https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/issue/feed วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร 2024-08-25T00:00:00+07:00 นางสาวรัญรณา ขยัน mju_journal@gmaejo.mju.ac.th Open Journal Systems <p>วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร (Journal Of Agricultural Research And Extension) เป็นวารสารทางวิชาการของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการที่เกี่ยวกับวิชาการด้านการเกษตร อาหาร สุขภาพและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนนวัตกรรมด้านการเกษตร และการส่งเสริมวิชาการเกษตร เป็นวารสารราย 4 เดือน กำหนดเผยแพร่ ปีละ 3 ฉบับ ในรูปแบบตีพิมพ์ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2526 (ISSN 0125-8850 : พิมพ์) และได้เผยแพร่ในรูปแบบอิเลคทรอนิกส์ ตั้งแต่ปี พ.ศ . 2562 (E- ISSN 2630-0206 จนถึง ปี พ.ศ. 2565) ปัจจุบันเผยแพร่ในรูปแบบอิเลคทรอนิกส์ (ISSN 2985-0118 (Online)) </p> https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/256844 ผลของแคลเซียมคลอไรด์ต่อการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาในระยะออกดอกถึงติดผลของต้นลำไย 2023-10-19T08:51:55+07:00 วินัย วิริยะอลงกรณ์ naimiat56@gmail.com <p>ลำไยเป็นไม้ผลที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ มีพื้นที่ปลูกแพร่หลายทางภาคเหนือของไทย การออกดอกของลำไยนอกฤดูทำได้โดยการใช้สารโพแทสเซียมคลอเรตราดทางดินหรือพ่นทางใบ สภาวะอุณหภูมิสูงหรือสภาวะแห้งแล้งส่งผลกระทบทางลบต่อการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของลำไย ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาวิธีลดอุณหภูมิของใบลำไยโดยการให้แคลเซียมคลอไรด์ กับลำไยพันธุ์ดอที่ปลูกในกระถางพลาสติกขนาด 14 นิ้ว ภายในโรงเรือนพลาสติก ณ แปลงลำไย สาขาไม้ผล คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ใช้ขุยมะพร้าวผสมกับกาบมะพร้าวเป็นวัสดุปลูก ให้สารละลายธาตุอาหารทางระบบน้ำวันละ 1 ลิตร วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design: CRD) โดยพ่นแคลเซียมคลอไรด์ทางใบความเข้มข้น 0, 0.5, 1, 2, 3, และ 4 mM พบว่าประสิทธิภาพการทำงานของแสงที่สอง (ø<sub>PSII</sub>) และค่าความเขียวของใบ (SPAD values) ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ขณะที่การพ่นแคลเซียมคลอไรด์ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของประสิทธิภาพของการทำงานสูงสุดของแสงที่สอง (Fv/Fm) ในเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม แต่การพ่นแคลเซียมคลอไรด์ทุกความเข้มข้นสามารถรักษาประสิทธิภาพของการทำงานสูงสุดของแสงที่สอง (Fv/Fm) และค่าการนำไหลของปากใบได้ดีกว่าการไม่พ่นสารในเดือนเมษายน นอกจากนี้การพ่นแคลเซียมคลอไรด์ความเข้มข้น 4 mM มีการติดผลมากกว่ากรรมวิธีอื่น ๆ</p> 2024-08-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/260491 ผลของวัสดุเพาะจากเศษเหลือชีวมวลจากอ้อยและข้าวต่อการเจริญเติบโต และปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์ในต้นอ่อนฟ้าทะลายโจร (Andrographis paniculata (Burm. F) Nees) 2023-10-31T14:17:00+07:00 รัชนี พุทธา ratchanee_pt@mju.ac.th เพ็ญนภา ธานะวิโรจน์ pennapanew55@gmail.com ธันยธรณ์ สุมาจิตร Tunyatorn.smc@gmail.com พร้อมพงษ์ ลาหู่นะ davilahuna123@gmail.com รัตติกาล เสนน้อย rattikarn_se@rmutto.ac.th รัตนจิรา รัตนประเสริฐ ruttanajira.ru@rmuti.ac.th <p>ประเทศไทยมีเศษเหลือชีวมวลจากอ้อยและข้าวจำนวนมหาศาล การหาวิธีการใช้ประโยชน์จึงมีความสำคัญ เช่น การนำมาเป็นวัสดุเพาะต้นอ่อนฟ้าทะลายโจร เพื่อให้ได้ปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์สูง และใช้เวลาการผลิตสั้นกว่าการปลูกปกติ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัสดุเพาะจากเศษเหลือชีวมวลจากอ้อยและข้าวต่อการเจริญเติบโต และปริมาณสารแอนโดร กราโฟไลด์ในต้นอ่อนฟ้าทะลายโจร วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) จํานวน 4 ซ้ำ วัสดุเพาะ 3 สูตร ได้แก่ 1) พีทมอส 2) พีทมอส : วัสดุเพาะจากเศษเหลือชีวมวล (50:50) และ 3) พีทมอส: วัสดุเพาะจากเศษเหลือ ชีวมวล (75:25) โดยวัสดุเพาะจากเศษเหลือชีวมวล คือวัสดุเพาะผสมจากใบอ้อย: ฟางข้าว: รําข้าว: น้ำ (1:5:3:1) พบว่าต้นอ่อนฟ้าทะลายโจรที่เพาะในวัสดุเพาะพีทมอสผสมวัสดุเพาะจากเศษเหลือชีวมวล (50:50) มีความยาวลำต้น (7.25 ซม.) และปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์ (3.180 มก./กรัมตัวอย่าง) สูงที่สุด รองลงมาคือ ต้นอ่อนฟ้าทะลายโจรที่เพาะในวัสดุเพาะผสมพีทมอส : วัสดุเพาะจากเศษเหลือชีวมวล (25:75) มีความยาวลำต้น 6.20 ซม. และปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์ 2.733 มก./กรัมตัวอย่าง และต้นอ่อนฟ้าทะลายโจรที่เพาะในพีทมอส ทำให้น้ำหนักสดต้นและรากมากที่สุด มีค่า 29.98 และ 17.28 มก./ต้น ตามลำดับ จากการทดลองนี้สรุปได้ว่าการใช้เศษเหลือชีวมวลจากอ้อยและข้าวช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโต และปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์ในต้นอ่อนฟ้าทะลายโจร และวัสดุเพาะจากพีทมอสผสมวัสดุเพาะจากเศษเหลือชีวมวล อัตราส่วน 50:50 โดยปริมาตร