วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN <p>วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร (Journal Of Agricultural Research And Extension) เป็นวารสารทางวิชาการของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการที่เกี่ยวกับวิชาการด้านการเกษตร อาหาร สุขภาพและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนนวัตกรรมด้านการเกษตร และการส่งเสริมวิชาการเกษตร เป็นวารสารราย 4 เดือน กำหนดเผยแพร่ ปีละ 3 ฉบับ ในรูปแบบตีพิมพ์ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2526 (ISSN 0125-8850 : พิมพ์) และได้เผยแพร่ในรูปแบบอิเลคทรอนิกส์ ตั้งแต่ปี พ.ศ . 2562 (E- ISSN 2630-0206 จนถึง ปี พ.ศ. 2565) ปัจจุบันเผยแพร่ในรูปแบบอิเลคทรอนิกส์ (ISSN 2985-0118 (Online)) </p> th-TH <p>วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร</p> [email protected] (นางสาวรัญรณา ขยัน) [email protected] (นางสาวรัญรณา ขยัน) Tue, 09 Apr 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ความผิดปกติของดอกเพศเมียที่มีการบานในฤดูและก่อนฤดูของลำไยพันธุ์อีดอและพวงทอง https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/256135 <p>ลำไยเป็นไม้ผลที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของไทย ปัจจุบันเกษตรกรมีการใช้โพแทสเซียมคลอเรตสำหรับชักนำการออกดอกทั้งในและนอกฤดู ลำไยนอกฤดูช่วยให้เกษตรกรมีรายได้ที่มั่นคงขึ้น เนื่องจากมีความผันผวนของราคาน้อยกว่าลำไยในฤดู อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา พบว่า การผลิตนอกฤดูในช่วงก่อนฤดูในภาคเหนือ มักได้ผลผลิตต่ำกว่าลำไยในฤดู ทั้งนี้อาจเนื่องจากมีการพัฒนาที่ผิดปรกติของดอกที่ออกก่อนฤดูและบานในช่วงอุณหภูมิต่ำสุดของฤดูหนาว ส่งผลให้ให้ติดผลน้อยลง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความผิดปกติที่อาจเกิดกับดอกลำไยก่อนฤดู เปรียบเทียบกับดอกลำไยในฤดูของลำไยพันธุ์อีดอและพันธุ์พวงทอง ดำเนินการศึกษา ในแปลงลำไยของสาขาไม้ผล มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้ให้โพแทสเซียมคลอเรตเพื่อชักนำการออกดอกก่อนฤดูเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2563 และในฤดูเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน ผลการศึกษาพบว่าการออกดอกของพันธุ์พวงทอง (ในฤดู) มีค่าน้อยที่สุดเพียง 51 เปอร์เซ็นต์ ส่วนพันธุ์พวงทอง (ก่อนฤดู) พันธุ์อีดอทั้งในและนอกฤดูมีการออกดอกถึง 84-97 เปอร์เซ็นต์ ลักษณะของช่อดอก ช่อดอกล้วนและช่อดอกปนใบ ขนาดของช่อดอก ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนพันธุ์อีดอ (ก่อนฤดู) มีความกว้างและความยาวของช่อดอกมากกว่ากรรมวิธีอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญยิ่ง และพันธุ์อีดอ (ในฤดู) มีเส้นผ่าศูนย์กลางของดอกเพศเมียกว้างมากที่สุด 