@article{อมรเลิศพิศาล_จำใจ_พงษ์ไพบูลย์_ไล้เลิศ_2021, title={การยับยั้งอนุมูลอิสระและเอนไซม์เมทริกซ์เมทัลโลโปรติเนสของน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ และผลิตภัณฑ์ลดการอักเสบ}, volume={38}, url={https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/214341}, abstractNote={<p>น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ (Virgin Coconut Oil, VCO) ถูกสกัดจากเนื้อมะพร้าวสดที่แก่เต็มที่ (<em>Cocos nucifera</em> Linn.) ด้วยกระบวนการผลิตที่ไม่ผ่านความร้อนและสารเคมี น้ำมันมีลักษณะใส ไม่มีสี และมีกลิ่นของเนื้อมะพร้าวสด ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปริมาณฟีนอลิกทั้งหมด ฤทธิ์ขจัดอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์เมทริกซ์เมทัลโลโปรติเนสของ VCO จากนั้นนำไปเพิ่มมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์บรรเทาอาการปวดที่มี VCO เป็นส่วนผสม และศึกษาความคงตัวของผลิตภัณฑ์ ผลจากการศึกษาพบว่า VCO มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกมีค่ามิลลิกรัมสมมูลของกรดแกลลิคต่อตัวอย่าง 1 กรัม (GAE) เท่ากับ 14.79±0.19 มก. มีฤทธิ์ขจัดอนุมูลอิสระทั้งดีพีพีเอช (DPPH) และอนุมูลซุปเปอร์ออกไซด์ โดยมีค่า GAE เท่ากับ 0.56±0.01 มก. และ 36.32±0.75 มก. ตามลำดับ ส่วนฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์เมทริกซ์เมทัลโลโปรติเนส (MMP) ที่ช่วยลดการอักเสบและป้องกันการเสื่อมของข้อ     พบว่า VCO มีฤทธิ์การยับยั้ง MMP-9 สูงที่สุด เท่ากับ 84.53±1.00% จากฤทธิ์ชีวภาพดังกล่าวจึงนำ VCO ไปพัฒนาตำรับผลิตภัณฑ์บรรเทาปวดรูปแบบขี้ผึ้ง และทดสอบความคงตัวของผลิตภัณฑ์โดยเก็บที่อุณหภูมิห้อง อุณหภูมิ 4 และ 45⸰ซ. เป็นระยะเวลา 45 วัน รวมถึงการทดสอบความคงตัวของผลิตภัณฑ์แบบเร่งที่อุณหภูมิ 4 และ 45⸰ซ. สลับกันเป็นเวลา 24 ชั่วโมง จำนวน 5 รอบ พบว่าผลิตภัณฑ์มีความคงตัวดีทางกายภาพในทุกสภาวะ และเมื่อนำไปทดสอบความพึงพอใจในอาสาสมัครจำนวน 20 คน พบว่าอาสาสมัครมีความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์โดยรวมดีมาก และไม่มีอาการระคายเคืองตลอดช่วงเวลาทดสอบ</p> <p> </p>}, number={1}, journal={วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร}, author={อมรเลิศพิศาล ดวงพร and จำใจ อุเทน and พงษ์ไพบูลย์ ญานี and ไล้เลิศ นริศรา}, year={2021}, month={เม.ย.}, pages={84–94} }