มีศักยภาพในการเพาะต้นอ่อนฟ้าทะลายโจรให้มีปริมาณแอนโดรกราโฟไลด์สูงได้</p> 2024-08-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/260400 การตรวจสอบยีนต้านทานและการประเมินความต้านทานต่อโรคขอบใบแห้ง ในข้าวสายพันธุ์พื้นเมืองที่ปลูกในบางพื้นที่ของภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย 2024-01-02T11:05:24+07:00 วันดี วัฒนชัยยิ่งเจริญ wandeew@nu.ac.th สโรชา ทวาทศปกรณ์ sarochath63@nu.ac.th เดช วัฒนชัยยิ่งเจริญ detw@nu.ac.th สิทธิชัย อุดก่ำ sittichai.u@psru.ac.th <p>ข้าวสายพันธุ์พื้นเมืองมีความหลากหลายทางพันธุกรรมสูง สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม รวมทั้งทนทานต่อโรคที่สำคัญได้ดี โรคขอบใบแห้ง (Bacterial blight disease) เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย <em>Xanthomonas oryzae</em> pv. <em>oryzae</em> (<em>Xoo</em>) และส่งผลกระทบต่อการผลิตข้าวในประเทศไทย การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบยีนต้านทานโรคขอบใบแห้งในข้าวสายพันธุ์พื้นเมืองที่ปลูกในบางพื้นที่ของภาคเหนือตอนล่าง จำนวน 20 สายพันธุ์ โดยใช้ไพร์เมอร์จำเพาะ (<em>xa5</em>, <em>Xa21</em>, <em>Xa33</em>(RMWR 7.1) และ <em>Xa33</em>(RMWR 7.6)) และประเมินระดับความต้านทานต่อเชื้อสาเหตุ <em>Xoo</em> ผลการศึกษาพบว่าข้าวสายพันธุ์พื้นเมือง จำนวน 19 สายพันธุ์ มียีนต้านทานโรคขอบใบแห้ง <em>xa5 </em>ยกเว้นข้าวพิจิตร และเมื่อประเมินระดับความต้านทานต่อเชื้อ <em>Xoo </em>พบว่าข้าวมีระดับความต้านทานตั้งแต่ต้านทานสูง (HR) ไปจนถึงอ่อนแอปานกลาง (MS) ส่วนผลการตรวจสอบยีน <em>Xa21, Xa33</em>(RMWR 7.1) และ <em>Xa33</em>(RMWR 7.6) ให้ผลไปในลักษณะเดียวกัน คือ ข้าวแต่ละสายพันธุ์มีความสามารถในการต้านทานต่อโรคขอบใบแห้งในระดับที่แตกต่างกัน และพบว่าข้าวคัดนาโพธิ์ มีความสามารถในการต้านทานต่อโรคขอบใบแห้งในระดับสูง (HR) ส่วนข้าวหอมครัว ข้าวล้นครก ข้าวทองย้อย ข้าวพุดต่ำ และข้าวพวงกระดาษ มีความต้านทาน (R) ซึ่งข้าวสายพันธุ์เหล่านี้สามารถนำไปเป็นแหล่งเชื้อพันธุ์เพื่อการปรับปรุงพันธ์ข้าวที่ต้านทานต่อโรคขอบใบแห้ง</p> <p> </p> 2024-08-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/260423 ผลของชนิดแมลงอาศัยต่อชีววิทยาของแตนเบียน Microplitis manilae Ashmead (Hymenoptera: Braconidae) 2023-09-15T20:26:46+07:00 ณัฐริกา สีขาว nattrika.se@ku.th เบญจคุณ แสงทองพราว fagrbks@ku.ac.th อัญชนา ท่านเจริญ agrant@ku.ac.th <p>แตนเบียน <em>Microplitis manilae</em> เป็นแตนเบียนภายใน (Endoparasitoid) ที่เบียนหนอนในสกุล <em>Spodoptera</em> ในประเทศไทยพบหนอนกระทู้ 3 ชนิดจำนวนมาก คือ หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด (<em>Spodoptera frugiperda</em>) หนอนกระทู้ผัก (<em>S. litura</em>) และหนอนกระทู้หอม (<em>S. exigua</em>) การควบคุมโดยชีววิธีด้วยการใช้แตนเบียนเป็นทางเลือกหนึ่งที่ถูกนำมาใช้กำจัดแมลงโดยชีววิธีเพื่อลดการใช้สารเคมี งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชีววิทยาของแตนเบียน <em>Microplitis manilae</em> ซึ่งประกอบด้วย ระยะเวลาที่ใช้ในการพัฒนา เปอร์เซ็นต์การเบียน อัตราส่วนเพศ อายุขัย และความดกของไข่ ในแมลงอาศัย 3 ชนิด ได้แก่ หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด <em>S. frugiperda</em> หนอนกระทู้ผัก <em>S.</em> <em>litura</em> และหนอนกระทู้หอม <em>S. exigua</em> ผลการศึกษาพบว่า ชนิดของแมลงอาศัยมีผลต่อชีววิทยาของแตนเบียน <em>M. manilae</em> โดย<em> S. exigua</em> มีผลให้แตนเบียนมีเปอร์เซ็นต์การเบียนสูง (41.66 เปอร์เซ็นต์) อัตราส่วนเพศเมียมากกว่าเพศผู้ (1:0.9) และมีความดกของไข่สูงสุด (16.70 ฟองต่อเพศเมีย 1 ตัว) เหมาะสมที่จะนำไปใช้เป็นแมลงอาศัยในการเพาะเลี้ยงเพิ่มปริมาณในงานการควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธีแบบเพิ่มพูนแผ่ขยาย รองลงมาคือ <em>S. frugiperda</em> ส่วน<em> S.</em> <em>litura</em> ไม่เหมาะที่จะใช้เป็นแมลงอาศัยในการเพาะเลี้ยงเพิ่มปริมาณแตนเบียนชนิดนี้</p> 2024-08-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/255238 การเปลี่ยนแปลงพื้นผิวของคาร์บอนด้วยพลาสมาความดันบรรยากาศ สำหรับการแช่ด้วยน้ำมันหอมระเหยกานพลูเพื่อควบคุมไรศัตรูผึ้ง 2023-11-14T16:10:19+07:00 วีรนันท์ ไชยมณี chveeranan@gmail.com พรพิมล พาซู phonpimon.pazoo@gmail.com ประดุง สวนพุฒิ suanpoot@gmail.com ธรรมนูญ บุญมี thummanoon.bm@gmail.com <p><em>Tropilaelaps</em> เป็นไรศัตรูผึ้งที่มีการแพร่ระบาดในอุตสาหกรรมการเลี้ยงผึ้ง โดยไรชนิดนี้สามารถทำลายตัวอ่อนผึ้ง ทำให้ตัวอ่อนผึ้งตายและอาจส่งผลให้รังผึ้งล่มสลายในที่สุด ซึ่งงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลของพลาสมาความดันบรรยากาศชนิดเจ็ทโดยแก๊สอาร์กอนด้วยแรงดันไฟฟ้าแหล่งจ่าย 4.758 กิโลโวลต์ และความถี่ 829.901 กิโลเฮิร์ต ต่อการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติการ ดูดซับ การระเหย และการปลดปล่อยน้ำมันหอมระเหยกานพลูของคาร์บอน พบว่าคาร์บอนที่ผ่านการฉายพลาสมาที่อัตราไหลของแก๊สอาร์กอนเท่ากับ 1 ลิตร/นาที นาน 60 วินาที มีค่าการดูดซับน้ำมันหอมระเหยกานพลู ได้สูงสุดเท่ากับ 0.0080±0.0003 