TY - JOUR AU - อินต๊ะวิชา, พยุงศักดิ์ AU - ดงปาลีธรรม์, ชยุต PY - 2019/12/28 Y2 - 2024/03/29 TI - ลักษณะขวัญและความสัมพันธ์กับน้ำหนักตัวของโคขาวลำพูน JF - วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร JA - MJUJN VL - 36 IS - 3 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/232880 SP - 1-11 AB - <p>การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อประเมินความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบของขวัญกับน้ำหนัก  ในโคขาวลำพูนที่เลี้ยงในศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์พะเยา สำหรับคัดเลือกเป็นพระโคที่ใช้ในงานพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ โดยเก็บข้อมูลจากโคขาวลำพูนเพศเมีย จำนวน 295 ตัว มีอายุ 2-4 ปี <strong>การศึกษาที่ </strong><strong>1</strong>: ตรวจสอบลักษณะการปรากฏของขวัญที่แสดงออกบนร่างกายโคขาวลำพูนแม่พันธุ์พบว่า รูปแบบขวัญที่พบมากที่สุด คือ ขวัญหน้า (ร้อยละ 94.58) รองลงมา คือ ขวัญหลัง (ร้อยละ 88.47) ขวัญตะพายทับ (ร้อยละ 64.41) ขวัญทัดดอกไม้ซ้าย (ร้อยละ 41.34) ขวัญทัดดอกไม้ขวา (ร้อยละ 29.83) ขวัญรักแร้ซ้าย (ร้อยละ 3.73) และขวัญรักแร้ขวา (ร้อยละ 2.03) ตามลำดับ <strong>การศึกษาที่ </strong><strong>2</strong>: ประเมินความสัมพันธ์ระหว่างโคที่ปรากฏและไม่ปรากฏ ขวัญบนร่างกายต่อน้ำหนักร่างกายลูกโคแรกเกิดและการเจริญเติบโตเมื่อเลี้ยงถึงอายุหย่า 200 วัน ผลการศึกษาพบว่า โคที่ไม่ปรากฏขวัญหน้ามีน้ำหนักแรกเกิด และน้ำหนักที่อายุ 200 วัน (17.82±1.67 กิโลกรัม และ 82.88±13.92 กิโลกรัม) ไม่แตกต่างกัน (P=0.15 และ P=0.51) กับโคที่ปรากฏขวัญหน้า (17.17±1.84 กิโลกรัมและ 80.70±13.30 กิโลกรัม) โคที่ไม่ปรากฏขวัญหลังมีน้ำหนักแรกเกิด (17.62±1.81 กิโลกรัม) มากกว่า (P=0.07) แต่มีน้ำหนักที่อายุ 200 วัน (83.71±13.64 กิโลกรัม) ไม่แตกต่างกัน (P=0.11) กับโคที่มีขวัญหลัง  (17.05±1.78 กิโลกรัม และ 80.40±13.27 กิโลกรัม)   โคที่ปรากฏขวัญตะพายทับมีน้ำหนักแรกเกิดและ น้ำหนักที่อายุ 200 วัน (17.00±1.80 กิโลกรัม และ 81.24±13.48 กิโลกรัม) ไม่แตกต่าง (P=0.32 และ P=0.95) กับโคที่ไม่ปรากฏขวัญตะพายทับ (17.19±1.79 กิโลกรัม และ 81.15±13.40 กิโลกรัม)  ผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กันระหว่างการปรากฏของขวัญที่ตำแหน่งต่างๆ ของร่างกายโคกับน้ำหนักตัวที่อายุแรกเกิด (0 วัน) และอายุหย่านม (200 วัน) ในโคขาวลำพูนเพศเมียที่เลี้ยง ณ ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์พะเยา</p> ER -