TY - JOUR AU - เรียนสุทธิ์, วรางคณา PY - 2019/12/28 Y2 - 2024/03/29 TI - การเปรียบเทียบตัวแบบพยากรณ์ราคาขายมันเส้นโดยวิธีการพยากรณ์ทางสถิติ JF - วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร JA - MJUJN VL - 36 IS - 3 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/232955 SP - 54-65 AB - <p>วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ คือ การเปรียบเทียบตัวแบบพยากรณ์ราคามันเส้น โดยวิธีการพยากรณ์ทางสถิติทั้งหมด 6 วิธี ได้แก่ วิธีบ็อกซ์-เจนกินส์ วิธีการปรับเรียบด้วยเส้นโค้งเลขชี้กำลังของโฮลต์ วิธีการปรับเรียบด้วยเส้นโค้งเลขชี้กำลังที่มีแนวโน้มแบบแดม วิธีการปรับเรียบด้วยเส้นโค้งเลขชี้กำลังที่มีฤดูกาลอย่างง่าย วิธีการปรับเรียบด้วยเส้นโค้งเลขชี้กำลังของวินเทอร์แบบบวก และวิธีการปรับเรียบด้วยเส้นโค้งเลขชี้กำลังของวินเทอร์แบบคูณ เพื่อสร้างตัวแบบพยากรณ์ที่ดีที่สุด อนุกรมเวลาราคามันเส้นเฉลี่ยต่อเดือนได้มาจากเว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2542 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2561 จำนวน 237 ค่า แบ่งข้อมูลออกเป็น 2 ชุด ชุดที่ 1 ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2542 ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2561 จำนวน 235 ค่า สำหรับการสร้างตัวแบบพยากรณ์ ชุดที่ 2 ตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2561 จำนวน 2 ค่า สำหรับการเปรียบเทียบความถูกต้องของตัวแบบพยากรณ์ โดยใช้เกณฑ์เปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ยและเกณฑ์รากที่สองของความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ยที่ต่ำที่สุด ผลการศึกษาพบว่า จากวิธีการพยากรณ์ทั้งหมดที่ได้ศึกษา วิธีที่มีความถูกต้องมากที่สุด คือ วิธีการปรับเรียบด้วยเส้นโค้งเลขชี้กำลังของวินเทอร์แบบบวก</p> ER -