ไมโครลิตรต่อมิลลิกรัมน้ำหนักแห้งของวัสดุ น้ำมันหอมระเหยมีการปลดปล่อยสูงขึ้นในชั่วโมงที่ 4-8 หลังผ่านพลาสมา และในชั่วโมงที่ 72 คาร์บอนมีการปลดปล่อยอยู่ในช่วง 17.127±2.212 ถึง 21.513±2.330 ไมโครลิตรต่อมิลลิลิตร นอกจากนั้นยังพบว่าอัตราการระเหยของน้ำมันกานพลูบนวัสดุคาร์บอนมีค่าสูงสุดในชั่วโมงที่ 2 ของการทดลอง ซึ่งคาร์บอนที่ไม่ได้ผ่านพลาสมามีอัตราการระเหยสูงสุด เท่ากับ 0.2442±0.0807 ไมโครลิตรต่อกรัมต่อชั่วโมง แต่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มทดลอง จากผลการวิจัยในครั้งนี้จะใช้เป็นแนวทางในการหาสภาวะที่เหมาะสมของพลาสมาในการเพิ่มประสิทธิภาพของวัสดุตัวกลางในการดูดซับและปลดปล่อยน้ำมันหอมระเหยเพื่อใช้ในการควบคุมไรผึ้งได้</p> 2024-08-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/259981 การใช้พรีไบโอติกส์ในปลานิล 2023-10-10T14:26:34+07:00 ชนกันต์ จิตมนัส chanagun1@hotmail.com อรอนงค์ ทับทิม chanagun1@hotmail.com วันอาสาฬ์ นนกระโทก chanagun1@hotmail.com <p>การใช้พรีไบโอติกส์ (Prebiotics) ซึ่งเป็นสารอาหารที่ไม่สามารถย่อยได้โดยสัตว์หรือเจ้าบ้าน (Host) แต่มีประโยชน์ต่อจุลินทรีย์ในทางเดินอาหาร เมื่อผสมในอาหารปลานิลส่งผลดีต่อการเจริญเติบโต ภูมิคุ้มกัน และอัตรารอดต่อสัตว์น้ำ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวม เรียบเรียงและสังเคราะห์องค์ความรู้จากงานวิจัย เกี่ยวกับการใช้พรีไบโอติกส์ในการเลี้ยงปลานิล โดยพรีไบโอติกส์ที่นิยมใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ได้แก่ เบต้ากลูแคน (β-glucan) อินนูลิน (Inulin) แมนแนน โอลิโกแซคคาไรด์ (Mannan oligosaccharide, MOS) กาแลตโตโอลิโกแซคคาไรด์ (Galactooligosaccharide, GOS) ฟรุกโตโอลิโกแซค คาไรด์ (Fructooligosaccharides, FOS) และไคโตโอลิโกแซคคาไรด์ (Chitooligosaccharide, COS) การใช้พรีไบโอติกส์จะเพิ่มประสิทธิภาพการย่อยอาหาร การ ใช้อาหาร ทำให้สามารถเร่งการเจริญเติบโต เสริมภูมิคุ้มกัน ความต้านทานโรคและเพิ่มอัตรารอดของปลานิล ซึ่งความแตกต่างของผลที่ได้ขึ้นอยู่กับชนิด ปริมาณ ระยะเวลาที่ใช้ ขนาดของปลา และระบบการทดลอง ปัจจุบันมีการใช้พรีไบโอติกส์ร่วมกันหลายชนิดและใช้ร่วมกับสารกระตุ้นภูมิคุ้มกันชนิดอื่น ๆ โดยการใช้สารกระตุ้นภูมิคุ้มกันจะช่วยลดการใช้ยาปฏิชีวนะและสารเคมีในการเลี้ยงปลา อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้ควรคำนึงถึงต้นทุนและผลตอบแทนของการใช้พรีไบโอติกส์</p> 2024-08-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/258544 คุณสมบัติของแบคทีเรียที่คัดแยกได้จากน้ำในบ่อเลี้ยงปลา เพื่อใช้เป็นโพรไบโอติกในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 2023-10-20T11:31:28+07:00 อรทัย แดงสวัสดิ์ ottdsw27@gmail.com สมพงษ์ สุขขาวงษ์ pongsukhawong358@gmail.com วราภรณ์ สีหาโมก 6540620103@psu.ac.th เกศกนก พงษ์พิชิต 6440610104@psu.ac.th อภิสิทธิ์ โสภาส 6440610123@psu.ac.th กมลรัตน์ บุญบางขันธ์ 6440610102@psu.ac.th พัทธพล พรหมภักดี pattapon.p@psu.ac.th ปฏิมา เพิ่มพูนพัฒนา patima.pe@psu.ac.th <p>การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกแบคทีเรียโพรไบโอติกที่มีศักยภาพจากน้ำในบ่อเลี้ยงปลา เพื่อประยุกต์ใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จากการคัดแยกพบว่ามีแบคทีเรียจำนวน 3 ไอโซเลต ที่เป็นแบคทีเรียในกลุ่มของ <em>Bacillus</em> sp. ได้แก่ ไอโซเลต KP1, KP4 และ KP5 โดยทุกไอโซเลตมีประสิทธิภาพการสร้างสปอร์สูง บนอาหาร DSM คือ 98.98, 94.99 และ 94.45 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ประสิทธิภาพการสร้างสปอร์ในอาหาร LB คือ 98.92, 97.79 และ 99.30 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ทั้ง 3 ไอโซเลตสามารถทนต่อกรดในกระเพาะอาหารที่ pH 1.0-3.0 และเกลือน้ำดีความเข้มข้น 0.5-5.0 เปอร์เซ็นต์ ได้นาน 3 ชั่วโมง โดยมีอัตราการรอดชีวิตสูงกว่า 72 เปอร์เซ็นต์ และมีความไวต่อสารปฏิชีวนะ KP1 และ KP4 มีประสิทฺธิภาพยับยั้งการสร้างไบโอฟิล์มของ <em>Staphylococcus aureus, Escherichia coli </em>และ <em>Vibrio parahaemolyticus </em>ส่วน KP5 มีประสิทฺธิภาพยับยั้งการสร้างไบโอฟิล์มของ <em>Staphylococcus aureus </em>และ <em>Escherichia coli </em>ทุกไอโซเลตสามารถทนต่อความเค็มที่ใกล้เคียงกับสภาวะของน้ำเลี้ยงที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้ดี โดยมีอัตราการรอดชีวิตสูงกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ การทดลองนี้แสดงให้ว่า KP1, KP4 และ KP5 มีศักยภาพเป็นโพรไบโอติก เพื่อการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างยั่งยืนต่อไป</p> 2024-08-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/260367 การศึกษาเปรียบเทียบกระบวนการสกัดน้ำมันจากเนื้อในเมล็ดมะม่วงดอง 2023-10-18T10:04:39+07:00 พิชญอร ไหมสุทธิสกุล pitchaon_mai@utcc.ac.th วิชมณี ยืนยงพุทธกาล puttakal2@yahoo.com เสาวนีย์ เอี้ยวสกุลรัตน์ souwanee_ioew@utcc.ac.th <p>เมล็ดมะม่วงดองเป็นของเสียตลอดทั้งปีที่ส่งผลกระทบสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการสกัดที่เหมาะสมของน้ำมันเมล็ดมะม่วง (<em>Mangifera indica</em> L.) ดอง (Pickled mango kernel oil, PMKO) โดยใช้วิธีสกัดแบบ Soxhlet (SE) และวิธีสกัดเย็น (CPE) เพื่อนำไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้ น้ำมันที่สกัดได้ถูกนำมาวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพ (อัตราส่วนการสกัด ความหนืด สี จุดหลอมเหลว และดัชนีการหักเหของแสง) และสมบัติทางเคมี (ค่าเปอร์ออกไซด์ ค่ากรด ค่าซาพอนิฟิเคชัน สารที่ไม่สามารถละลายน้ำได้ ค่าไอโอดีน TBARs รวมถึงฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ต้านการอักเสบ) ผลการวิจัยพบว่า อัตราส่วนการสกัดและความหนืดของ PMKO ที่ได้จากวิธี CPE สูงกว่าของ SE น้ำมันที่สกัดได้จาก CPE มีสีน้ำตาลอมเหลืองอ่อน ค่าเปอร์ออกไซด์ต่ำ (1.93±0.06 meq peroxide/kg oil) ค่ากรดสูงเล็กน้อย (14.44±0.10 mg KOH/g oil) และเป็นของเหลวที่อุณหภูมิ 25°ซ. สมบัติต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบจาก PMKO แบบ CPE นั้นดีกว่าแบบ SE กิจกรรมต้านอนุมูลอิสระและ ต้านการอักเสบของ PMKO แบบ CPE เท่ากับ 71.87±1.09% (ยับยั้งที่ 50 mg) และ 81.47±0.98% (ยับยั้งที่ 100 mg) ตามลำดับ จากผลการวิจัยบ่งชี้ว่าเมล็ดมะม่วงดองเป็นแหล่งน้ำมันพืชที่ดี โดยการสกัดเย็นเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่าในการได้น้ำมันจากเมล็ดมะม่วงดอง</p> 2024-08-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/254960 คุณสมบัติทางเคมีกายภาพ และปริมาณกลูโคแมนแนนของผงบุกจากหัวบุกพันธุ์เนื้อทราย (Amorphophallus muelleri) ที่ใช้วิธีการทำแห้งและวิธีการสกัดแตกต่างกัน 2023-05-22T14:32:27+07:00 ภัทราภรณ์ ศรีสมรรถการ patr99@hotmail.com สุภาวดี แช่ม patr99@hotmail.com <p>หัวบุกพันธุ์เนื้อทรายประกอบด้วยกลูโคแมนแนน ซึ่งเป็นสารไฮโดรคอลลอยด์ที่ทำให้เกิดความข้นหนืดและทำให้เกิดเจลได้ กลูโคแมนแนนเป็นเส้นใยอาหารที่ไม่ให้พลังงาน จึงใช้เป็นสารเพิ่มความข้นหนืดและใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพ-เคมี และปริมาณสารกลูโคแมนแนนสูงของผงบุกที่ได้จากบุกแห้งที่ใช้วิธีการทำแห้ง ได้แก่ ใช้ตู้อบลมร้อนที่ 60<u>+</u>2<sup>o</sup>ซ. และตู้อบแสงอาทิตย์ และวิธีการสกัดผงบุก ได้แก่ การขัดอนุภาคเชิงกล; KPM และการสกัดด้วยสารละลายเอทานอล; KPE ที่แตกต่างกัน ผลการศึกษาพบว่า ผงบุกที่สกัดด้วยเอทานอลจากบุก อบแห้งด้วยตู้อบลมร้อน; KPETD มีปริมาณกลูโคแมนแนน สูงที่สุด โดยมีปริมาณร้อยละ 87.46±0.77 ซึ่งไม่แตกต่างจากผงบุกการค้าที่มีอยู่ร้อยละ 85 ผงบุกมีปริมาณความชื้น ค่า pH ค่าสีแดง (a*) และสีเหลือง (b*) ระดับสูงและมีค่าความสว่างสี (L*) ระดับปานกลาง อีกทั้งมีค่าความหนืดที่จุดสูงสุดและความหนืดสุดท้ายสูงกว่าตัวอย่างอื่น ๆ ผงบุกที่สกัดโดยการขัดอนุภาคเชิงกลจากบุกอบแห้งด้วยตู้อบลมร้อน; KPMTD มีค่า L* และปริมาณออกซาเลทสูงสุด แต่มีค่า a* และ b* ต่ำสุด ผงบุกที่สกัดโดยวิธีขัดอนุภาคเชิงกลจากบุกอบแห้งด้วยตู้อบแสงอาทิตย์; KPMSD มีปริมาณกลูโคแมนแนนและความหนืดสุดท้ายต่ำสุด ส่วนผงบุกสกัดด้วยเอทานอลจากบุกอบแห้งด้วยตู้อบแสงอาทิตย์; KPESD มีค่าสี b* และความหนืดสูงสุดระดับสูง แต่มีปริมาณความชื้นและออกซาเลทต่ำสุด โดยผลการวิจัยพบว่าผงบุกทุกตัวอย่างที่ศึกษามีค่าความหนืดสูงสุดมากกว่าผงบุกการค้าที่นำมาเปรียบเทียบ</p> 2024-08-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/256362 ผลของสารละลายโซเดียมไบคาร์บอเนตและไคโตแซนต่อการเกิดสีน้ำตาล และการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียในมะเขือเปราะตัดแต่งพร้อมปรุง 2023-08-08T15:18:19+07:00 พรมงคล จิระกิตติดุลย์ phonmongkol@gmail.com ผ่องเพ็ญ จิตอารีย์รัตน์ pongphen.jit@kmutt.ac.th กัลยา ศรีพงษ์ kanlaya.sripong@hotmail.com อภิรดี อุทัยรัตนกิจ apiradee.uth@kmutt.ac.th <p>ปัจจุบันความต้องการบริโภคผักผลไม้ตัดแต่งพร้อมปรุงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากช่วยอำนวยความสะดวกและลดเวลาในการประกอบอาหาร ปัญหาของมะเขือเปราะตัดแต่ง คือ การเกิดสีน้ำตาลบริเวณรอยตัดและการปนเปื้อนจากเชื้อจุลินทรีย์ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อชะลอการเกิดสีน้ำตาลและลดการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ในมะเขือเปราะตัดแต่งพร้อมปรุง นำมะเขือเปราะล้างด้วยน้ำประปาและตัดออกเป็น 4 ชิ้น นำมาจุ่มในสารละลายโซเดียมไบคาร์บอเนต )Sodium bicarbonate, SBC) 0.5% และไคโตแซน1 % เปรียบเทียบการจุ่มในน้ำกลั่น (ชุดควบคุม) เก็บรักษา ที่ 4°ซ. นาน 6 วัน พบว่าสารละลาย SBC สามารถชะลอการเกิดสีน้ำตาลได้ดีเมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม โดยบริเวณรอยตัดมีค่า L* (ความสว่าง) สูง มีค่า a* (สีเขียว-แดง) และค่าดัชนีการเกิดสีน้ำตาลต่ำกว่าชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ไคโตแซนมีผลเร่งการเกิดสีน้ำตาล การสะสมปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมด และอัตราการหายใจ นอกจากนี้การใช้ SBC และไคโตแซนมีผล ช่วยลดการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียทั้งหมดและไม่มีผลกระทบต่อการสูญเสียน้ำหนักสดและความแน่นเนื้อ ในระหว่างการเก็บรักษา ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าการใช้สารละลาย 0.5% SBC มีศักยภาพลดการเกิดสีน้ำตาลและการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ในมะเขือเปราะตัดแต่งพร้อมปรุงได้</p> 