ความรู้และการปฏิบัติตามแนวเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกรผู้ปลูกหม่อน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน

ผู้แต่ง

  • จักรพันธ์ พรมเกี๋ยง สาขาวิชาพัฒนาทรัพยากรและส่งเสริมการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • กังสดาล กนกหงษ์ สาขาวิชาพัฒนาทรัพยากรและส่งเสริมการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่
  • สายสกุล ฟองมูล สาขาวิชาพัฒนาทรัพยากรและส่งเสริมการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่
  • พุฒิสรรค์ เครือคำ สาขาวิชาพัฒนาทรัพยากรและส่งเสริมการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่

คำสำคัญ:

ความรู้และการปฏิบัติของเกษตรกร, เกษตรดีที่เหมาะสม, อำเภอเฉลิมพระเกียรติ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ  1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมของเกษตรกรผู้ปลูกหม่อน  2) เพื่อศึกษาความรู้และการปฏิบัติตามแนวเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกร  3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความรู้และการปฏิบัติตามแนวเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกร และ  4) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติการปลูกหม่อนในระบบเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกรในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ เกษตรกรที่ปลูกหม่อนอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน จำนวน 154 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้คือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ    (Multiple Regression)

ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็น เพศชาย มีอายุเฉลี่ย 49 ปี มีสถานภาพสมรส ไม่ได้เรียนหนังสือ มีรายได้จากการปลูกหม่อน เฉลี่ย 39,038 บาทต่อปี พื้นที่ในการผลิตหม่อนเฉลี่ยอยู่ที่ 3.48 ไร่  ใช้แรงงานในการปลูกหม่อนเฉลี่ย 2 คน มีประสบการณ์ในการปลูกหม่อนตามแนวการเกษตรดีที่เหมาะสมเฉลี่ย      3 ปี มีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเฉลี่ย     1 ครั้งต่อปี เข้าร่วมการฝึกอบรมเกี่ยวกับการผลิตหม่อนตามแนวเกษตรดีที่เหมาะสมเฉลี่ย 1 ครั้งต่อปี ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่มผู้ปลูกหม่อนตามแนวการเกษตรดีที่เหมาะสม และรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการปฏิบัติตามแนวการเกษตรดีที่เหมาะสมจากเพื่อนบ้านและเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้ตามแนวการเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การติดต่อเจ้าหน้าที่ มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.012 และตัวแปรอิสระทั้งหมดสามารถอธิบายความผันแปรของตัวแปรตามหรือความรู้ตามแนวการเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกรผู้ปลูกหม่อน ได้     ร้อยละ 10.1 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 89.9 เป็นอิทธิพลจากตัวแปรอื่นๆ ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตามแนวการเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ เพศ และระดับการศึกษา ซึ่งทั้งสองตัวแปรมีความสัมพันธ์โดยมีระดับนัยสำคัญที่ 0.026 และ 0.012 ตามลำดับและตัวแปรอิสระทั้งหมดสามารถอธิบายความผันแปรของตัวแปรตามหรือความรู้ตามแนวการเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกรผู้ปลูกหม่อน ได้ร้อยละ 14.2 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 85.8 เป็นอิทธิพลจากตัวแปรอื่นๆ

ปัญหาและอุปสรรคของเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนที่ปฏิบัติตามแนวการเกษตรดีที่เหมาะสม ได้แก่  1) การขาดความมั่นใจเกี่ยวกับราคาและแหล่งจำหน่ายของผลผลิตที่ผลิตในระบบเกษตรดีที่เหมาะสม  2) การขาดความเข้าใจในเนื้อหาหรือข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการบันทึกข้อมูลและการตามสอบที่มีความละเอียดจนอาจเกิดความสับสนให้กับเกษตรกร  3) การได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งและการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืช ข้อเสนอแนะของเกษตรกร คือ  1) เจ้าหน้าที่จากกรมหม่อนไหมที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการปลูกหม่อนตามแนวเกษตรที่ดีและเหมาะสมควรมีการชี้แจงและสร้างความเชื่อมั่นเกี่ยวกับการตลาดและราคาของผลผลิตหม่อนในระบบเกษตรดีและเหมาะสม  2) ควรมีการปรับข้อมูลเกี่ยวกับความรู้และการปฏิบัติตามแนวเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) ที่จะใช้ในการดำเนินการส่งเสริมให้มีความเข้าใจง่าย และเห็นภาพในเชิงปฏิบัติ  3) เจ้าหน้าที่ส่งเสริมจากกรมหม่อนไหมควรมีการจัดฝึกอบรมและมีการให้คำปรึกษาในส่วนของขั้นตอนการจดบันทึกและการตามสอบ  4) ควรมีการให้ความรู้กับเกษตรกรเกี่ยวกับการจัดการและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

References

Boonkapim, P., C. Siriswat and N. Sopa. 2016. A model for development knowledge, attitudes and job performance of organic jasmine rice farmers through the cooperation between the office of farmers council and local government organization in Roi-Et province. Research and Development Journal Loei Rajabhat University. 11(36): 91-102. [in Thai]

Department of Agriculture. 2002. Good Agricultural Practice for Food Plants. Bangkok: Department of Agriculture. 34 p. [in Thai]

Mingsakul, S. 2016. Knowledge and practice in accordance with Good Agricultiral Practice (GAP) of farmers producing vegetables in Mae Rim district, Chiang Mai province. Academic Journal Uttaradit Rajabhat University 11(2): 323-334. [in Thai]

National Commission on the Development of Chemical Management Strategies. 2013. The Eleventh Development of Chemical Management Strategies. Nonthaburi: The Agricultural Cooperative Federation of Thailand. 66 p. [in Thai]

Pettong P. and J. Tanapanyaratchawong. 2009. Adoption of Good Agricultural Practices for rambutan of farmers in Ban Nasan district, Surat Thani province. Suranaree Journal Social Science 3(2): 109-126. [in Thai]

Phengsawat, W. 2010. Applied Statistics for Social Science Research. Bangkok: Suveeriyasarn. 428 p. [in Thai]

Prasitrathasint, S. 2002. Applications of Statistical Methods in Research. Bangkok: Fueang Fa Printing House. 352 p. [in Thai]

Siriwiriyasomboon, N., T. Mekhora and T. Limunggura. 2012. Factors affecting farmers’ adoption of safety vegetable in Bangyai District, Nonthaburi province. King Mongkut's Agricultural Journal 30(2): 59-67. [in Thai]

Yamane, T. 1973. Statistics an Introductory Analysis. 3rd. New York: Harper and Row. 1130 p.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-04-2020