) และ  4) ปัญหาและอุปสรรคในการผลิตข้าวโพดตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) ของเกษตรกรในจังหวัดอ่างทอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ ตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ คือ เกษตรกรผู้ผลิตข้าวโพดตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดอ่างทอง จำนวน 87 ราย สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุ ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรมีการยอมรับการผลิตข้าวโพดตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีการยอมรับด้านการผลิต และด้านเศรษฐกิจและการตลาด อยู่ในระดับมาก ส่วนการยอมรับด้านแรงจูงใจ ด้านกายภาพและภูมิศาสตร์ และด้านชีวภาพและการจัดการ อยู่ในระดับปานกลาง จากการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุ พบว่า รายได้จากการปลูกข้าวโพด ขนาดพื้นที่ถือครอง ประสบการณ์ในการปลูกข้าวโพด และการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของรัฐและเอกชน มีความสัมพันธ์กับการยอมรับการผลิตข้าวโพดตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) ของเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

ณัฐวุฒิ จั่นทอง และพหล ศักดิ์คะทัศน์. 2559. การยอมรับการผลิตมะม่วงตามหลักเกษตรที่ดีและเหมาะสมของเกษตรกรในอำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง. วารสารเกษตร 32(1): 19-27.

ณัฐวุฒิ จั่นทอง และพหล ศักดิ์คะทัศน์. 2560. การยอมรับการปลูกเมลอนสู้ภัยแล้งของเกษตรกรในอำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารเกษตร 33(3): 405-414.

ธัทธรรม พิลาแดง ประสาน ยิ้มอ่อน และ กรรณิกา เร่งศิริกุล. 2557. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการซื้อปุ๋ยเคมีเพื่อการปลูกข้าวของเกษตรกรในอำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารเกษตรพระวรุณ 11(1): 55-64.

นราดล ประไพศรี กังสดาล กนกหงส์ นคเรศ รังควัต และพหล ศักดิ์คะทัศน์. 2558. การยอมรับวิธีการผลิตข้าวนาปีของเกษตรกรในอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร 32(1): 39-46.

นราศิณี แก้วใหลมา สุรพล เศรษฐบุตร บุศรา ลิ้มนิรันดร์กุล และประทานทิพย์ กระมล. 2560. ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการทำเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกร ตำบลแม่หอพระ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารเกษตร 33(3): 387-395.

นาวินทร์ แก้วดวง เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ และ ภรณี ต่างวิวัฒน์. 2560. การผลิตผักปลอดภัยตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกรในจังหวัดหนองคาย. วารสารแก่นเกษตร 45(ฉบับพิเศษ 1): 1590-1596.

พิชญา สาระรักษ์ สุพัตรา ศรีสุวรรณ และสุรินทร์ นิยมางกูร. 2559. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสภาพการปลูกทุเรียนของเกษตรกร ตำบลถ้ำสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 47(2): 201-212.

ยุทธนา โพธิ์เกตุ เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ และภรณี ต่างวิวัฒน์. 2559. การส่งเสริมการผลิตข้าวปลอดภัยและได้มาตรฐานตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีแก่เกษตรกรในจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารแก่นเกษตร 44(ฉบับพิเศษ 1): 624-629.

ศูนย์บริการข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร. 2557. การผลิตพืชตามระบบเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP). กรุงเทพฯ: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 85 น.

สายฝน ซอพิมาย เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ และบำเพ็ญ เขียวหวาน. 2560. ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้สารอินทรีย์เพื่อลดการใช้สารเคมีทางการเกษตรของเกษตรกรจังหวัดสระแก้ว. วารสารแก่นเกษตร 45(ฉบับพิเศษ 1): 1605-1610.

สำนักงานเกษตรจังหวัดอ่างทอง. 2559. สถานการณ์การผลิตสินค้าเกษตรในจังหวัดอ่างทอง. น. 12. ใน รายงานการประชุมประจำปี 2559 ครั้งที่ 3. อ่างทอง: สำนักงานเกษตรจังหวัดอ่างทอง.

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. 2559. มาตรการช่วยเหลือเกษตรกร ปี 2559/60 ด้านการผลิต (เพิ่มเติม): การปรับเปลี่ยนปลูกพืชหมุนเวียน. น. 7. ใน การประชุมคณะรัฐมนตรี วันที่ 15 พฤศจิกายน 2559. กรุงเทพฯ: สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. 2546. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคม. กรุงเทพฯ: เสี่ยงเชียง. 146 น.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

02-07-2019