2024-08-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/255994 การศึกษาคุณสมบัติของน้ำโปรตีนถั่วเขียว 2023-01-06T09:23:59+07:00 นิภัชราพร สภาพพร nipatchkk@kpru.ac.th ปรัชญา ชะอุ่มผล pratya_c@kpru.ac.th <p>การศึกษาคุณสมบัติของน้ำโปรตีนถั่วเขียวซึ่งเป็นของเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตวุ้นเส้น เป็นส่วนที่ได้หลังจากขั้นตอนการสกัดแป้งถั่วเขียว ของเหลือทิ้งนี้ถูกนำมาทำให้เป็นผงแห้งโดยวิธีการแช่เยือกแข็ง (Freeze drying) จากนั้นตัวอย่างผงแห้งถูกนำมาวิเคราะห์ปริมาณสารอาหารและกรดอะมิโน พบว่าอุดมไปด้วยสารอาหารมากมาย ส่วนใหญ่เป็นโปรตีนเท่ากับ 62.05 g/100g มีกรดอะมิโนจำเป็นปริมาณมาก เช่น ไลซีน ฟีนิลอะลานีน และลิวซีน อยางไรก็ตามโปรตีนถั่วเขียวพบปนเปื้อนจุลินทรีย์ในปริมาณมาก จึงนำผงโปรตีนไปฉายรังสี เพื่อลดปริมาณจุลินทรีย์ปนเปื้อน และทำการวิเคราะห์ค่าปริมาณจุลินทรีย์ปนเปื้อนอีกครั้ง หลังการฉายรังสีพบปริมาณจุลินทรีย์ลดลงอยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ทำการระบุชื่อเชื้อจุลินทรีย์ที่พบด้วยวิธีทางชีวโมเลกุล พบว่าไม่มีเชื้อก่อโรค</p> 2024-08-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/259587 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบมันสำปะหลังพร้อมรับประทานด้วยวิธีไมโครเวฟ 2023-09-01T10:50:00+07:00 วงศ์ผกา วงศ์รัตน์ fengwkw@ku.ac.th กมลพร มีหนองใหญ่ kamolpron.m@ku.th ชนิตา ประสิทธิ์กาญจน์ chanita.pras@ku.th ณัฐริกา สัปคง nattarika.sup@ku.th สยุมพร รัตนพันธ์ fengsypr@ku.ac.th <p>ข้าวเกรียบมันสำปะหลังกึ่งสำเร็จรูปเมื่อได้รับความร้อนเพียงพอจะทำให้น้ำในข้าวเกรียบเดือดเกิดความดันสะสมจนผิวของข้าวเกรียบกึ่งสำเร็จรูปไม่สามารถรับแรงดันได้ เกิดการพองตัวซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของข้าวเกรียบมันสำปะหลัง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบมันสำปะหลังพร้อมรับประทานด้วยวิธีไมโครเวฟ แทนวิธีการทอดในน้ำมันท่วมแบบดั้งเดิม ทำให้ไม่ต้องใช้น้ำมันเป็นตัวกลางให้ความร้อน โดยงานวิจัยนี้ทำการศึกษาใน 3 ประเด็นหลัก คือ 1) ผลของความชื้นของข้าวเกรียบกึ่งสำเร็จรูปต่อการพองตัวของข้าวเกรียบ 2) ผลของวิธีการ ให้ความร้อนแบบต่อเนื่องและไม่ต่อเนื่องต่อการพองตัวของข้าวเกรียบกึ่งสำเร็จรูปในบรรจุภัณฑ์กระดาษคราฟท์ และ 3) ศึกษาผลของขนาดและรูปร่างของบรรจุภัณฑ์ต่อการพองตัวของข้าวเกรียบมันสำปะหลังพร้อมรับประทาน</p> <p>ผลการศึกษาพบว่าความชื้นของข้าวเกรียบกึ่งสำเร็จรูปที่ทำให้ข้าวเกรียบพองตัวมากที่สุด คือ 9.08% (ฐานเปียก) ข้าวเกรียบมีการพองตัว 852% วิธีการอบพองข้าวเกรียบกึ่งสำเร็จรูปจำนวน 15 ชิ้นที่เหมาะสมที่สุดในบรรจุภัณฑ์กระดาษคราฟท์ที่มีปริมาตร 1,646.88 ลบ.ซม. คือ การให้ความร้อนที่กำลังไมโครเวฟ 800 วัตต์แบบไม่ต่อเนื่องโดยแบ่งเป็นสองช่วง ช่วงแรกเป็นการให้ความร้อนในเตาอบไมโครเวฟ 40 วินาที ตามด้วยการนำถุงบรรจุภัณฑ์ออกมาเขย่าประมาณ 5 วินาที แล้วนำถุงบรรจุภัณฑ์ไปให้ความร้อนต่อในเตาอบไมโครเวฟช่วงที่สอง 25 วินาที จากผลการศึกษายังพบว่าขนาดและรูปร่างของบรรจุภัณฑ์มีผลต่อการพองตัวของข้าวเกรียบมันสำปะหลังพร้อมรับประทาน สำหรับวิธีการให้ความร้อนแบบไม่ต่อเนื่อง</p> 2024-08-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/259126 การใช้ข้อมูลการรับรู้ระยะไกลเพื่อศึกษาสมบัติบางประการของดินในพื้นที่เสี่ยง การเป็นดินกรดและดินเค็มภาคกลางของประเทศไทย 2023-09-13T10:38:25+07:00 ทศนัศว์ รัตนแก้ว totsanat@yahoo.com <p>การศึกษาสมบัติดินแบบดั้งเดิม ได้แก่ การเก็บตัวอย่างดิน และการวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ ต้องใช้แรงงานและค่าใช้จ่ายสูง รวมทั้งใช้ระยะเวลาในการวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการนาน ข้อมูลรับรู้ระยะไกลซึ่งอาศัยการบันทึกค่าพลังงานสะท้อนกลับที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงคลื่น ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตและสุขภาพของพืช การหาความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติเคมีดินกับค่าการสะท้อนแสงของพืชที่มีสุขภาพต่างกันในพื้นที่ที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่างกันและสร้างเป็นสมการทางคณิตศาสตร์ เพื่อประมาณค่าความสมบูรณ์ของดินในพื้นที่ข้างเคียง ซึ่งช่วยลดแรงงาน ค่าใช้จ่าย และลดระยะเวลาในการดำเนินงาน การศึกษานี้ได้ศึกษาศักยภาพของข้อมูลภาพดาวเทียม Sentinel 2 โดยการคำนวณค่าดัชนีพืชพรรณ 3 ชนิด ได้แก่ ดัชนี Normalized Difference Vegetation Index (NDVI) ดัชนี Green Normalized Difference Vegetation Index (GNDVI) และดัชนี Normalized Difference Infrared Index (NDII) แล้วหาความสัมพันธ์กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ได้แก่ ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง ค่าการนำไฟฟ้า และปริมาณอินทรียวัตถุในดิน ในอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดดินเค็ม อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม และอำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก ซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดดินกรด