@article{อมรเลิศพิศาล_บุญอยู่_มุ่งหมาย_เม่งอำพัน_หวังสมนึก_2021, title={การเพิ่มมูลค่าเนื้อผลกาแฟเป็นสารเชิงหน้าที่ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง}, volume={38}, url={https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/214356}, abstractNote={<p>เนื้อผลกาแฟ (Coffee Pulp; CP) เป็นส่วนเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมการผลิตเมล็ดกาแฟ จัดเป็นเศษเหลือที่ก่อให้เกิดปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมทั้งคุณภาพดินที่เป็นกรดและกลิ่นไม่พึงประสงค์ การศึกษาครั้งนี้จึงนำ CP สายพันธุ์อราบิก้าที่เป็นวัสดุเหลือทิ้งมาเพิ่มมูลค่าเป็นสารเชิงหน้าที่ในเครื่องสำอางบำรุงผิว โดยนำ CP มาทำการสกัดด้วยน้ำและทำให้แห้งด้วยวิธีแช่เยือกแข็งได้เป็นสารสกัดเนื้อผลกาแฟ (Coffee Pulp Extract; CPE) นำไปวิเคราะห์หาปริมาณสารประกอบฟีโนลิกพบว่า CPE มีฟีนอลิกรวม 45.12 มิลลิกรัมสมมูลกรดแกลลิกต่อ 1 กรัมของสารสกัด โดยมีกรดคลอโรจีนิกซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพเท่ากับ 17.8 มก./กก. ในส่วนของการศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพพบว่า CPE มีความสามารถในการยับยั้งอนุมูลอิสระ ABTS, DPPH และ superoxide ได้ร้อยละ 50 (IC<sub>50</sub>) มีค่าเท่ากับ 0.59, 0.94 และ 9.53 มก./มล. นอกจากนี้ยังพบว่า CPE สามารถยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสที่เป็นสาเหตุของการสังเคราะห์เมลานิน มีค่า IC<sub>50 </sub>เท่ากับ 125.21 มก./มล. จากผลการทดลองดังกล่าวพบว่า CPE มีคุณสมบัติเป็นสารเชิงหน้าที่เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ด้านเครื่องสำอาง จึงนำไปพัฒนาในตำรับครีมบำรุงผิวหน้า และทดสอบความคงตัวของผลิตภัณฑ์ใน 4 สภาวะ ได้แก่ อุณหภูมิห้อง 4°ซ. และ 45°ซ. เป็นเวลา 90 วัน และทดสอบความคงตัวของผลิตภัณฑ์แบบเร่งโดยการทดสอบแบบร้อนสลับเย็นจำนวน 6 รอบ ผลการทดลองพบว่าผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นมีความคงตัวดีทั้ง 4 สภาวะ ดังนั้น CPE จึงมีศักยภาพในการนำมาเพิ่มมูลค่าเป็นสารเชิงหน้าที่ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางบำรุงผิว</p>}, number={3}, journal={วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร}, author={อมรเลิศพิศาล ดวงพร and บุญอยู่ นิชชิมา and มุ่งหมาย ลภัสรดา and เม่งอำพัน เกรียงศักดิ์ and หวังสมนึก ณัฐวุฒิ}, year={2021}, month={ธ.ค.}, pages={117–127} }