@article{อมรเลิศพิศาล_ภู่ระยับ_มุ่งหมาย_เม่งอําพัน_หวังสมนึก_2021, title={ฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดจากดอกเก๊กฮวยอินทรีย์เพื่อใช้ในเครื่องสำอาง}, volume={38}, url={https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/214349}, abstractNote={<p>ดอกเก๊กฮวยมีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจึงได้รับความนิยมนำมาผลิตเป็นเครื่องดื่มสมุนไพรในแถบเอเชีย ส่วนการนำดอกเก๊กฮวยมาเพิ่มมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางยังพบอยู่น้อยมาก ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสารชีวภาพและฤทธิ์ทางชีวภาพของดอกเก๊กฮวยอินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อการชะลอวัย โดยทำการสกัดดอกเก๊กฮวยอินทรีย์แห้งด้วยน้ำและตรวจหาสารสำคัญ จากนั้นนำไปทดสอบฤทธิ์ชะลอวัย ได้แก่ ฤทธิ์ขจัดอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์คอลลาจิเนส และไทโรซิเนส ผลการทดลองพบว่า สารสกัดดอกเก๊กฮวยอินทรีย์มีองค์ประกอบสำคัญของสารประกอบฟีนอลิก ฟลาโวนอยด์ และเคอร์ซิติน เท่ากับ 72.28 mgGAE, 16.54 mgQE  และ 402.47 mg/kg ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีประสิทธิภาพในการขจัดอนุมูลอิสระเอบีทีเอส ดีพีพีเอช และซุปเปอร์ออกไซด์ โดยมีค่าการยับยั้งอนุมูลดังกล่าวได้ 50% (IC<sub>50</sub>) เท่ากับ 0.22, 0.32 และ 9.39 mg/ml ตามลำดับ รวมทั้งยังสามารถยับยั้งเอนไซม์คอลลาจิเนสและไทโรซิเนสได้ มีค่า IC<sub>50</sub> เท่ากับ 2.33 และ 102.11 mg/ml ตามลำดับ</p> <p>ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าสารสกัดด้วยน้ำจากดอกเก๊กฮวยอินทรีย์เป็นสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพช่วยต้านอนุมูลอิสระและช่วยป้องกันการเสื่อมสภาพของผิวหนังได้ โดยการเพิ่มมูลค่าให้กับดอกเก๊กฮวยอินทรีย์เป็นสารประกอบเชิงหน้าที่หรือใช้เป็นสารผสมในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจะช่วยเพิ่มทางเลือกและรายได้ให้แก่เกษตรกรผู้เพาะปลูก รวมทั้งผู้ประกอบการด้านเครื่องสำอางอีกทางหนึ่ง</p>}, number={2}, journal={วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร}, author={อมรเลิศพิศาล ดวงพร and ภู่ระยับ สินีนาฏ and มุ่งหมาย ลภัสรดา and เม่งอําพัน เกรียงศักดิ์ and หวังสมนึก ณัฐวุฒิ}, year={2021}, month={ส.ค.}, pages={46–56} }