ผลการศึกษาพบว่า ความอุดมสมบูรณ์ของดินมีความสัมพันธ์กับประเภทการใช้ที่ดินและชุดดิน และมีความสัมพันธ์กับค่าดัชนีพืชพรรณที่คำนวณจากข้อมูลภาพดาวเทียม Sentinel 2โดยค่า NDVI ในเดือนมีนาคม ที่มีความสัมพันธ์แบบ Logarithmic มีศักยภาพสูงที่สุดในการสร้างสมการทางคณิตศาสตร์เพื่อใช้เป็นแบบจำลองเพื่อประมาณค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน ค่า GNDVI ในเดือนธันวาคม ที่มีความสัมพันธ์แบบ Exponential มีศักยภาพสูงที่สุด ในการสร้างสมการทางคณิตศาสตร์เพื่อใช้เป็นแบบจำลองเพื่อประมาณค่าการนำไฟฟ้าของดิน ขณะที่ปริมาณอินทรียวัตถุ ค่าดัชนีพืชพรรณทั้ง 3 ชนิด มีศักยภาพในการสร้างสมการทางคณิตศาสตร์เพื่อใช้เป็นแบบจำลองต่ำมาก</p> 2024-08-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/259493 การศึกษาการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชนิดป่าของประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2561–2562 ด้วยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศศาสตร์ 2024-01-05T08:52:18+07:00 จุฑามาศ ศรีคงรักษ์ jutamad.sr@ku.th วีระภาส คุณรัตนสิริ weeraphart.k@ku.th วิษณุ ดำรงสัจจ์ศิริ vdomrong@gmail.com นภาพร เค้ามิม napa.kaomim@gmail.com <p>ลักษณะพื้นที่ป่าไม้เป็นรูปแบบหนึ่งที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง และลักษณะทางสังคมพืชที่แตกต่างกันส่งผลให้โครงสร้างของแต่ละชนิดป่ามีความแตกต่างกัน การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดทำข้อมูลชนิดป่าของประเทศไทยโดยใช้ข้อมูลภาพดาวเทียม และเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ในแต่ละชนิดป่าของประเทศไทย และวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชนิดป่าของประเทศไทย 2 ช่วงเวลา โดยใช้เทคนิคการซ้อนทับข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ชนิดป่าที่มีพื้นที่เพิ่มขึ้น ระหว่างปี พ.ศ. 2561–2562 ประกอบด้วย ป่าชายเลน ป่าที่ฟื้นฟูตามธรรมชาติ ป่าพรุ สวนป่าสัก ป่าทุ่ง และป่าชายหาด คิดเป็นพื้นที่รวมเท่ากับ 73,826.75 ไร่ และชนิดป่าที่มีพื้นที่ลดลง ประกอบด้วย ป่าดิบเขา ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง ป่าดิบชื้น ป่าไผ่ ป่าบึงน้ำจืด ป่าสนเขา สังคมพืชลานหิน และสวนป่าชนิดอื่นที่นอกเหนือจาก สวนป่าสัก คิดเป็นพื้นที่รวมเท่ากับ 78,056.23 ไร่ โดยพื้นที่ป่าไม้ที่เปลี่ยนแปลงเป็นการใช้ประโยชน์ประเภทอื่น ๆ เท่ากับ 4,229.48 ไร่ และชนิดป่าที่มีการลดลงมากที่สุด คือ ป่าเบญจพรรณในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งการทราบขอบเขตของแต่ละชนิดป่าที่ชัดเจน จะสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่าไม้แต่ละชนิดจะส่งผลโดยตรงต่อค่าผลลัพธ์การคำนวณการกักเก็บคาร์บอนและปริมาณมวลชีวภาพในระดับประเทศอีกด้วย</p> 2024-08-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/258547 ประสิทธิภาพและความพึงพอใจต่อถังหมักปุ๋ยครัวเรือนขนาดเล็ก สำหรับขยะอินทรีย์และเศษอาหาร 2023-09-26T10:01:18+07:00 ศิราภรณ์ ชื่นบาล siraporn@mju.ac.th ฐปน ชื่นบาล tapana@mju.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาถังหมักปุ๋ยครัวเรือนขนาดเล็กสำหรับขยะอินทรีย์และเศษอาหาร และเพื่อศึกษาประสิทธิภาพของถังหมักและความพึงพอใจของผู้ใช้งานถังหมัก การศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ชุดการทดลอง ได้แก่ T1) ถังหมักแบบไม่มีท่อระบายอากาศเป็นแกนกลาง T2) ถังหมักแบบมีท่อระบายอากาศเป็นแกนกลาง และ T3) ถังหมักแบบมีท่อระบายอากาศเป็นแกนกลางและหัวเชื้อจุลินทรีย์ 10% โดยวัสดุหมัก ได้แก่ เศษผัก เศษผลไม้ ข้าว และใบไม้แห้ง ในอัตราส่วน 1:1:1:1 โดยน้ำหนัก มีค่า C/N เริ่มต้นที่ 48 ใส่วัสดุหมักจำนวน 1 กิโลกรัม อย่างต่อเนื่อง เป็นระยะเวลา 15 วัน ปล่อยหมักทิ้งไว้ 15 วัน และทำซ้ำเช่นเดิมอีกครั้ง ผลการทดลองพบว่าอุณหภูมิในถังหมักทั้ง 3 ชุดการทดลองไม่แตกต่างกัน ในขณะที่ค่า pH และ EC มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% หลังสิ้นสุดการทดลอง พบว่าคุณสมบัติของวัสดุปรับปรุงดินที่ได้นั้น T3 มีคุณสมบัติที่ดีกว่าในชุดการทดลองอื่น ๆ โดยพบว่ามีค่า pH EC และ C/N ที่ 7.2, 1.2260 dS/CM และ 18 ตามลำดับ นอกจากนี้น้ำหมักมีปริมาณกรดฮิวมิค 1.1% เมื่อนำชุดการทดลอง T3 ซึ่งประกอบด้วยถังหมักแบบมีท่อระบายอากาศเป็นแกนกลางและเชื้อจุลินทรีย์ที่ถูกตรึง 10% ไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 10 ครัวเรือน หลังจาก 2 เดือนของการใช้ ผู้ใช้งานประเมินความพึงพอใจผ่านแบบสอบถาม พบว่ามีระดับความพึงพอใจของการใช้ถังหมักปุ๋ยโดยรวมอยู่ที่ 4.5±0.8</p> 2024-08-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/257120 ประสิทธิภาพเชิงเทคนิคการผลิตข้าวของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่เป็นสมาชิกและที่ไม่ใช่สมาชิก กลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 2023-04-25T14:45:03+07:00 อารีย์ เชื้อเมืองพาน areemju@gmail.com มนตรี สิงหะวาระ montri_sh@mju.ac.th อัศวิน เผ่าอำนวยวิทย์ areech@gmaejo.mju.ac.th <p>ประสิทธิภาพเชิงเทคนิคการผลิตข้าวของเกษตรกรที่เป็นสมาชิกกลุ่มนาแปลงใหญ่และเกษตรกรที่ไม่ใช่สมาชิก โดยใช้แบบจำลอง Data Envelopment Analysis (DEA) ด้วยปัจจัยด้านผลผลิต 1 ตัวแปร และปัจจัยการผลิต 8 ตัวแปร แบ่งระดับประสิทธิภาพออกเป็น 5 ระดับ (น้อยที่สุด – มากที่สุด) ผลการศึกษาพบว่า ผลได้ต่อขนาด (Economy of scale) ทั้งสองกลุ่มอยู่ในระยะผลได้ต่อขนาดลดลง โดยเกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่เป็นสมาชิกกลุ่มนาแปลงใหญ่มีประสิทธิภาพการผลิตสูงกว่าเกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ไม่ใช่สมาชิกเล็กน้อย (0.9213 &gt; 0.9065) ซึ่งเกษตรกรทั้งสองกลุ่มส่วนใหญ่มีประสิทธิภาพระดับมากที่สุด แต่การปลูกข้าวทั้งสองกลุ่มควรปรับลดปริมาณการใช้ปัจจัยการผลิต ได้แก่ จำนวนแรงงานคนในการผลิตและเงินลงทุนทางการเกษตร</p> 2024-08-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/259371 ข้าวเหนียวเดอกริล: การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนข้าวอินทรีย์ในยุคดิจิทัล 2023-09-25T11:16:13+07:00 ธัญลักษณ์ เมืองโคตร tunyalak.m@ku.th เปรมฤดี จิตรเกื้อกูล premrudee.ch@ku.th ศิรินนา คำทะเนตร sirinna.kh@ku.th บุษกร ครจำนงค์ butsakorn.k@ku.th พัชราภรณ์ ถิ่นจันทร์ patcharaporn.tin@ku.th ตติยาภรณ์ ศิริศักดากุล best.tati@hotmail.com กุลวดี แก้วก่า kunwadee.ka@ku.th พัดชา เศรษฐากา patcha.sat@ku.th รุ่งทวี ผดากาล rungtawee.pad@ku.th มยูรกาญจน์ เดชกุญชร mayoonkarn.d@ku.th <p>การศึกษานี้มีเป้าหมายในการเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการข้าวอินทรีย์ ด้วยกระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วมกับวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวอินทรีย์กลุ่ม “ดาวล้อมเดือน” ในจังหวัดสกลนคร จำนวน 50 ราย ผ่านกระบวนการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการโดยใช้การฝึกอบรม การสาธิต การศึกษาดูงาน และการใช้เอกสารคู่มือ เพื่อยกระดับความเป็นผู้ประกอบการใน 4 หลักสูตร ได้แก่ การผลิตข้าวอินทรีย์ต้นทุนต่ำ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวเหนียว การตลาดดิจิทัล และการดำเนินชีวิตตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ผู้ประกอบการได้รับการติดตามและให้คำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิด ให้สามารถผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์ สร้างงานสร้างรายได้ และสร้างระบบการบริหารจัดการให้ผู้ประกอบการสามารถผลิตและจำหน่าย ซีเรียลบาร์ข้าว (ธัญพืชชนิดแท่ง) ข้าวเกรียบว่าวธัญพืช และข้าวต้มมัดญวน ในตลาดทั้งออนไลน์และออฟไลน์ได้ อีกทั้งผู้ประกอบการได้รับคำปรึกษาเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิม ให้สามารถจำหน่ายในตลาดมากขึ้น ได้แก่ ข้าวฮาง ข้าวเหนียวอินทรีย์ ข้าวหอมมะลิอินทรีย์ ผลการดำเนินงานพบว่า หลังการถ่ายทอดความรู้กลุ่มเป้าหมายทั้งหมด มีความรู้ความสามารถเพื่อเป็นผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น เกิดผลิตภัณฑ์แปรรูปเพื่อเพิ่มรายได้หลังฤดูกาลทำนา และสมาชิกมีรายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้น จากรายได้เฉลี่ย 2,368 บาท/คน/เดือน เพิ่มขึ้น 2,818 บาท/คน/เดือน รายได้เพิ่มขึ้น 450 บาท/คน/เดือน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 19</p> 2024-08-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/258739 การออกแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ปลาซิวแก้วอบแห้งสำหรับวิสาหกิจชุมชน กลุ่มผู้ผลิตปลาซิวแก้วเพื่อจำหน่าย จังหวัดอุบลราชธานี 2023-07-10T11:02:54+07:00 กิตธวัช บุญทวี thingkin@hotmail.com รัชดา อุยยืนยงค์ ratchada_auy@hotmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อออกแบบตราสินค้าและออกแบบบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ปลาซิวแก้วอบแห้งที่ผลิตโดยวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ผลิตปลาซิวแก้วเพื่อจำหน่าย จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลิตภัณฑ์ปลาซิวแก้วอบแห้ง และต้นทุนการผลิตของผลิตภัณฑ์ปลาซิวแก้วอบแห้ง โดยทำการออกแบบตราสินค้า จำนวน 3 รูปแบบ และออกแบบบรรจุภัณฑ์ โดยสี กราฟิก และข้อมูลคุณค่าทางโภชนาการของผลิตภัณฑ์ที่วิเคราะห์ได้ จัดทำรูปแบบฉลากโภชนาการแบบเต็ม และฉลากโภชนาการแบบจีดีเอ ลงบนบรรจุภัณฑ์ จำนวน 3 รูปแบบ โดยการสอบถามความพึงพอใจของผู้บริโภคทั่วไป จำนวน 100 คน จากการสุ่มโดยบังเอิญ ผลการวิจัยพบว่าตราสินค้ารูปแบบ ที่ 2 สมาชิกวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ผลิตปลาซิวแก้วเพื่อจำหน่าย เห็นว่าสามารถสื่อถึงเรื่องราวและอัตลักษณ์ของกลุ่มได้ดีที่สุด สำหรับรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ พบว่ารูปแบบที่ 1 ได้รับคะแนนความพึงพอใจมากที่สุด 4.26±0.77 โดยเป็นถุงอะลูมิเนียมฟอยล์ ขนาด 16X24 ซม. ปริมาณบรรจุปลาซิวแก้วอบแห้งสุทธิ 150 กรัม/ถุง ผลการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ เพื่อกำหนดในฉลากโภชนาการ พบว่าผลิตภัณฑ์ปลาซิวแก้วอบแห้ง ในส่วนที่รับประทานได้ 100 กรัม มีปริมาณแคลเซียม 1,941.170 มิลลิกรัม คิดเป็นร้อยละ 60 ของ Thai RDI การวิเคราะห์สารปนเปื้อนพบว่า ตรวจไม่พบแคดเมียม ปรอท และสารหนู และพบตะกั่วมีปริมาณ 0.072 มิลลิกรัม/กิโลกรัม