TY - JOUR AU - เจริญตัณธนกุล, วศิน AU - ตาคำ, เพ็ญนภา AU - ประพฤติ, เรือนแก้ว AU - พงษ์เจริญกิต, แสงทอง PY - 2021/12/26 Y2 - 2024/03/29 TI - การพัฒนาปฏิกิริยาลูกโซ่โพลิเมอเรสแบบมัลติเพล็กซ์สำหรับตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อ Ehrlichia canis, Hepatozoon canis, Babesia canis and Anaplasma platys ในสุนัข JF - วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร JA - MJUJN VL - 38 IS - 3 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/242149 SP - 62-74 AB - <p>งานวิจัยนี้พัฒนาเทคนิคปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอเรสแบบมัลติเพล็กซ์ เพื่อช่วยในการวินิจฉัยการติดเชื้อ&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ก่อโรคพยาธิในเลือดในสุนัข โดยเทคนิคที่พัฒนาขึ้น&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ต่อยอดจากเทคนิคที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นก่อนหน้านี้ ซึ่งสามารถตรวจพบเชื้อก่อโรคได้ 3 ชนิด ได้แก่ <em>Ehrlichia canis</em>, <em>Hepatozoon</em> <em>canis</em> (โปรโตซัว) และ <em>Babesia</em> <em>canis </em>(โปรโตซัว) โดยเทคนิคที่พัฒนาขึ้นใหม่นี้สามารถตรวจหายีน <em>VirB9</em> ของเชื้อ<em> E. canis</em>, ยีน <em>18S rRNA</em> ของเชื้อ <em>H.</em> <em>canis</em> และ <em>B.</em> <em>canis</em> และยีน <em>groEL</em> ของเชื้อ <em>Anaplasma platys</em> จากตัวอย่างเลือดของสุนัข เชื้อก่อโรคทั้งสี่ชนิดมีพาหะร่วมกัน คือ เห็บสุนัขสีน้ำตาล (<em>Rhipicephalus sanguineus</em>)&nbsp; และทำให้สุนัขแสดงอาการป่วยที่คล้ายกัน ได้แก่ ซีด เบื่ออาหาร และอ่อนแรง วิธีการวินิจฉัยการติดเชื้อเหล่านี้&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ในปัจจุบันใช้วิธีการย้อมฟิล์มเลือดบางด้วยสี Wright–Giemsa วิธี Immunochromatographic เพื่อตรวจหาแอนติบอดี และวิธีปฏิกิริยาลูกโซ่โพลิเมอเรส ในวิธีต่างๆ เหล่านี้วิธีปฏิกิริยาลูกโซ่โพลิเมอเรสให้ความไวในการตรวจพบเชื้อสูงที่สุด แต่ใช้ระยะเวลาในการตรวจนานที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อตรวจหาเชื้อก่อโรคทีละเชื้อ&nbsp; เทคนิคปฏิกิริยาลูกโซ่โพลิเมอเรสแบบมัลติเพล็กซ์&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ที่พัฒนาขึ้นนี้จะช่วยลดระยะเวลาในการวินิจฉัยการ&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ติดเชื้อโรคทั้งสี่ชนิดได้</p> ER -