TY - JOUR AU - แซ่ย่าง, สุทธิภัทร AU - อินทสาร, จีราภรณ์ PY - 2020/12/27 Y2 - 2024/03/29 TI - ผลของวัสดุปรับปรุงดินต่อสมบัติทางกายภาพของดินบางประการใต้ทรงพุ่มมะม่วง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี JF - วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร JA - MJUJN VL - 37 IS - 3 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/248418 SP - 9-17 AB - <p>ศึกษาผลของวัสดุปรับปรุงดินต่อสมบัติทางกายภาพของดินบางประการใต้ทรงพุ่มมะม่วง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มลงในบล็อกอย่างสมบูรณ์ประกอบด้วย 6 ตำรับการทดลอง จำนวน 4 ซ้ำ ดังนี้ 1) ตำรับควบคุม 2) ถ่านชีวภาพ 3) มูลไก่ 4) มูลวัว 5) พัมมิซ และ 6) ทรายหยาบ ในอัตรา 10 กก./ต้น ทุกตำรับทดลอง พบว่าการใส่มูลไก่และมูลวัวที่ระยะเวลา 6 และ 12 เดือน ทำให้ความหนาแน่นรวมของดินลดลงที่ระดับบน (0-15 ซม.) คือ 1.49 และ 1.50 กรัม/ลบ.ซม. ตามลำดับ ในดินระดับล่าง (15-30 ซม.) พบว่าพัมมิซสามารถลดความหนาแน่นรวมเหลือเพียง 1.52 กรัม/ลบ.ซม. หลังจากการใส่ 6 เดือน ขณะที่ถ่านชีวภาพทำให้ความหนาแน่นรวมลดน้อยที่สุดคือ 1.54 กรัม/ลบ.ซม. หลังจากการใส่ 12 เดือน การใช้พัมมิซทำให้ความหนาแน่นอนุภาคน้อยที่สุด ทั้งในดินระดับบนและดินระดับล่างคือ 2.20 และ 2.22 กรัม/ลบ.ซม.ตามลำดับ (P&lt;0.01) หลังจากการใส่ 6 เดือน อย่างไร&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ก็ตาม พบว่าการใส่มูลไก่ 12 เดือน สามารถทำให้ความหนาแน่นอนุภาคในดินระดับบนลดลงได้มากที่สุด และ พัมมิซทำให้ความหนานแน่นอนุภาคในดินระดับล่างลดลงได้มากที่สุด ขณะที่ความพรุนของดินระดับบนและระดับล่างจะเพิ่มขึ้น หลังจากการใส่ถ่านชีวภาพและมูลวัว ที่ระยะ 12 เดือน ตามลำดับ นอกจากนี้มูลวัวยังทำให้ความชื้นของดินเพิ่มสูงขึ้น ทั้งในดินระดับบนและดินระดับล่าง หลังจากการใส่ 6 เดือน อย่างมีนัยสำคัญ (P&lt;0.05) ส่วนการใส่ถ่านชีวภาพทำให้การเพิ่มขึ้นของเม็ดดินสูงขึ้น &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;ทั้งในระยะ 6 และ 12 เดือน คือ 46.7 และ 41.8% ตามลำดับ</p><p>อย่างไรก็ตามจะพบว่าการใส่วัสดุปรับปรุงดิน ทุกชนิดไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนของเนื้อดิน&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ทั้ง 2 ระดับ โดยสามารถสรุปได้ว่า การใช้มูลไก่และพัมมิซสามารถปรับปรุงความหนาแน่นรวม ความหนาแน่นอนุภาค และความพรุนของดินให้ดีขึ้น และการใช้ถ่านชีวภาพมีผลทำให้ความชื้นในดิน และความคงทนเม็ดดินเพิ่มสูงขึ้น</p> ER -