@article{เรียนสุทธิ์_2019, title={การเปรียบเทียบตัวแบบพยากรณ์ราคาลำไย}, volume={35}, url={https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/201053}, abstractNote={<p>วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ คือ การเปรียบเทียบตัวแบบพยากรณ์ราคาลำไย 3 วิธี ที่ได้จากวิธีบอกซ์-เจนกินส์ วิธีการปรับเรียบด้วยเส้นโค้งเลข      ชี้กำลังของวินเทอร์แบบบวก และวิธีการพยากรณ์รวม โดยใช้อนุกรมเวลาราคาลำไยเฉลี่ยต่อเดือนจากเว็บไซต์ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2548 ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2560 จำนวน 155 ค่า ข้อมูลถูกแบ่งออกเป็น 2 ชุด ข้อมูลชุดที่ 1 ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2548 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2560 จำนวน 149 ค่า สำหรับการสร้างตัวแบบพยากรณ์ ข้อมูลชุดที่ 2 ตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2560 จำนวน 6 ค่า สำหรับการคัดเลือกตัวแบบพยากรณ์ที่เหมาะสมโดยใช้เกณฑ์เปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ยและเกณฑ์รากที่สองของความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ยที่ต่ำที่สุด ผลการวิจัยพบว่า วิธีการพยากรณ์รวมมีความเหมาะสมมากที่สุด ซึ่งมีตัวแบบพยากรณ์เป็น    <img src="https://li01.tci-thaijo.org/public/site/images/mju_journal/สูตร.jpg" /></p> <p>  </p>}, number={3}, journal={วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร}, author={เรียนสุทธิ์ วรางคณา}, year={2019}, month={ก.ค.}, pages={73–83} }