TY - JOUR AU - รอดเจริญ, เอกนรินทร์ AU - วิชาชูเชิด, บงกช AU - เขียดน้อย, วรวัช AU - ตั่นไพโรจน์, วัชริศ AU - สมดวง, สุพัตรา PY - 2021/08/27 Y2 - 2024/03/29 TI - การวิเคราะห์องค์ประกอบอาหารชนิดหลักในกระเพาะอาหารปลาตะกรับในทะเลสาบสงขลา ด้วยการใช้ดัชนีความสำคัญ JF - วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร JA - MJUJN VL - 38 IS - 2 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/242057 SP - 98-97 AB - <p>ปลาตะกรับ (<em>Scatophagus argus </em>Linnaeus, 1766) หรือปลาขี้ตัง เป็นปลาเศรษฐกิจที่มีการส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงในทะเลสาบสงขลา การศึกษาครั้งนี้&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; มีวัตถุประสงค์ในการจำแนกชนิดและหาค่าดัชนีความสำคัญของอาหารในกระเพาะอาหารปลาตะกรับ เพื่อพัฒนาอาหารสำหรับการเลี้ยงปลาตะกรับในอนาคต ตัวอย่างปลาถูกสุ่มเก็บมาจากโพงพางบริเวณทะเลสาบสงขลาตอนนอก ในช่วงเดือนมกราคม−มีนาคม พ.ศ. 2561 พบว่าจากตัวอย่างปลาทั้งหมด สามารถวิเคราะห์องค์ประกอบชนิดอาหารในกระเพาะอาหารปลาได้จำนวน 34 ตัว โดยมีความยาวตัวเฉลี่ยเท่ากับ 15.96±0.93 ซม. ผลการศึกษาอาหารในกระเพาะอาหาร พบสัตว์หน้าดินกลุ่มครัสตาเชียน ไส้เดือนทะเล หอย สาหร่าย และ&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ไข่ปลา การวิเคราะห์ค่าดัชนีความสำคัญของอาหาร (IRI) พบว่าสัตว์หน้าดินกลุ่มหอย มีค่าดัชนีความสำคัญของอาหารมากที่สุด (IRI=7,305.59) รองลงมาคือ ครัสตาเชียน (IRI=4,473.26) และไส้เดือนทะเล (IRI=166.46) ตามลำดับ การวิเคราะห์ค่าดัชนีความสำคัญของอาหารภายในกลุ่มของสัตว์หน้าดินพบว่า สัตว์หน้าดินกลุ่มหอยสองฝามีค่าดัชนีความสำคัญของอาหาร (IRI=5,955.60) มากกว่าหอยฝาเดียว (IRI=451.33) ส่วนสัตว์หน้าดินกลุ่มครัสตาเชียน พบออสตราคอด ชนิด <em>Bradleycypis oblique</em> มีค่าดัชนีความสำคัญของอาหารมากที่สุด (IRI=507.01) รองลงมาคือ แอมฟิพอดชนิด <em>G</em>. <em>magnae</em> (IRI=282.58) และ <em>Cheirriphotis</em> sp. (IRI=277.61) ตามลำดับ ในขณะที่สัตว์หน้าดินกลุ่มไส้เดือนทะเล พบไส้เดือนทะเลชนิด <em>Neanthes</em> sp. มีดัชนีความสำคัญของอาหาร (IRI=17.75) มากกว่าไส้เดือนทะเลชนิด <em>Phyllodace </em>sp. (IRI=3.29)</p><p>&nbsp;</p> ER -