@article{สิงห์คำ_สัจจะวาที_2020, title={ต้นทุนและผลตอบแทนจากการปลูกพืชเศรษฐกิจของเกษตรกร ในเขตตำบลหัวเมือง อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง}, volume={37}, url={https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/214928}, abstractNote={<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนจากการปลูกพืชเศรษฐกิจของเกษตรกร     ในเขตตำบลหัวเมือง อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง ซึ่งพืชเศรษฐกิจประกอบด้วย ข้าวพันธุ์สันป่าตอง 1 ถั่วแระญี่ปุ่นพันธุ์ 75-A  ข้าวโพดหวานพันธุ์ชูการ์สตาร์พลัส และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ S7328 ประชากรของการศึกษาจำแนกออกเป็น 4 กลุ่ม การคำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่าง ใช้วิธีการคำนวณแบบทราบจำนวนประชากรโดยวิธี Yamane (1973) จำนวนกลุ่มตัวอย่างของเกษตรกร ทั้ง 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างของผู้ปลูกข้าวพันธุ์สันป่าตอง 1 จำนวน 244 ครัวเรือน ผู้ปลูกถั่วแระญี่ปุ่นพันธุ์ 75-A จำนวน 104 ครัวเรือน  ผู้ปลูกข้าวโพดหวานพันธุ์ชูการ์สตาร์พลัส จำนวน 80 ครัวเรือน ผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ S7328 จำนวน 77 ครัวเรือน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล โดยจะเก็บเฉพาะเกษตรกรที่มีพื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจตั้งแต่ 1 ไร่ ขึ้นไป การสุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น (Nonprobability sampling) โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental sampling) สถิติที่ใช้ในการวิจัยแยกเป็นสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับสถิติเชิงอนุมานเพื่อทดสอบสมมติฐานว่าต้นทุนและผลตอบแทนไม่มีความแตกต่างกัน ใช้วิธีทดสอบแบบ Paired sample T-test</p> <p>            ผลการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนจากการปลูกข้าวพันธุ์สันป่าตอง 1 มีต้นทุนเฉลี่ย 4,889.27 บาท/ไร่ กำไรสุทธิ 958.22 บาท/ไร่ อัตรากำไรสุทธิต่อยอดขาย คิดเป็นร้อยละ 16.77 ผลการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนจากการปลูกถั่วแระญี่ปุ่นพันธุ์ 75-A มีต้นทุนเฉลี่ย 20,433.74 บาท/ไร่ กำไรสุทธิ 2,109.92 บาท/ไร่ อัตรากำไรสุทธิต่อยอดขายคิดเป็นร้อยละ 9.36 ผลการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนจากการปลูกข้าวโพดหวานพันธุ์   ชูการ์สตาร์พลัส มีต้นทุนเฉลี่ย 3,948.10 บาท/ไร่ กำไรสุทธิ 5,665.05 บาท/ไร่ อัตรากำไรสุทธิต่อยอดขายคิดเป็น       ร้อยละ 58.93 ผลการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนจากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ S7328 ต้นทุนเฉลี่ย 4,790.80 บาท/ไร่ กำไรสุทธิ 1,777.11 บาท/ไร่ อัตรากำไรสุทธิต่อยอดขายคิดเป็นร้อยละ 27.06 และผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่าการปลูกพืชเศรษฐกิจแต่ละชนิดของ เกษตรกรมีผลตอบแทนสูงกว่าต้นทุน ณ ระดับนัยสำคัญทางเศรษฐกิจที่ 0.05</p>}, number={3}, journal={วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร}, author={สิงห์คำ สุรีย์มาศ and สัจจะวาที ธีราลักษณ์}, year={2020}, month={ธ.ค.}, pages={103–117} }