@article{อินทสาร_2021, title={ผลของวัสดุปรับปรุงดินต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีดินบางประการในชุดดินสระบุรี}, volume={38}, url={https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/238806}, abstractNote={<p>การศึกษาผลของวัสดุปรับปรุงดินต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีดินบางประการในชุดดินสระบุรี โดยทำการเก็บตัวอย่างดินในแปลงไถพรวนของศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ จังหวัดสระบุรี ตั้งแต่เดือนมีนาคม-สิงหาคม พ.ศ. 2562 ทำการบ่มดินด้วยวัสดุปรับปรุงดินทั้งวัสดุอินทรีย์และวัสดุอนินทรีย์ โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ ประกอบด้วย 6 ตำรับการทดลอง 3 ซ้ำ ดังนี้ 1) ควบคุม 2) กากกาแฟ 3) เปลือกเชอร์รี่กาแฟ 4) กากตะกอนอ้อย 5) ภูไมท์ซัลเฟต และ 6) ผงกำมะถัน ผลการศึกษาพบว่าการใช้วัสดุปรับปรุงดินในรูปของวัสดุอินทรีย์ตอบสนองต่อคุณสมบัติทางเคมีดินบางประการมากกว่าวัสดุอนินทรีย์โดยเฉพาะกากกาแฟทำให้มีค่าความเป็นกรดด่างลดลงมากที่สุด คือ 7.01 จากเดิม 7.73 หลังจากทำการทดลองในระยะเวลา 12 สัปดาห์ (p<0.01) และทำให้ปริมาณอินทรียวัตถุในดินจากการใส่กากกาแฟสูงที่สุด คือ 4.4% ส่วนตำรับกากตะกอนอ้อยทำให้ปริมาณฟอสฟอรัสและแคลเซียมที่สกัดได้ในดินสูงที่สุดหลังการบ่ม (22 มก./กก. และ 9,997 มก./กก.) ตามลำดับ การใช้เปลือกเชอร์รี่กาแฟส่งผลให้ปริมาณโพแทสเซียมที่สกัดได้ในดินสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับดินก่อนการทดลอง คือ 1,652 มก./กก. การใช้กากกาแฟพบปริมาณแมกนีเซียมที่สกัดได้ในดินสูงที่สุด คือ 1,078 มก./กก. การบ่มดินด้วยกากตะกอนอ้อยทำให้ปริมาณธาตุอาหารเสริมที่สกัดได้มีปริมาณเหล็ก แมงกานีส ทองแดง และสังกะสีสูงที่สุด โดยการใช้กากกาแฟซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้สามารถนำมาปรับปรุงค่าความเป็นกรด-ด่าง และเพิ่มปริมาณธาตุอาหารในดินได้มากกว่าวัสดุปรับปรุงดินชนิดอื่น</p>}, number={2}, journal={วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร}, author={อินทสาร จีราภรณ์}, year={2021}, month={ส.ค.}, pages={25–35} }