TY - JOUR AU - อินต๊ะวิชา, พยุงศักดิ์ AU - ปัญญา, วีรพันธุ์ AU - เครือสาร, ศักดิ์ชัย AU - ธานี, ธรรมนูญ AU - ปัญญาทอง, มนตรี PY - 2019/07/02 Y2 - 2024/03/28 TI - สภาพการเลี้ยงและการเปรียบเทียบระยะเวลาในการสอด CDIR เพื่อเหนี่ยวนำการเป็นสัดในโคนมของจังหวัดพะเยา JF - วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร JA - MJUJN VL - 35 IS - 3 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/200703 SP - 43-52 AB - <p>วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อทราบถึงสภาพการเลี้ยงโคนมในจังหวัดพะเยา และการเปรียบเทียบจำนวนวันสอดอุปกรณ์เหนี่ยวนำการเป็นสัดในแม่โคนม <strong>การศึกษาที่ </strong><strong>1</strong> สภาพการเลี้ยงโคนมในจังหวัดพะเยา โดยข้อมูลถูกเก็บจากผู้เลี้ยงโคนมทั้งหมดในจังหวัดพะเยาจำนวน 12 ราย โดยใช้แบบสอบถามทั้งปลายเปิดและปิด จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงพรรณนา และวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรที่เลี้ยงโคนมในจังหวัดพะเยาส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 83.33)    มีอายุเฉลี่ยอยู่ในช่วง 40-60 ปี (ร้อยละ 66.67) มีระดับการศึกษาระดับประถมศึกษา (ร้อยละ 33.33) และระดับปริญญาตรี (ร้อย 33.33) เลี้ยงโคนมเป็นอาชีพหลักคิดเป็นร้อยละ 91.67 มีประสบการณ์ในการเลี้ยงโคนม 3-4 ปี (ร้อยละ 33.33) เกษตรกรร้อยละ 91 มีแปลงหญ้าสำหรับเลี้ยงโคนมและซื้ออาหารข้นจากสหกรณ์มาเลี้ยงโคนม (ร้อยละ 100) มีการจดบันทึกทะเบียนประวัติประจำตัวโคนมที่เลี้ยง (ร้อยละ100) ส่วนปัญหาที่เกษตรกรส่วนใหญ่พบ แม่โคไม่แสดงอาการเป็นสัดภายใน 60 วันหลังคลอดลูก (ร้อยละ 46.47) <strong>การศึกษาที่ </strong><strong>2</strong> เปรียบเทียบวันสอดอุปกรณ์เหนี่ยวการเป็นสัด 3 รูปแบบ (7, 9 และ 11 วัน)  ในแม่โคไม่แสดงอาการเป็นสัดภายใน 60 วันหลังคลอดลูก จำนวน 22 ตัว โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มสอด CIDR 7 วัน (n=7)  2) กลุ่มสอด CIDR 9 วัน (n=7)  3) กลุ่มสอด CIDR 11 วัน (n=8) พบว่าระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในกระแสเลือด ในวันสอดอุปกรณ์ CIDR แม่โคกลุ่ม 7, 9 และ 11 วัน เท่ากับ 23.04±1.70, 21.89±5.24 และ 22.38±8.82 ng/ml ตามลำดับ (P&gt;0.05) ในวันถอดอุปกรณ์ CIDR แม่โคกลุ่ม 7, 9 และ 11 วัน มีระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในกระแสเลือดเท่ากับ 17.21±6.74, 25.65±13.82 และ 23.1±6.52 ng/ml ตามลำดับ (P&gt;0.05) วันผสมเทียมแม่โคกลุ่มสอด CIDR 7, 9 และ 11 วัน มีระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในกระแสเลือดเท่ากับ 11.16±1.66, 9.83±2.11 และ 8.00±4.79 ng/ml ตามลำดับ (P&gt;0.05) ส่วนค่าความเข้มข้นของฮอร์โมนเอสตราไดออลในวันสอดอุปกรณ์ CIDR แม่โคกลุ่ม 7, 9 และ 11 วัน มีระดับฮอร์โมน เอสตราไดออลในกระแสเลือดเท่ากับ 4.26±2.01, 4.35±0.67 และ 4.75±0.68 ng/ml ตามลำดับ (P&gt;0.05) ในวันที่ถอดอุปกรณ์ CIDR แม่โคกลุ่ม 7, 9 และ 11 วัน มีค่าเท่ากับ 5.09±2.12, 4.72±0.78 และ 4.66±1.61 ng/ml ตามลำดับ (P&gt;0.05) และในวันผสมเทียมแม่โคกลุ่ม 7, 9 และ 11 วัน  มีระดับฮอร์โมนเอสตราไดออลในกระแสเลือดเท่ากับ 4.23±1.37, 4.90±0.92 และ 5.65±3.16 ng/ml ตามลำดับ (P&gt;0.05) อัตราการเป็นสัดและอัตราการผสมติดของ  แม่โคหลังจากผสมเทียมครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ทุกกลุ่มการทดลองไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P&gt;0.05)   </p><p> </p> ER -