TY - JOUR AU - พรมเกี๋ยง , จักรพันธ์ AU - กนกหงษ์, กังสดาล AU - ฟองมูล , สายสกุล AU - เครือคำ, พุฒิสรรค์ PY - 2020/04/25 Y2 - 2024/03/29 TI - ความรู้และการปฏิบัติตามแนวเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกรผู้ปลูกหม่อน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน JF - วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร JA - MJUJN VL - 37 IS - 1 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/242031 SP - 52-63 AB - <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ &nbsp;1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมของเกษตรกรผู้ปลูกหม่อน &nbsp;2) เพื่อศึกษาความรู้และการปฏิบัติตามแนวเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกร &nbsp;3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความรู้และการปฏิบัติตามแนวเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกร และ &nbsp;4) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติการปลูกหม่อนในระบบเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกรในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ เกษตรกรที่ปลูกหม่อนอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน จำนวน 154 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้คือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ&nbsp; &nbsp; (Multiple Regression)</p><p>ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็น เพศชาย มีอายุเฉลี่ย 49 ปี มีสถานภาพสมรส ไม่ได้เรียนหนังสือ มีรายได้จากการปลูกหม่อน เฉลี่ย 39,038 บาทต่อปี พื้นที่ในการผลิตหม่อนเฉลี่ยอยู่ที่ 3.48 ไร่&nbsp; ใช้แรงงานในการปลูกหม่อนเฉลี่ย 2 คน มีประสบการณ์ในการปลูกหม่อนตามแนวการเกษตรดีที่เหมาะสมเฉลี่ย &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;3 ปี มีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเฉลี่ย &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;1 ครั้งต่อปี เข้าร่วมการฝึกอบรมเกี่ยวกับการผลิตหม่อนตามแนวเกษตรดีที่เหมาะสมเฉลี่ย 1 ครั้งต่อปี ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่มผู้ปลูกหม่อนตามแนวการเกษตรดีที่เหมาะสม และรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการปฏิบัติตามแนวการเกษตรดีที่เหมาะสมจากเพื่อนบ้านและเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้ตามแนวการเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การติดต่อเจ้าหน้าที่ มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.012 และตัวแปรอิสระทั้งหมดสามารถอธิบายความผันแปรของตัวแปรตามหรือความรู้ตามแนวการเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกรผู้ปลูกหม่อน ได้&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ร้อยละ 10.1 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 89.9 เป็นอิทธิพลจากตัวแปรอื่นๆ ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตามแนวการเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ เพศ และระดับการศึกษา ซึ่งทั้งสองตัวแปรมีความสัมพันธ์โดยมีระดับนัยสำคัญที่ 0.026 และ 0.012 ตามลำดับและตัวแปรอิสระทั้งหมดสามารถอธิบายความผันแปรของตัวแปรตามหรือความรู้ตามแนวการเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกรผู้ปลูกหม่อน ได้ร้อยละ 14.2 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 85.8 เป็นอิทธิพลจากตัวแปรอื่นๆ</p><p>ปัญหาและอุปสรรคของเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนที่ปฏิบัติตามแนวการเกษตรดีที่เหมาะสม ได้แก่ &nbsp;1) การขาดความมั่นใจเกี่ยวกับราคาและแหล่งจำหน่ายของผลผลิตที่ผลิตในระบบเกษตรดีที่เหมาะสม &nbsp;2) การขาดความเข้าใจในเนื้อหาหรือข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการบันทึกข้อมูลและการตามสอบที่มีความละเอียดจนอาจเกิดความสับสนให้กับเกษตรกร &nbsp;3) การได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งและการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืช ข้อเสนอแนะของเกษตรกร คือ &nbsp;1) เจ้าหน้าที่จากกรมหม่อนไหมที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการปลูกหม่อนตามแนวเกษตรที่ดีและเหมาะสมควรมีการชี้แจงและสร้างความเชื่อมั่นเกี่ยวกับการตลาดและราคาของผลผลิตหม่อนในระบบเกษตรดีและเหมาะสม &nbsp;2) ควรมีการปรับข้อมูลเกี่ยวกับความรู้และการปฏิบัติตามแนวเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) ที่จะใช้ในการดำเนินการส่งเสริมให้มีความเข้าใจง่าย และเห็นภาพในเชิงปฏิบัติ &nbsp;3) เจ้าหน้าที่ส่งเสริมจากกรมหม่อนไหมควรมีการจัดฝึกอบรมและมีการให้คำปรึกษาในส่วนของขั้นตอนการจดบันทึกและการตามสอบ &nbsp;4) ควรมีการให้ความรู้กับเกษตรกรเกี่ยวกับการจัดการและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ</p> ER -