ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรป่าไม้ ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าขุนแม่ทา ตำบลแม่ทา อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ณรงค์ เป็งเส้า คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • สายสกุล ฟองมูล สาขาวิชาพัฒนาทรัพยากรและส่งเสริมการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่
  • พหล ศักดิ์คะทัศน์ สาขาวิชาพัฒนาทรัพยากรและส่งเสริมการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่
  • พุฒิสรรค์ เครือคำ สาขาวิชาพัฒนาทรัพยากรและส่งเสริมการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, การจัดการทรัพยากรป่าไม้, ป่าสงวนแห่งชาติ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัย        ที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรป่าไม้ และแนวทางในการจัดการทรัพยากร      ป่าไม้ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าขุนแม่ทา ตำบลแม่ทา อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัย เชิงคุณภาพและเชิงปริมาณร่วมกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ประชาชนตำบลแม่ทา จำนวนทั้งสิ้น 368 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จากจำนวนประชากร 4,558 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และการสนทนากลุ่ม (Focus group discussion) โดยเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำหมู่บ้าน และผู้อาวุโส     ในชุมชน จำนวน 9 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล เชิงปริมาณ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา การถดถอยพหุคูณ (Multiple regression analysis) กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมันร้อยละ 95 และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ ศึกษา ได้แก่ เพศ การฝึกอบรมและดูงาน การรับรู้ข้อมูลข่าวสารด้านการจัดการทรัพยากรป่าไม้มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรป่าไม้อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติที่ระดับความเชื่อมันร้อยละ 99 การสนทนากลุ่มสรุปได้ว่า แนวทางในการจัดการทรัพยากร ป่าไม้อย่างยั่งยืน มี 5 รูปแบบ ได้แก่ 1) การจัดการป่าไม้เพื่อการอนุรักษ์ 2) การจัดการป่าไม้เพื่อสนับสนุนการพัฒนาตำบล 3) การจัดการป่าไม้เพื่อเศรษฐกิจและสังคม 4) การปฏิรูปการบริหารจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน 5) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยมีข้อเสนอแนะว่าควรให้รัฐบาลยอมรับประชาชนตำบลแม่ทา อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ให้ดูแลรักษาทรัพยากรป่าไม้เองเพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชนตำบลแม่ทาและกรมป่าไม้

References

Cronbach, L.J. 1970. Essentials of Psychological Testing. New York: Harper & Row. 385 p.

Jintana, V. 2013. Factors Affecting People Participation in Forest Resources. Nonthaburi: The Office of the University Press, Sukhothai Thammathirat Open University. 411 p.

Office of the Council of State. 2020. Law act/ Royal decree. [Online]. Available https://www.krisdika.go.th/law?lawId=2 (17 March 2020). [in Thai]

Parichat., V. 2003. Process and Technical Work of Developers. Bangkok: Thailand Research Fund. 435 p. [in Thai]

Phengsawat, W. 2010. Applied Statistics for Social Science Research. Bangkok: Suveeriyasarn. 428 p. [in Thai]

Prachoom, S. 1998. Sampling methods for research. Nida Development Journal 38(3): 103-130. [in Thai]

Prasit., S. 2002. Applications of Statistical Methods in Research. Bangkok: Fueang Fa Printing House. 352 p. [in Thai]

Royal Forest Department. 2016. Forest area of by province year A.D. 2008−2016. [Online]. Available http://forestinfo.forest.go.th/Content.aspx?id=80 (27 September 2017). [in Thai]

Santisuk., T. 2012. Forests of Thailand. Bangkok: National Office of Buddhism Printing house. 124 p. [in Thai]

The Group Produced a Series of Technical Management of Forest Resources. 1992. Tutorial Series Management of Forest Resources. Nonthaburi: The Office of the University Press, Sukhothai Thammathirat Open University. 248 p. [in Thai]

Utis, T. 2016. The application of local cultural knowledge in conserving community forest along the Chi river in the Ban Mara community of Nong Teng sub-district, Krasung district, Buriram province Thailand. Journal of Social Development 18(2): 31-55. [in Thai]

Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3.S.l. Harper International. 886 p.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-08-2021