TY - JOUR AU - นิธิกาจณ์พานิช, ชมัยพร AU - ตาคำ, เพ็ญนภา AU - เจริญตัณธนกุล, วศิน PY - 2019/08/23 Y2 - 2024/03/28 TI - การพัฒนาปฏิกิริยาลูกโซ่โพลิเมอเรสแบบมัลติเพล็กซ์สำหรับการตรวจเชื้อ Ehrlichia canis Hepatozoon canis และ Babesia canis จากเลือดสุนัข JF - วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร JA - MJUJN VL - 36 IS - 2 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/211050 SP - 80-90 AB - <p>งานวิจัยนี้พัฒนาเทคนิคปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอเรสแบบมัลติเพล็กซ์ต่อเนื่องจากการศึกษาก่อนหน้านี้ที่ตรวจได้เพียงเชื้อ <em>Ehrlichia canis</em> และ <em>Babesia canis</em> จากตัวอย่างเลือดสุนัข ในการศึกษานี้ผู้วิจัยพัฒนาเทคนิคปฏิกิริยาลูกโซ่โพลิเมอเรสแบบมัลติเพล็กซ์เพื่อตรวจหายีน <em>VirB9</em> ของ<em> Ehrlichia canis</em> และ <em>18S rRNA</em> ของ <em>Hepatozoon</em> <em>canis</em> และ <em>Babesia</em> <em>canis</em> ในตัวอย่างเลือดของสุนัข การติดเชื้อ <em>E. canis</em> (ริกเกตเซีย) <em>H.</em> <em>canis</em> (โปรโตซัว) และ <em>B.</em> <em>canis</em> (โปรโตซัว) ก่อให้เกิดโรคเออลิชิโอสิส (Ehrlichiosis) โรคเฮปปาโตซูโนสิส (Hepatozoonosis) และโรคบาบีซิโอสิส (babesiosis) ในสุนัข ตามลำดับ &nbsp;เชื้อก่อโรคทั้งสามชนิดมีพาหะร่วมกัน คือ เห็บสุนัขสีน้ำตาล (<em>Rhipicephalus sanguineus</em>) สุนัขที่ติดเชื้อมักแสดงอาการโลหิตจาง เป็นไข้ และอ่อนเพลีย วิธีการวินิจฉัยโรคนี้ในปัจจุบันใช้วิธีการย้อมฟิล์มเลือดบางด้วยสี Wright-Giemsa วิธีปฏิกิริยาลูกโซ่โพลิเมอเรส และวิธี Immunochromatographic ซึ่งใช้ตรวจหาแอนติบอดีต่อเชื้อ ในวิธีการต่างๆ เหล่านี้ วิธีปฏิกิริยาลูกโซ่โพลิเมอเรส&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; มีความไวในการตรวจพบเชื้อสูงที่สุด แต่ใช้ระยะเวลาการตรวจนานที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อตรวจหาเชื้อก่อโรค ทีละเชื้อ เทคนิคปฏิกิริยาลูกโซ่โพลิเมอเรสแบบมัลติเพล็กซ์ที่พัฒนาขึ้นนี้คาดว่าจะช่วยลดระยะเวลาในการวินิจฉัยโรคทั้งสามได้</p><p>&nbsp;</p> ER -