@article{ละเอียดอ่อน_โลมารักษ์_2021, title={การใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่มีในท้องถิ่นสำหรับเพาะเห็ดฟาง}, volume={38}, url={https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/224282}, abstractNote={<p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่มีในท้องถิ่นสำหรับนำมาเพาะเพาะเห็ดฟาง ทำการวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) จำนวน 4 ซ้ำ ประกอบด้วยวัสดุเพาะ 6 สิ่งทดลอง ได้แก่ 1) ฟางข้าว % ทำการทดลองในช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม พ.ศ. 2562 ผลการทดลองพบว่า น้ำหนักสดของดอกเห็ด ความกว้างและความยาวของดอกเห็ด และประสิทธิภาพทางชีววิทยา มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยวัสดุเพาะ 3) ฟางข้าว 50% ผสม ผักตบชวา 50% มีค่าสูงที่สุดเฉลี่ยเท่ากับ 2,105±0.86 กรัม 3.68 ซม. 5.49 ซม. และ 14.88% ตามลำดับ และยังพบว่าอายุในการเกิดเส้นใย อายุการเกิดตุ่มดอก และ     การเกิดดอกตูม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยวัสดุเพาะ 3) ฟางข้าว 50% ผสมผักตบชวา 50% มีอายุสั้นที่สุด เฉลี่ยเท่ากับ 7.25, 9.75 และ 9.25 วัน ตามลำดับ และยังพบว่าวัสดุเพาะดังกล่าว มีความหนาแน่นของเส้นใยอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ส่วนน้ำหนักแห้งของวัสดุเพาะ ค่าความเป็นกรด−ด่างของวัสดุเพาะ ทั้งก่อนเพาะและหลังเพาะ พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นวัสดุเพาะ 3) ฟางข้าว 50% ผสมผักตบชวา 50% จึงมีความเหมาะสมในการเพาะ  เห็ดฟางในการทดลองครั้งนี้</p> <p> </p>}, number={2}, journal={วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร}, author={ละเอียดอ่อน ครุปกรณ์ and โลมารักษ์ เทพพร}, year={2021}, month={ส.ค.}, pages={68–78} }