ความต้องการในการส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพรในระบบอินทรีย์ ของเกษตรกรอำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • วิทยา แก้วเจริญศรี คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • พุฒิสรรค์ เครือคำ สาขาวิชาพัฒนาทรัพยากรและส่งเสริมการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่
  • นคเรศ รังควัต สาขาวิชาพัฒนาทรัพยากรและส่งเสริมการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่
  • สายสกุล ฟองมูล สาขาวิชาพัฒนาทรัพยากรและส่งเสริมการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่

คำสำคัญ:

ความต้องการของเกษตรกร, การส่งเสริมการเกษตร, พืชสมุนไพร, ระบบเกษตรอินทรีย์

บทคัดย่อ

              การวิจัยเรื่องความต้องการในการส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพรในระบบอินทรีย์ของเกษตรกร อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการในการส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพรในระบบอินทรีย์ของเกษตรกร และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการในการส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพรในระบบอินทรีย์ของเกษตรกรในอำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากเกษตรกรตัวอย่างจำนวน 380 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

            ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรมีความต้องการ        ในการส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพรในระบบอินทรีย์อยู่          ในระดับปานกลาง สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการ ในการส่งเสริมปลูกพืชสมุนไพรในระบบอินทรีย์ของเกษตรกรในอำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ได้แก่ ประสบการณ์การทำเกษตรอินทรีย์ และความรู้ของเกษตรกรเกี่ยวกับการทำเกษตรในระบบอินทรีย์

            ปัญหาที่สำคัญของเกษตรกรเกี่ยวกับการ ส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพรในระบบอินทรีย์ คือ  1) การขาดการสนับสนุนในภาคการตลาด โดยเฉพาะการกำหนดราคาและข้อมูลช่องทางการจำหน่ายผลผลิตที่ยังไม่มีความชัดเจน  2) การขาดองค์ความรู้ในการบริหารจัดการเงินทุนเพื่อการผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์ และ  3) การขาดสื่อที่มีเนื้อหาในการนำเสนอที่เข้าใจง่ายในการผลิตพืชสมุนไพรในระบบเกษตรอินทรีย์สู่เกษตรกร เกษตรกร       มีข้อเสนอแนะต่อการส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพรในระบบอินทรีย์ คือ  1) ควรมีการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการจัดการการผลิตให้ถูกต้องตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์  2) ควรมีการส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตสมุนไพรอินทรีย์เพื่อเพิ่มฐานอำนาจต่อรองทางการตลาด และ  3) ควรมีการอบรมเกี่ยวกับการจัดการเงินทุนในการผลิต     พืชสมุนไพรในระบบเกษตรอินทรีย์

References

Benchasri, S. 2010. Organic agriculture in Thailand. Thaksin University Journal 13(1): 78-88. [in Thai].

Ministry of Agriculture and Cooperatives. 2016. Agricultural Development Plan during the Twelfth National Economic and Social Development Plan (2017-2021). Bangkok: Ministry of Agriculture and Cooperatives. 122 p. [in Thai].

Nakhonsawan Provincial Agricultural Extension Office. 2016 . Agricultural productivity data in Nakhonsawan province. [Online]. Available http://www.nakhonsawan.doae.go.th/2016/index.php/2014-12-06-16-33-39/78-2014-12-06-05-21-04 (1 June 2019). [in Thai].

Nakhonsawan Provincial Public Health Office. 2017. Herbal expo and health fair Nakhonsawan province 2nd. [Online]. Available http://www.nswo.moph.go.th/main/2946-2/ (1 June 2019). [in Thai].

Office of Permanent Secretary for Ministry of Agricultural and Cooperatives. 2018. Organic Agriculture. [Online]. Available https://www.opsmoac.go.th/sustainable_agri-dwl-preview-401191791813 (1 June 2019). [in Thai].

Prasitratsin, S. 2003. Social Research Methodoloy. Bangkok: National Institute of Development Administration. 682 p. [in Thai].

Siriluk, S. and P. Kiatsuranont. 2019. Pineapple production situation and extension needs of farmers in Si Chiang Mai district, Nong Khai province. Khon Kaen Agriculture Journal 47(2): 371-378. [in Thai].

Thiewkrathoke, J. 2015. Problems and needs in occupational development of vegetable growing farmers in Tumbon Buangbon, Amphoe Nongsuea, Changwat Pathum thani. Veridian E-Journal 8(1): 1906-3431. [in Thai].

Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd. New York: Harper and Row Publication. 1130 p.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-12-2020