TY - JOUR AU - อินต๊ะวิชา, พยุงศักดิ์ AU - เครือสาร, ศักดิ์ชัย AU - ธานี, ธรรมนูญ AU - แสงวงศ์, สุรีย์พร AU - ดงปาลีธรรม์, ชยุต AU - แก้วเกษา, เทอดชัย PY - 2020/04/16 Y2 - 2024/03/29 TI - การเปรียบเทียบวิธีการและต้นทุนเหนี่ยวนำการเป็นสัดในโคเนื้อแม่พันธุ์ JF - วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร JA - MJUJN VL - 37 IS - 1 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/241672 SP - 20-28 AB - <p>การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อเปรียบเทียบวิธีการและต้นทุนเหนี่ยวนำการเป็นสัดในโคเนื้อแม่พันธุ์ โดยใช้&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; โคเนื้อแม่พันธุ์จากฟาร์มเกษตรกรสมาชิกสหกรณ์โคขุนดอกคำใต้ในจังหวัดพะเยา การทดลองนี้ใช้โคลูกผสมพื้นเมืองเพศเมียจำนวน 45 ตัว อายุ 3-5 ปี ให้ลูกมาแล้ว 2-4 ตัว น้ำหนักเฉลี่ย 350-450 กิโลกรัม ถูกจัดเข้าในแผน การทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design; CRD) มี 3 กลุ่มการทดลอง ได้แก่ กลุ่มที่ 1 เหนี่ยวนำด้วยวิธีการฉีดฮอร์โมน (Ovsynch) จำนวน 15 ตัว กลุ่มที่ 2 เหนี่ยวนำด้วยวิธีการสอดแท่งฮอร์โมน (CIDR) จำนวน 15 ตัว และกลุ่มที่ 3 เหนี่ยวนำด้วยวิธีการพันหางด้วยแผ่นฮอร์โมน (P-sync) จำนวน &nbsp;15 ตัว ในวันแรกของการเหนี่ยวนำ (Day 0) ฉีดฮอร์โมน Gonadotropin-releasing hormone (GnRH) ให้กับ แม่โคในกลุ่มที่ 1 สอดแท่ง CIDR เข้าช่องคลอดให้กับแม่โคในกลุ่มที่ 2 และพันหางด้วยแผ่น P-sync ให้กับแม่โคในกลุ่มที่ 3 ในวัน&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ที่ 7 ของขั้นตอนการเหนี่ยวนำ ถอดแท่งฮอร์โมนและแผ่นฮอร์โมนออก แล้วฉีดฮอร์โมน Prostaglandin F2alpha (PGF2<sub>α</sub>) จากนั้นผสมเทียม ในชั่วโมงที่ 55 หลังจากฉีดฮอร์โมน PGF2<sub>α</sub> และตรวจการตั้งท้องในวันที่ 60 หลังจากผสมเทียมด้วยเครื่อง Ultrasound ทำการเปรียบเทียบข้อมูลอัตราการตั้งท้องในวันที่ 60 หลังจากการผสมเทียม และอัตราลูกเกิดเปรียบเทียบค่าร้อยละโดยใช้ Chi-square test &nbsp;ผลการศึกษาพบว่า อัตราการตั้งท้องในกลุ่มเหนี่ยวนำการเป็นสัดด้วยวิธีการสอดแท่งฮอร์โมนเท่ากับร้อยละ 73 (11/15) มากที่สุด รองลงมาคือ กลุ่มเหนี่ยวนำด้วยวิธีพันหางตั้งท้องร้อยละ 47 (7/15 ตัว) และกลุ่มเหนี่ยวนำด้วยวิธีการฉีดฮอร์โมนตั้งท้อง ร้อยละ 40 (6/15 ตัว) (P&lt;0.05) อัตราลูกเกิดพบว่า ในกลุ่มเหนี่ยวนำด้วยวิธีการสอดแท่งฮอร์โมนมีลูกเกิดร้อยละ 66 (10/15 ตัว) สูงกว่ากลุ่มฉีดฮอร์โมนมีลูกเกิดร้อยละ 40 (6/15 ตัว) และกลุ่มพันหาง มีลูกเกิดร้อยละ 40 (6/15 ตัว) (P&lt;0.05) ต้นทุนค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในกลุ่มเหนี่ยวนำด้วยวิธีการสอดแท่งฮอร์โมนเท่ากับ 726 บาทต่อตัว &nbsp;กลุ่มเหนี่ยวนำด้วยวิธีการพันหางด้วยแผ่นฮอร์โมนเท่ากับ 586 บาทต่อตัว และกลุ่มเหนี่ยวนำด้วยวิธีการฉีดฮอร์โมนเท่ากับ 412 บาทต่อตัว ผลการทดลองชี้ให้เห็นว่ากลุ่มเหนี่ยวนำด้วยวิธีการสอดแท่งฮอร์โมนมีอัตราการตั้งท้องและอัตราลูกเกิดดี แต่มีต้นทุนสูงกว่ากลุ่มอื่น</p> ER -