@article{เรียนสุทธิ์_2021, title={การพยากรณ์ปริมาณการส่งออกยางพาราในประเทศไทย}, volume={38}, url={https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/240532}, abstractNote={<p>วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ คือ การสร้างตัวแบบพยากรณ์ที่เหมาะสมกับอนุกรมเวลาปริมาณการส่งออกยางพาราในประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลจากเว็บไซต์ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2554 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 จำนวน 108 ค่า โดยข้อมูลถูกแบ่งออกเป็น      2 ชุด คือ ชุดที่ 1 ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2554 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2561 จำนวน 96 ค่า สำหรับการสร้าง      ตัวแบบพยากรณ์ด้วยวิธีบ็อกซ์-เจนกินส์ วิธีการปรับเรียบด้วยเส้นโค้งเลขชี้กำลังที่มีฤดูกาลอย่างง่าย วิธีการปรับเรียบด้วยเส้นโค้งเลขชี้กำลังของวินเทอร์แบบบวก วิธีการปรับเรียบด้วยเส้นโค้งเลขชี้กำลังของวินเทอร์แบบคูณ และวิธีการพยากรณ์รวม และชุดที่ 2 ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 จำนวน 12 ค่า สำหรับการเปรียบเทียบความถูกต้องของค่าพยากรณ์ โดยใช้เกณฑ์ร้อยละค่าคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ยและเกณฑ์รากของค่าคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ยที่ต่ำที่สุด ผลการศึกษาพบว่า จากวิธีการพยากรณ์ทั้งหมดที่ได้ศึกษา วิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุด คือ วิธีการพยากรณ์รวม ผลการพยากรณ์ปริมาณการส่งออกยางพาราสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการ     การส่งออกให้สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ได้ รวมถึงยังเป็นแนวทางให้รัฐบาลสามารถออกนโยบายในการสนับสนุนการส่งออกยางพาราได้อย่างเหมาะสม</p>}, number={2}, journal={วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร}, author={เรียนสุทธิ์ วรางคณา}, year={2021}, month={ส.ค.}, pages={130–143} }