การปฏิบัติในระบบการส่งเสริมการเกษตรมิติใหม่ (MRCF SYSTEM) ของนักส่งเสริมการเกษตรในจังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • เรวัต แก้วเลิศตระกูล สาขาวิชาพัฒนาทรัพยากรและส่งเสริมการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่
  • พุฒิสรรค์ เครือคำ สาขาวิชาพัฒนาทรัพยากรและส่งเสริมการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่
  • พหล ศักดิ์คะทัศน์ สาขาวิชาพัฒนาทรัพยากรและส่งเสริมการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่
  • นพพร บุญปลอด สาขาวิชาพืชสวน คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่

คำสำคัญ:

การปฏิบัติ, ระบบส่งเสริมการเกษตรมิติใหม่, นักส่งเสริมการเกษตร

บทคัดย่อ

               การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมของนักส่งเสริมการเกษตร 2) เพื่อศึกษาการปฏิบัติในระบบ การส่งเสริมการเกษตรมิติใหม่ (MRCF System) ของ     นักส่งเสริมการเกษตร 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติในระบบการส่งเสริมการเกษตรมิติใหม่ของ  นักส่งเสริมการเกษตร และ 4) เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานในระบบการส่งเสริมการเกษตรมิติใหม่ของนักส่งเสริมการเกษตรในจังหวัดเชียงใหม่  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ นักส่งเสริมการเกษตรที่ปฏิบัติงานอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 172 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา (Descriptive Statistic) เพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression)

            ผลการศึกษาพบว่า นักส่งเสริมการเกษตรที่เป็นกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 42 ปี มีสถานภาพสมรส การศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี มีรายได้รวมเฉลี่ย 28,513 บาทต่อเดือน  มีหนี้สินในครัวเรือนเฉลี่ย 351,396 บาท มีตำแหน่งที่ได้รับในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นข้าราชการ มีอายุงานเฉลี่ย 14 ปี และมีประสบการณ์ใน  การอบรมหรือดูงาน เฉลี่ย 1 ครั้งต่อปี ส่วนใหญ่มีช่องทางการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการส่งเสริมการเกษตรมิติใหม่   ผ่านทางเอกสารเผยแพร่ ส่วนใหญ่มีภาระงานที่ได้รับมอบหมายคือ งานตามนโยบายของรัฐบาล และนักส่งเสริมการเกษตรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการส่งเสริมการเกษตรมิติใหม่อยู่ในระดับมากและมีการปฏิบัติ ตามระบบการส่งเสริมการเกษตรมิติใหม่อยู่ในระดับ    ปานกลาง สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตามระบบการส่งเสริมการเกษตรมิติใหม่ของนักส่งเสริมการเกษตร ได้แก่ อายุ ภาระงานและหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย หนี้สินรวม   ในครัวเรือน การเข้าร่วมฝึกอบรมหรือดูงานเกี่ยวกับ MRCF และตำแหน่งทางสังคมของนักส่งเสริมการเกษตร

            ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานตามระบบการส่งเสริมมิติใหม่ของนักส่งเสริมการเกษตร ในจังหวัดเชียงใหม่ ที่สำคัญ ได้แก่  1) ระบบโปรแกรมวาดแปลง QGIS, gisagro, Faamis ความเร็วของอินเทอร์เน็ต ไม่มีความเสถียร  2) พื้นที่เป็นพื้นที่นอกเหนือเอกสารสิทธิ์ ไม่รู้ขอบเขตของแปลงเกษตรกร 3) พื้นที่ห่างไกล สื่อโซเชียลยังเข้าไม่ถึง  4) ค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสารระหว่างนักส่งเสริมการเกษตรกับเกษตรกร  5) ปัญหาเกษตรกรมีภารกิจมากที่ต้องทำเป็นประจำทุกวัน  6) หน่วยงานร่วมบูรณาการมีหน้าที่และความรับผิดชอบหลายงานขาดการมีส่วนร่วม  7) การวิเคราะห์ “พื้นที่ คน สินค้า” ดำเนินการไม่เป็นไปตามกรอบระยะเวลาเนื่องจากมีภารกิจมาก และ  8) ปัญหาการตีกรอบของงานทำให้งานไม่ชัดเจนมีความคลุมเครือ และเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรมีข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานตามระบบการส่งเสริมการเกษตรมิติใหม่ คือ ควรมีการพัฒนาระบบอินเตอร์เน็ตให้มีความทันสมัยควรมีการสนับสนุนให้เกษตรกรนำเทคโนโลยีด้านการสื่อสารมาใช้  มากขึ้น ควรเน้นการปฏิบัติงานแบบบูรณาการระหว่างหน่วยงานในพื้นที่ และควรมีการจัดฝึกอบรมให้แก่ นักส่งเสริมการเกษตรเกี่ยวกับระบบการส่งเสริมมิติใหม่  อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

References

Dejnambanchachai, W. 2012. Factors in the adoption of e-custom by business companies in Thailand (Eastern area of Thailand as a case study). NIDA Development Journal 50(1): 59-79. [in Thai]

Department of Agricultural Extension. 2014. MRCF Extension System. Bangkok: Department of Agricultural Extension. 15 p. [in Thai]

Jitanan, B. 1997. Agricultural Extension. Bangkok: Kasetsart University. 225 p. . [in Thai]

Panpinit, S. 2001. Social Change and Agricultural Extension. Bangkok: Kasetsart University. 256 p. [in Thai]

Phengsawat, W. 2010. Applied Statistics for Social Science Research. Bangkok: Suveeriyasarn. 428 p. [in Thai]

Prasit-rathasint, S. 2002. Applications of Statistical Methods in Research. Bangkok: Fueang Fa Printing House. 352 p. [in Thai]

Sangkaphun, K., S. Jaiyen and P. Vichaidit. 2007. Performance effectiveness of Suratthani provincial police. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University 8(2): 55-65. [in Thai]

Sangsiri, N. and V. Lawbaumrung. 2013. Motivation to work of Lad Yao subdistrict administrative organization’s staff in Nakhon Sawan province. The Golden Teak: Humanity and Social Science Journal 19(1): 129-140. [in Thai]

Siriwathananukul, Y., S. Yuthana, L. Mongkol and I. Aummorn. 2007. The adoption of farmers on longkong orchard technological management amphoe Bacho, Changwat Narathiwat. Thaksin University Journal 10(2): 32-49. [in Thai].

Siriniwatkul, J. 2015. Determinants Influencing the SAP System Adoption of State Enterprises: A Case Study of Thailand Institute of Scientific and Technological Research. Master Thesis. Rajamangala University of Technology Thanyaburi. 138 p. [in Thai]

Sujaritturakarn, W. and J. Tanapanyaratchawong. 2010. Factors influencing the adoption of production techniques and applications of organic fertilizer for farmers in Hatyai district, Songkhla province. Suranaree Journal of Social Science 4(1): 29-43. [in Thai].

Thongmullek, T. and P. Vichitthamaros. 2017. The study of factors affecting acceptance and use of social network of people in Thailand. The Journal of Social Communication Innovation 5(2): 114-124. [in Thai].

Wipak, R., N. Turnbull and S. Siwina. 2017. Factors related to data quality management for 43 public health data folders in primary care unit network at Chaturaphakphiman district, Roi-Et province. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health 4(Special Issue): 162-179. [in Thai].

Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. New York: 3. S. l. Harper International. 886 p.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-12-2019