@article{เรืองวงษ์_เรืองกูล_ภาสบุตร_วงค์เมธา_เผือกใจแผ้ว_2021, title={การประเมินความต้านทานของพันธุ์มันฝรั่งต่อเชื้อรา Phytophthora infestans ในสภาพโรงเรือน}, volume={38}, url={https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/245899}, abstractNote={<p>โรคใบไหม้มันฝรั่งเกิดจากเชื้อรา <em>Phytophthora infestans</em> ที่สร้างความเสียหายต่อผลผลิตเป็นอย่างมาก การปรับปรุงพันธุ์มันฝรั่งให้มีความต้านทานต่อโรคจึงมีความสำคัญต่อการปลูกมันฝรั่ง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกพันธุ์มันฝรั่งที่ต้านทานต่อเชื้อรา <em>P. infestans</em> โดยประเมินความต้านทานของมันฝรั่งที่ได้รับมาจากการคัดเลือกพันธุ์โดยศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ จำนวน 2 พันธุ์ พันธุ์ที่นำเข้าจาก International Potato Center (CIP) ประเทศเปรู จำนวน 16 พันธุ์ และพันธุ์ Atlantic นำเชื้อรา <em>P. infestans</em> จำนวน 4 ไอโซเลท ได้แก่ ไอโซเลท KW3, Phrao3, MA6 และ MS8 ที่ความเข้มข้นของแต่ละไอโซเลท เท่ากับ 1x10<sup>4</sup> สปอร์แรงเจีย/มล. ปลูกลงบน ต้นมันฝรั่งอายุ 1 เดือน ทำการประเมินพันธุ์มันฝรั่งในช่วงเดือนกรกฎาคม–สิงหาคม พ.ศ. 2561 โดยประเมินระดับการเกิดโรคในวันที่ 14, 25, 34, 43 และ 52 หลังปลูกเชื้อ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ นำระดับการเกิดโรคที่ได้ไปคำนวณหาร้อยละดัชนีความรุนแรงของโรค และพื้นที่     ใต้กราฟพัฒนาการของโรค (AUDPC) เพื่อใช้ระบุลักษณะความต้านทานต่อโรค พบมันฝรั่งพันธุ์ CIP 391002.6          มีความต้านทานปานกลางต่อเชื้อรา <em>P. infestans</em> ทั้ง 4        ไอโซเลท ซึ่งพันธุ์ดังกล่าวจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ เพื่อการปรับปรุงพันธุ์มันฝรั่งให้ต้านทานต่อโรคใบไหม้ต่อไป</p>}, number={3}, journal={วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร}, author={เรืองวงษ์ อรอุมา and เรืองกูล ฐิตาภรณ์ and ภาสบุตร ธารทิพย์ and วงค์เมธา อรทัย and เผือกใจแผ้ว ฉัตรสุดา}, year={2021}, month={ธ.ค.}, pages={28–38} }