@article{เครือคำ_ศักดิ์คะทัศน์_ฟองมูล_กนกหงษ์_2020, title={ความต้องการในการส่งเสริมปลูกพืชสวนครัวพื้นบ้านแบบล้านนา ของเกษตรกรในพื้นที่อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่}, volume={37}, url={https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/242058}, abstractNote={<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมของเกษตรกร 2) เพื่อศึกษาความต้องการในการส่งเสริมปลูกพืชสวนครัวพื้นบ้านแบบล้านนาของเกษตรกร 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการในการส่งเสริมปลูกพืชสวนครัวพื้นบ้านแบบล้านนาของเกษตรกร และ 4) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมปลูกพืชสวนครัวพื้นบ้านแบบล้านนาของเกษตรกรในพื้นที่อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เกษตรกรในพื้นที่อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 375 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ           ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ</p> <p>            ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 50 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษาตอนปลาย มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4 คน มีสมาชิก     วัยเรียนในครัวเรือนเฉลี่ย 1 คน มีจำนวนสมาชิกวัยแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 3 คน มีรายได้เฉลี่ย 13,816.80 บาทต่อเดือน มีพื้นที่ถือครองในครัวเรือนเฉลี่ย 9.6 ไร่ รับรู้ข่าวสาร        ด้านการเกษตรเฉลี่ย 25 ครั้งต่อเดือน เกษตรกรมีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเฉลี่ย 1 ครั้งต่อเดือน    เข้าร่วมกิจกรรมและประเพณีของหมู่บ้านหรือชุมชนเฉลี่ย 2 ครั้งต่อเดือน เกษตรกรมีการเข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับการทำการเกษตรเฉลี่ย 2 ครั้งต่อปี เกษตรกรส่วนใหญ่    มีการเข้าร่วมการฝึกอบรมและศึกษาดูงานด้านการเกษตร เฉลี่ย 3 ครั้งต่อปี เกษตรกรมีประสบการณ์การปลูกพืชสวนครัวพื้นบ้านเฉลี่ย 16.8 ปี เกษตรกรส่วนใหญ่ มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปลูกพืชสวนครัวพื้นบ้านอยู่ในระดับมาก ผลการศึกษาความต้องการในการส่งเสริมปลูกพืชสวนครัวพื้นบ้านแบบล้านนาของเกษตรกรในพื้นที่อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ พบว่าอยู่ในระดับความต้องการมาก ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการในการส่งเสริมปลูกพืชสวนครัวพื้นบ้านแบบล้านนาของเกษตรกร ได้แก่ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน จำนวนสมาชิกวัยแรงงานในครัวเรือน รายได้ในครัวเรือน การติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร การเข้าร่วมการฝึกอบรมและศึกษา         ดูงานด้านการเกษตร และประสบการณ์การปลูกพืชผักสวนครัวพื้นบ้านของเกษตรกร</p> <p>ผลการศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของเกษตรกรเกี่ยวกับการส่งเสริมปลูกพืชสวนครัวพื้นบ้านแบบล้านนาได้แก่ 1) โรคและแมลงทำลายผลผลิต            2) ในฤดูแล้งมีน้ำน้อยไม่เพียงพอต่อการทำการเกษตร      3) ผลผลิตราคาไม่แน่นอน 4) ขาดความรู้ในการปลูกพืชและการป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูพืช และเกษตรกรเสนอแนะว่า ควรมีการจัดอบรมเกี่ยวกับการป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช การทำน้ำหมักชีวภาพ การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ควรวางแผนการจัดการน้ำเพื่อการเกษตรในชุมชน สร้างเครือข่ายการผลิตทางการเกษตรร่วมกับชุมชน และควรมีตลาดรับซื้อผลผลิตอย่างต่อเนื่อง</p>}, number={1}, journal={วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร}, author={เครือคำ พุฒิสรรค์ and ศักดิ์คะทัศน์ พหล and ฟองมูล สายสกุล and กนกหงษ์ กังสดาล}, year={2020}, month={เม.ย.}, pages={64–72} }