โดยมีปริมาณน้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนดตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (TISI 6/2006) ต้นทุนการ ผลิตของผลิตภัณฑ์ปลาซิวแก้วอบแห้งอยู่ที่ 31 บาทต่อถุง และเมื่อทำการเจาะช่องใสบนถุงทำให้มองเห็นสินค้าภายในของบรรจุภัณฑ์ ทำให้ได้รับคะแนนความพึงพอใจเพิ่มขึ้นเป็น 4.80±0.31</p> 2024-08-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/259328 ความพึงพอใจของผู้ประกอบการต่อบัณฑิตของสาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก 2023-06-08T14:50:45+07:00 กฤษฎา เจริญมูล kridsadakub@gmail.com กมลมนัส วัฒนา Kamolmanus_wa@rmutto.ac.th พัชรา บำรุง Patchara_ba@rmutto.ac.th <p>คุณลักษณะของบัณฑิตที่สถานประกอบการพึงพอใจนั้นเป็นประเด็นที่มหาวิทยาลัยควรให้ความสำคัญ เพื่อเป็นการบ่มเพาะนักศึกษาให้สำเร็จการศึกษาไปเป็นบัณฑิตที่สถานประกอบการต้องการ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นไปที่การศึกษาความพึงพอใจ และเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ประกอบการต่อบัณฑิตที่มีลักษณะแตกต่างกันบางประการ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากตัวแทนสถานประกอบการหรือนายจ้างของบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก จำนวน 117 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การทดสอบ t-test และ F-test เพื่อศึกษาเปรียบเทียบข้อมูลที่จำแนกออกเป็น 2 กลุ่ม และมากกว่า 2 กลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบการเป็นเพศชาย (ร้อยละ 53.00) และหญิง (ร้อยละ 47.00) ในสัดส่วนใกล้เคียงกัน โดยสามในสี่ (ร้อยละ 75.20) เป็นหน่วยงานเอกชน มากกว่าครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 53.80) เป็นเจ้าของกิจการ และทำงานร่วมกับบัณฑิตมา 6 เดือน ถึง 1 ปี (ร้อยละ 54.70) ผู้ประกอบการมีความพึงพอใจต่อบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตรในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> =4.32) โดยเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านทักษะการมีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ อยู่ในระดับสูงที่สุด ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> =4.58) ในขณะที่ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอยู่ในระดับต่ำที่สุด ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />=3.97) อย่างไรก็ตามจากการศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างพบว่า ผู้ประกอบการที่มีเพศแตกต่างกัน จะมีความพึงพอใจต่อบัณฑิตด้านคุณธรรมจริยธรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 ในขณะที่ผู้ประกอบการที่มีความสัมพันธ์กับบัณฑิตในสถานะที่แตกต่างกันมีความพึงพอใจต่อบัณฑิตไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> <p> </p> 2024-08-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/260989 การพัฒนาโมเดลข้อบัญญัติท้องถิ่นเพื่อควบคุมกิจกรรมทางการเกษตร ที่ก่อให้เกิดมลพิษทางแสง 2023-10-20T12:16:28+07:00 พิทักษ์ ศศิสุวรรณ pitak.sas@crru.ac.th <p>งานด้านสิ่งแวดล้อมเป็นความท้าทายสำคัญต่อการกระจายอำนาจการปกครองลงสู่ท้องถิ่นซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของชาติที่ระงับยับยั้งภัยอันเกิดจากสิ่งแวดล้อมระดับล่างสุด การตราข้อบัญญัติหรือการสร้างแนวนโยบายเพื่อคุ้มครองสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะมลพิษทางสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากการใช้แสงทางการเกษตร อาจก่อให้เกิดโทษภัยต่อสุขภาพของมนุษย์และสัตว์ รวมถึงระบบนิเวศในพื้นที่กิจกรรมดังกล่าว แต่กลับไม่มีข้อกฎหมายที่บัญญัติคุ้มครองสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับการเกษตรที่ก่อมลพิษทางแสงโดยตรงมีเพียงกฎหมายที่คุ้มครองสุขภาพของมนุษย์เท่านั้น การตรากฎหมายในปัจจุบันยังขาดนิติสำนึกในการคุ้มครองมลพิษรูปแบบใหม่เพื่อรองรับปัญหาในอนาคต ผู้เขียนจึงมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อการกำหนดข้อบัญญัติท้องถิ่นสำหรับการเกษตรที่ก่อมลพิษทางแสงให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในอนาคตควรมีกฎหมายในระดับชาติให้นิยามคำว่า “มลพิษทางแสงจากการเกษตร” มีการกำหนดค่ามาตรฐานของแสง ที่ก่อให้เกิดภัยอันตรายจากการเกษตร ตามบริบทสภาพแวดล้อมของแต่ละท้องถิ่น ควรมีช่องทางตามกฎหมายท้องถิ่นสำหรับขึ้นทะเบียน รวมกลุ่มประชาคมเกษตรกรที่ก่อมลพิษทางแสงเพื่อง่ายต่อการควบคุม ทั้งช่องทางสำหรับการร้องทุกข์ตลอดจนระบุวิธีการเยียวยาและวิถีทางในการบำบัดปัดป้องมลพิษทางแสงจากการเกษตรเบื้องต้น เพื่อให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นสามารถเข้าไปดำเนินการระงับยับยั้งภัยอันเกิดจากมลพิษทางแสงได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ ควรมีการระบุโทษ ค่าปรับ ค่าใช้จ่าย ตลอดจนค่าธรรมเนียมสำหรับธุรกิจการเกษตรที่มีการก่อมลพิษทางแสง รวมถึงค่าใช้จ่ายเพื่อฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากกิจกรรมทางการเกษตรที่ก่อมลพิษทางแสง “โดยถือหลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย” (Polluters Pay Principle: PPP)</p> <p><strong> </strong></p> 2024-08-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร