TY - JOUR AU - ฟองมูล, สายสกุล PY - 2020/04/30 Y2 - 2024/03/29 TI - ผลกระทบจากการขาดแคลนแรงงานภาคการเกษตร ที่มีผลต่อความมั่นคงทางด้านอาหารในจังหวัดเชียงใหม่ JF - วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร JA - MJUJN VL - 37 IS - 1 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/242151 SP - 118-125 AB - <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ &nbsp;1) เพื่อศึกษาสถานการณ์แรงงานภาคการเกษตรต่อความมั่นคงทางด้านอาหารในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ &nbsp;2) เพื่อศึกษาผลกระทบจากการขาดแคลนแรงงานภาคการเกษตรต่อความมั่นคงทางด้านอาหารในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และ &nbsp;3) เพื่อหาแนวทางและข้อเสนอแนะในการเสริมสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยทำการศึกษาในเขตพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแม่แจ่ม อำเภอจอมทอง อำเภอฝาง อำเภอเชียงดาว และอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตการณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ กลุ่มเกษตรกร แรงงานภาคการเกษตรในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; 400 ราย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติพรรณนาและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา</p><p>ผลการศึกษาสถานการณ์แรงงานภาคการเกษตรต่อความมั่นคงทางด้านอาหารในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า แรงงานภาคเกษตรมีสัดส่วนลดลง สมาชิกในครัวเรือนเกษตรที่มีอายุมากกว่า 65 ปี มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นกลุ่มที่ภาครัฐต้องให้การดูแลอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง เพราะนอกจากจะเป็นผู้ผลิตอาหารแล้ว ยังคงเป็นกลุ่มคนที่มีฐานะความเป็นอยู่ด้อยกว่ากลุ่มคนอื่นๆ ในสังคม ผลจากการเพิ่มขึ้นของประชากรสูงอายุทำให้สัดส่วนผู้สูงอายุที่ยังอยู่ในกำลังแรงงานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามไปด้วย เนื่องจากประชากรวัยแรงงานในอนาคตจะมีแนวโน้มลดลง และเกิดปัญหาการขาดแคลนแรงงาน จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้สูงอายุที่ยังมีศักยภาพเข้ามาทำงานทดแทนผู้ที่อยู่ในวัยแรงงาน ดังนั้น ประชากรสูงอายุเหล่านี้นับวันจะมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น และส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และความมั่นคงทางอาหารของไทยในอนาคต</p><p>แนวทางและข้อเสนอแนะในการเสริมสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร คือ ส่วนใหญ่มีการทำการเกษตรแบบพึ่งพาธรรมชาติ และมีปัจจัยเสริมคือ อยู่ใกล้แหล่งน้ำ จึงทำการเพาะปลูกได้ดี แต่ทั้งนี้แรงงานช่วยทำการเกษตร ยังคงต้องจ้างแรงงานจากภายนอกซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างด้าว และแนวทางการปรับตัวของเกษตรกรต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ได้แก่ &nbsp;1) การเช่าพื้นที่เพาะปลูกเพื่อทำการผลิตพืชรายได้เพิ่มขึ้น เกษตรกรที่สามารถเข้าถึงการเช่าที่ดิน ได้เพิ่มพื้นที่ปลูกพืชรายได้พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนการผลิตพืชหลัก &nbsp;2) การทำการเกษตรผสมผสานพืชไร่–ปศุสัตว์ เป็นระบบที่เกษตรกรได้ร่วมกันแสวงหาทางเลือกใหม่ในการสร้างรายได้ ซึ่งเป็นระบบการผลิตที่เกษตรกรมีความรู้และทักษะเป็นอย่างดี และพึ่งพิงกับปัจจัยภายนอกและเทคโนโลยีน้อยที่สุด มีความเสี่ยงน้อยและมีโอกาสสำเร็จสูง และเน้นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด</p> ER -