TY - JOUR AU - เวชสิทธินิรภัย, นภารัศม์ AU - เครือคำ , พุฒิสรรค์ AU - จี้รัตน์, ปภพ PY - 2021/04/25 Y2 - 2024/03/28 TI - ความต้องการในการส่งเสริมการเลี้ยงโคนมตามมาตรฐานฟาร์มที่ดีของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ในเขตเทศบาลตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ JF - วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร JA - MJUJN VL - 38 IS - 1 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/228655 SP - 155-165 AB - <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความต้องการในการส่งเสริมการเลี้ยงโคนมตามมาตรฐานฟาร์มที่ดี 2) ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการในการส่งเสริมการเลี้ยงโคนมตามมาตรฐานฟาร์มที่ดี และ 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการเลี้ยงโคนมตามมาตรฐานฟาร์มที่ดี โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในเขตเทศบาลตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 129 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมมีความต้องการในการส่งเสริมการเลี้ยงโคนมตามมาตรฐานฟาร์มที่ดีในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการในการส่งเสริมการเลี้ยงโคนมตามมาตรฐานฟาร์มที่ดีของเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติมีทั้งหมด 5 ตัวแปร โดยแบ่งออกเป็นตัวแปรที่มีผลทางบวก 2 ตัวแปร ได้แก่ จำนวนพื้นที่สำหรับกิจการโคนม และรายได้จากกิจการโคนม ขณะที่ตัวแปรที่มีผลในทางลบมีจำนวน 3 ตัวแปร ได้แก่ จำนวนโคนม การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการเลี้ยงโคนมตามมาตรฐานฟาร์มที่ดี และประสบการณ์การฝึกอบรมเกี่ยวกับการเลี้ยงโคนม การศึกษาปัญหา และอุปสรรคในการเลี้ยงโคนมตามมาตรฐานฟาร์มที่ดีพบว่า 1) น้ำนมดิบที่ได้มีคุณภาพต่ำ เนื่องจากการต้องใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาโรคเต้านมอักเสบที่เกิดจากการรีดนมไม่หมด และการระบาดของโรคเท้าเปื่อยปากเปื่อยในช่วงฤดูฝนส่งผลต่อคุณภาพน้ำนม 2) การประสบปัญหาการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างแรงงานและขาดแคลนแรงงานที่มีความสามารถและเชี่ยวชาญการเลี้ยงโคนมตามข้อกำหนดการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มโคนม และ 3) การขาดแคลนอาหารโคนมทั้งในส่วนปริมาณและคุณภาพ โดยเกษตรกรมีข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ดังนี้ 1) ควรมีการสนับสนุนการตรวจสอบคุณภาพน้ำนมดิบและให้ความรู้ในการดูแลรักษาโคนมเพื่อเพิ่มคุณภาพของน้ำนมให้สูงขึ้น 2) การสนับสนุนองค์ความรู้ในการดูแลอุปกรณ์รีดนมและการจัดตั้งกองทุนเพื่อการซื้ออุปกรณ์ รีดนมที่มีความทันสมัย และ 3) ส่งเสริมการลดต้นทุนในการผลิตอาหารสัตว์ที่ทำมาจากวัตถุดิบในพื้นที่</p> ER -