6.07 มิลลิเมตร ยอดเกสรเพศเมียกว้างมากที่สุด คือ 2.60 มิลลิเมตร และความยาวของก้านชูเกสรเพศเมีย 5.60 มิลลิเมตร อย่างไรก็ตามพันธุ์พวงทอง (ก่อนฤดู) และพันธุ์อีดอ (ก่อนฤดู) ก้านเกสรเพศเมียมีลักษณะสั้นและงอ โดยเฉพาะพันธุ์อีดอมีความกว้างยอดเกสรเพศเมียน้อยมากคือ 1.08 มิลลิเมตร และพันธุ์พวงทองเท่ากับ 1.10 มิลลิเมตร ขณะที่สัดส่วนเพศดอกระหว่างเพศผู้ : เพศเมีย เท่ากับ 1 : 5.39-15.68 นอกจากนี้ยังพบว่าการออกดอกในฤดูของลำไยทั้งสองสายพันธุ์มีเปอร์เซ็นต์การติดผลมากกว่าการออกดอก ก่อนฤดู พิจารณาถึงระยะเวลาการให้โพแทสเซียมคลอเรต ต่อการออกดอกโดยเฉพาะก่อนฤดูหนาว ซึ่งจะมีผล กระทบต่ออาการผิดปกติของเกสรเพศเมีย และมีผลต่อการติดผลได้</p> วินัย วิริยะอลงกรณ์, วัชรินทร์ จันทวรรณ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/256135 Tue, 09 Apr 2024 00:00:00 +0700 ผลของปุ๋ยหมักกลุ่มจุลินทรีย์ Microbial consortium 1 (MC1) และสารกระตุ้นอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโต การสะสมสาร 2-อะเซทิล-1-ไพโรลีน (2เอพี) และการต้านอนุมูลอิสระในข้าวหอม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/258470 <p>ข้าวหอมที่มีสารต้านอนุมูลอิสระที่ผลิตโดยระบบเกษตรอินทรีย์ เป็นข้าวที่มีคุณภาพสูงและเป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภค งานวิจัยนี้ทำการศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยหมักร่วมกับกลุ่มจุลินทรีย์ MC1 การจัดการน้ำแบบเปียก สลับแห้ง และสารกระตุ้นอินทรีย์ชีวภาพ (น้ำหมักชีวภาพ และฮอร์โมนไข่) เพื่อช่วยเพิ่มการสะสมสาร 2-acetyl-1-pyrroline (2AP) และการต้านอนุมูลอิสระในข้าวหอม 3 พันธุ์ ได้แก่ ข้าวเจ้าก่ำหอมแม่โจ้ 1 เอ ข้าวเหนียวหอม กข แม่โจ้ 2 และข้าวหอมมะลิแดง การเสริมปุ๋ยหมักร่วมกับกลุ่มจุลินทรีย์ MC1 มีแนวโน้มช่วยเพิ่มความสูง การแตกกอ และจำนวนรวงของข้าวทั้ง 3 พันธุ์ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม และการเสริมปุ๋ยหมักร่วมกับกลุ่มจุลินทรีย์ MC1 ร่วมกับการเสริมน้ำหมักชีวภาพและฮอร์โมนไข่ มีแนวโน้มช่วยเพิ่มความสูง การแตกกอ จำนวนรวง และจำนวนเมล็ดดีต่อรวงของข้าวทั้ง 3 พันธุ์ เมื่อเปรียบเทียบกับการเสริมปุ๋ยหมักร่วมกับกลุ่มจุลินทรีย์ MC1 เพียงอย่างเดียว การเสริมปุ๋ยหมักร่วมกับกลุ่มจุลินทรีย์ MC1 และการเสริมน้ำหมักชีวภาพและฮอร์โมนไข่ช่วยเพิ่มปริมาณฟีนอลิครวมและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในข้าวหอมมะลิแดง ไม่พบการเพิ่มขึ้นของปริมาณสาร 2AP ในข้าว ที่ได้รับการเสริมปุ๋ยหมักร่วมกับกลุ่มจุลินทรีย์ MC1 และการเสริมน้ำหมักชีวภาพและฮอร์โมนไข่</p> สมคิด ดีจริง, วศิน เจริญตัณธนกุล, วราภรณ์ แสงทอง, ศุภธิดา อ่ำทอง, รุ่งทิพย์ กาวารี Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/258470 Tue, 09 Apr 2024 00:00:00 +0700 ปฏิสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรมกับสภาพแวดล้อมและเสถียรภาพในความหวาน และผลผลิตของข้าวโพดหวาน 5 พันธุ์ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/257173 <p>ปัจจัยทางพันธุกรรม สภาพแวดล้อมและปฏิสัมพันธ์ของพันธุกรรมกับสภาพแวดล้อมส่งผลต่อผลผลิตของพืชโดยตรง งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลของปฏิสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรมกับสภาพแวดล้อม (GEI) ในลักษณะความหวานและผลผลิตฝักปอกเปลือกของข้าวโพดหวาน 5 พันธุ์ ที่ปลูกใน 4 สภาพแวดล้อม โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ Additive main effects and multiplicative interaction (AMMI) ปลูกข้าวโพดหวาน 5 พันธุ์ ในแผนการทดลองสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ จำนวน 3 ซ้ำ ใน 2 ฤดูปลูก แต่ละฤดูปลูกมี 2 สภาพแวดล้อม คือ การปลูกโดยให้ปุ๋ยเคมี และการปลูกโดยให้ปุ๋ยอินทรีย์ ผลจากการวิเคราะห์ความแปรปรวนพบว่าพันธุ์ (G) สภาพแวดล้อม (E) และปฏิสัมพันธ์ระหว่างพันธุ์กับสภาพแวดล้อม (GEI) ของทั้ง 2 ลักษณะ ผลจากการวิเคราะห์ AMMI พบว่า 2 องค์ประกอบแรก (IPCA1 และ IPCA2) มีความแปรปรวน 92.1 และ 99.8 เปอร์เซ็นต์ ของความแปรปรวนของ GEI ในลักษณะความหวานและผลผลิตฝักปอกเปลือกตามลำดับ จากคะแนนขององค์ประกอบ (IPCA score) แสดงให้เห็นถึงความแปรปรวนของสภาพแวดล้อมที่มีปฏิสัมพันธ์ต่อการแสดงออกของพันธุ์ พบว่าพันธุ์หวานบุรี (G5) เป็นพันธุ์ที่มีความเสถียรมากที่สุดในลักษณะความหวาน เนื่องจากมี AMMI stability value (ASV) น้อยที่สุด และมีค่าความหวานสูง ส่วนในลักษณะผลผลิตฝักปอกเปลือกพบว่า พันธุ์ไฮบริกซ์3 มีความเสถียรมากที่สุดจากการที่มี ASV น้อยที่สุด และให้ผลผลิตฝักปอกเปลือกสูง</p> จิราพร วิทาโน, สุภาภรณ์ เอี่ยมเข่ง, รุศมา มฤบดี, ปราโมทย์ พรสุริยา Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/257173 Tue, 09 Apr 2024 00:00:00 +0700 การประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมลักษณะคุณภาพทางกายภาพและเคมี ของฟักทองพันธุ์พืชมรดกตกทอด “พันธุ์ไข่เน่า” จำนวน 100 สายพันธุ์ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/254999 <p>เชื้อพันธุกรรมฟักทองพันธุ์พืชมรดกตกทอด “พันธุ์ไข่เน่า” ของจังหวัดน่าน ได้อนุรักษ์ รวบรวม และปลูกบริโภคเพื่อเป็นอาหารของชุมชนมากกว่า 3 ชั่วอายุ โดยมีลักษณะเนื้อหนามีสีเหลืองอมเขียว และเนื้อนึ่งสุกสีเหลืองเขียวคล้ำแบบสีเขียวขี้ม้า รสชาติมันและหวานมากถึงปานกลาง พันธุ์มีความหลากหลายทางพันธุกรรม ที่ต้องการข้อมูลพื้นฐานเพื่อเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงพันธุ์ที่ได้ผลผลิตและคุณภาพการบริโภคสูง บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่ประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมของลักษณะพฤกษเคมีของเชื้อพันธุกรรมฟักทอง “พันธุ์ไข่เน่า” กลุ่มเริ่มต้นรวบรวมจาก จังหวัดน่าน จำนวน 100 สายพันธุ์ ระหว่างตุลาคม พ.ศ. 2562 ถึง ตุลาคม พ.ศ.2564 และบันทึกข้อมูลลักษณะคุณภาพทางกายภาพและเคมีตามช่วงเวลาที่รวบรวม ร่วมกับกลุ่มที่ปลูกประเมินโดยใช้เมล็ดพันธุ์ที่ได้จากกลุ่มเริ่มต้น จำนวน 100 สายพันธุ์ วางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ ระหว่างพฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ถึง เมษายน พ.ศ. 2565 การทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มไม่อิสระ (Paired Sample T–test) ของกลุ่มเริ่มต้นและกลุ่มประเมิน พบว่า ปริมาณของแข็งทั้งหมด ปริมาณของแข็งทั้งหมด ที่ละลายได้ของเนื้อนึ่งสุก และ ค่าสี L* ของเนื้อดิบ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ ลักษณะที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ปริมาณของแข็งทั้งหมด ปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายได้ของเนื้อดิบและนึ่งสุก ปริมาณของแข็งของกลุ่มเริ่มต้นและประเมินมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ร้อยละ 17.0 และ 14.7 ปริมาณของแข็งที่ละลายได้ของเนื้อดิบและนึ่งสุก เท่ากับ 11.0 และ 10.8 กับ 11.2 และ 11.5 องศาบริกซ์ คุณภาพด้านค่าสี พบว่าเนื้อดิบกลุ่มเริ่มต้นและประเมินมีค่าเฉลี่ยสี L*, a* และ b* เท่ากับ 73.2 และ 74.4; 11.3 และ 11.9 กับ 32.0 และ 29.8 ตามลำดับ ส่วนเนื้อฟักทองนึ่งสุกค่า L*, a* และ b* ลดลง เนื้อมีสีเหลืองอมเขียวทั้งในกลุ่มเริ่มต้นและ กลุ่มประเมิน โดยเนื้อนึ่งสุกของกลุ่มเริ่มต้นและกลุ่มประเมินมีค่าเฉลี่ยสี L*, a* และ b* เท่ากับ 54.5 และ 56.7; 5.8 และ 3.4 กับ 18.1 และ 12.9 ตามลำดับ กลุ่มเริ่มต้นและกลุ่มประเมินมีปริมาณของแข็งทั้งหมดปานกลาง จำนวน 53 และ 75 พันธุ์ ปริมาณของแข็งที่ละลายได้ของเนื้อดิบมีค่าสูงและปานกลาง จำนวน 45 และ 52 พันธุ์ และเนื้อนึ่งสุกมีค่าปานกลาง จำนวน 73 และ 66 พันธุ์ ความแข็งของเนื้อสดของ 2 กลุ่ม มีค่าปานกลาง จำนวน 74 และ 95 พันธุ์ ส่วนเนื้อนึ่งสุกมีค่าต่ำ จำนวน 65 และ 92 พันธุ์ สายพันธุ์ฟักทองพันธุ์ไข่เน่าที่มีสารพฤกษเคมีสูงเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงพันธุ์ร่วมกับพันธุ์ที่นิยมในตลาดปัจจุบัน เพื่อให้ได้พันธุ์ที่ให้ผลผลิตและคุณภาพในการบริโภคสูง และสร้างตลาดการบริโภคฟักทองที่เพิ่มมูลค่าแตกต่างจากเดิมต่อไป</p> จานุลักษณ์ ขนบดี, ภัทราภรณ์ ศรีสมรรถการ , ชัยวัฒน์ พงศ์สุขุมาลกุล , พรพนา จินาวงค์ Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/254999 Tue, 09 Apr 2024 00:00:00 +0700 ความหนาแน่นที่เหมาะสมของการปลูกผักบุ้งจีนร่วมกับการเลี้ยงปลานิล ด้วยระบบอควาโปนิกส์ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/254688 <p> </p> <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ออกแบบและพัฒนาชุดรางปลูกผักร่วมกับถังเลี้ยงปลาในระบบอควาโปนิกส์จากท่อพีวีซีและ (2) ศึกษาจำนวนต้นผักบุ้งที่เหมาะสมต่อการปลูกร่วมกับการเลี้ยงปลานิลในระบบ อควาโปนิกส์ ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ 1) โต๊ะปลูก สร้างจากเหล็กกล่อง ขนาด 0.80x1.50x0.80 เมตร 2) รางปลูก สร้างจากท่อพีวีซีสีฟ้า 2 นิ้ว และ 3) ถังเลี้ยงปลาพลาสติก ขนาด 120 ลิตร ทดสอบโดยการเลี้ยงปลานิล อายุ 2 เดือน จำนวน 30 ตัว/ถัง ร่วมกับการปลูกผักบุ้ง จำนวน 1, 2, 3 และ 4 ต้น/ถ้วยปลูก วางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด (CRD) 4 ชุดการทดลอง ๆ ละ 3 ซ้ำ จากการวิเคราะห์ด้านประสิทธิภาพการผลิตผักบุ้ง พบว่าการเลี้ยงปลานิลร่วมกับการปลูกผักบุ้ง 2 ต้น/ถ้วยปลูก มีแนวโน้มให้ความสูงของต้นที่เพิ่มขึ้นและมีอัตราการเจริญเติบโตของผักบุ้งมากที่สุด คือ 35.81 ซม. และ 1.19 ซม./ต้น/วัน กรัมต่อกรัมต่อวัน ตามลำดับ จากการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ ด้านการผลิตปลานิล พบว่าการเลี้ยงปลานิลร่วมกับการปลูกผักบุ้ง 4 ต้น/ถ้วยปลูก มีแนวโน้มให้น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นของปลานิลและมีอัตรา การเจริญเติบโตของปลานิลมากที่สุด คือ 13.30 กรัม และ 0.44 กรัม/วัน ตามลำดับ และยังพบว่า การเลี้ยงปลานิลร่วมกับการปลูกผักบุ้ง 1 และ 4 ต้น/ถ้วยปลูก มีแนวโน้มให้อัตราการรอดของปลานิลมากที่สุดเท่ากัน คือ ร้อยละ 79.05 และ 79.05 ตามลำดับ ส่วนอัตราการแลกเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อของปลานิล พบว่าการเลี้ยงปลานิลร่วมกับการปลูกผักบุ้ง 4 ต้น/ถ้วยปลูก มีแนวโน้มให้อัตราการแลกเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อของปลานิลน้อยที่สุด เท่ากับ 1.25 ซึ่งไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติกับชุดการทดลองอื่น ๆ</p> ชำนาญ ขวัญสกุล Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/254688 Tue, 09 Apr 2024 00:00:00 +0700 การเลี้ยงปูนาพันธุ์ Esanthelphusa dugasti ที่เสริมด้วยเปลือกไข่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโตและอัตราการรอดตาย https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/254485 <p>การศึกษาการเลี้ยงปูนา <em>Esanthelphusa dugasti </em>ที่เสริมด้วยผงเปลือกไข่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโตและอัตราการรอดตาย โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด ประกอบด้วย 5 ชุดการทดลอง ๆ ละ 3 ซ้ำ คือ ชุดการทดลองที่ 1 อาหารที่ไม่มีการเสริมเปลือกไข่ (ชุดควบคุม) และชุดการทดลองที่ 2–5 อาหารเสริมด้วยเปลือกไข่ 3, 5, 7 และ 10 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ โดยใช้ลูกปูนาอายุ 7 วัน หลังจากที่หลุดจากท้องแม่ มีน้ำหนักเริ่มต้นเฉลี่ย เท่ากับ 0.006 กรัม ความกว้างกระดองเริ่มต้นเฉลี่ย เท่ากับ 0.218±0.008 ซม. และความยาวกระดองเริ่มต้นเฉลี่ย เท่ากับ 0.178±0.011 ซม.ระยะเวลาการเลี้ยง 90 วัน พบว่าปูนาที่เลี้ยงด้วยอาหารเสริมเปลือกไข่ มีประสิทธิภาพการเจริญเติบโตดีกว่าชุดควบคุมที่ไม่มีการเสริมเปลือกไข่ในอาหาร โดยปูนาที่เลี้ยงด้วยอาหารเสริมเปลือกไข่ที่ปริมาณ 7 เปอร์เซ็นต์ มีประสิทธิภาพการเจริญเติบโตที่ดีกว่า ในด้านน้ำหนัก เพิ่มเฉลี่ย (WG) น้ำหนักเพิ่มเฉลี่ยต่อวัน (ADG) ความกว้างกระดองเพิ่มเฉลี่ย (CWG) และความยาวกระดองเพิ่ม เฉลี่ย (CLG) เท่ากับ 3.535±0.513 กรัม 0.039±0.006 กรัมต่อวัน 1.996±0.120 ซม. และ 1.640±0.092 ซม. ตามลำดับ รวมถึงอัตราการรอดตาย เท่ากับ 93.333±2.887 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นอาหารเสริมด้วยเปลือกไข่ที่ปริมาณ 7 เปอร์เซ็นต์ มีความเหมาะสมสำหรับการเลี้ยงปูนา และสามารถต่อยอดเพื่อการเพิ่มผลผลิตระบบการเลี้ยงปูนา</p> วิจิตรตา อรรถสาร, อดิเทพชัยย์การณ์ ภาชนะวรรณ, จิราวรรณ คำธร, อนวัทย์ ผาลี Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/254485 Tue, 09 Apr 2024 00:00:00 +0700 ผลการเสริมใบอังกาบหนูผงในอาหารต่อสมรรถภาพการผลิต คุณภาพซากและค่าไขมันในเลือดไก่เนื้อ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/257295 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการเสริมใบอังกาบหนูผงต่อสมรรถภาพการผลิต คุณภาพซาก และค่าไขมันในเลือดของไก่เนื้อ ทำการวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ ปัจจัยที่ใช้ในการทดลองมี 5 ปัจจัย คือ การเสริมใบอังกาบหนูผงในอาหารสำเร็จรูป ที่ระดับ 0, 0.5, 1.0, 1.5 และ 2.0% (โดยน้ำหนัก) ในแต่ละปัจจัยทำการทดลอง 3 ซ้ำ ซ้ำละ 10 ตัว ทำการเก็บข้อมูลน้ำหนักตัวของไก่เนื้อทดลอง และข้อมูลปริมาณอาหาร ที่กินของไก่เนื้อทุกสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์สมรรถภาพการเจริญเติบโตของไก่เนื้อ ทำการวิเคราะห์หาค่าไขมันในเลือด โดยการสุ่มไก่เนื้อหน่วยทดลองละ 6 ตัว เพื่อเก็บตัวอย่างเลือดจาก เส้นเลือดดำบริเวณปีก (Wing vein) ตัวละ 2 มิลลิลิตร และทำการศึกษาคุณภาพซาก โดยการสุ่มไก่เนื้อหน่วยทดลองละ 3 ตัว มาชั่งน้ำหนักตัวไก่มีชีวิต จากนั้นทำการฆ่าแล้วชั่งน้ำหนักซากและอวัยวะภายใน และทำการตัดแต่งชิ้นส่วนตามวิธีมาตรฐานสากล แล้วนำมาคำนวณหาเปอร์เซ็นต์ซาก และเปอร์เซ็นต์ชิ้นส่วนต่าง ๆ ผลการทดลองการเสริมใบอังกาบหนูผงในระดับที่แตกต่างกัน ในอาหารต่อสมรรถภาพการผลิตไก่เนื้อ พบว่าการเสริม ใบอังกาบหนูผงที่ระดับ 0.5% นั้น ทำให้ไก่เนื้อมีค่าเฉลี่ยอัตราการเจริญเติบโต (ADG) ดีกว่าไก่เนื้อในกลุ่มอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P&lt;0.05) การเสริมใบอังกาบหนูผงในทุกกลุ่มไม่พบความแตกต่างทางสถิติของค่าเฉลี่ยคุณภาพซากโดยรวม ทั้งเปอร์เซ็นต์ซากหลังฆ่า เปอร์เซ็นต์ตัดแต่ง และค่าปริมาณไขมันในเลือดทั้งหมด (P&gt;0.05)</p> พิพัฒน์ ชนาเทพาพร, จันทร์จิรา โต๊ะขวัญแก้ว Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/257295 Tue, 09 Apr 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาปฏิกิริยาลูกโซ่โพลิเมอเรสแบบสี่ไพรเมอร์สำหรับการตรวจสนิปส์ (SNP) ของยีน Thyroglobulin (TG5) ในโคลูกผสมวากิว https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/258106 <p>งานวิจัยนี้พัฒนาเทคนิคปฏิกิริยาลูกโซ่โพลิเมอเรสแบบสี่ไพรเมอร์ Amplification Refractory Mutation System–PCR (ARMS-PCR) เพื่อใช้ในการตรวจหาสนิปส์ (Single nucleotide polymorphism, SNPs) ของยีนไทโรโกลบูลิน (<em>TG</em><em>5</em>) ที่ตำแหน่งนิวคลีโอไทป์ C422T ซึ่งเป็นยีนที่มีอิทธิพลต่อลักษณะไขมันแทรกในโควากิว ปัจจุบันการตรวจหา SNPs ของยีนจะต้องใช้วิธีปฏิกิริยาลูกโซ่โพลิเมอเรสร่วมกับการตัดด้วยเอนไซม์ตัดจำเพาะ (PCR-RFLP) หรือวิธีวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ (DNA sequencing) ซึ่งเป็นวิธีที่มีความจำเพาะสูง มีขั้นตอนที่ซับซ้อนยุ่งยาก ค่าใช้จ่ายสูงและใช้ระยะเวลานานเมื่อเปรียบเทียบกับวิธี ARMS-PCR คณะผู้วิจัยจึงได้นำเทคนิค ARMS–PCR มาใช้ในการตรวจ SNPs ของยีน <em>TG</em><em>5</em> โดยนำตัวอย่างจีโนมิกส์ดีเอ็นเอที่สกัดจากขนหางของโคลูกผสมวากิวมาเป็นดีเอ็นเอต้นแบบ จากผลการทดลองพบว่า ไพรเมอร์ที่ออกแบบมาใช้ในเทคนิค ARMS-PCR สามารถระบุสนิปส์ที่ตำแหน่งนิวคลีโอไทป์ C422T ได้ โดยนำผลผลิต PCR มาแยกตามขนาดด้วยวิธี อิเล็กโทรโฟริซิส สามารถระบุได้ว่าตัวอย่างดีเอ็นเอจาก โควากิวที่ปรากฏแถบดีเอ็นเอสองแถบขนาด 400 bp และ 199 bp มีจีโนไทป์เป็นโฮโมไซกัส T/T และตัวอย่างดีเอ็นเอที่ปรากฏแถบดีเอ็นเอขนาด 400 และ 275 bp มีจีโนไทป์เป็นโฮโมไซกัส C/C ในขณะที่ตัวอย่างดีเอ็นเอที่ปรากฏแถบดีเอ็นเอทั้งสามขนาด 400, 275 และ 199 bp มีจีโนไทป์เป็นเฮเทอไรไซกัส C/T และเมื่อเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์สนิปส์ ด้วยเทคนิค ARMS-PCR กับ วิธีมาตรฐาน PCR–RFLP พบว่าให้ผลไม่แตกต่างกัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเทคนิค ARMS-PCR ที่พัฒนาขึ้นสามารถตรวจสนิปส์ของยีน <em>TG</em><em>5</em> ได้อย่างถูกต้อง แม่นยำไม่แตกต่างจากวิธีมาตรฐาน ทั้งนี้ ARMS-PCR เป็นเทคนิคที่ทำได้ง่าย รวดเร็ว มีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการทำ PCR-RFLP และ DNA sequencing ซึ่งเทคนิค ARMS-PCR สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการวิเคราะห์สนิปส์ของยีนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพเนื้อโคเพื่อเป็นประโยชน์แก่เกษตรกรในการปรับปรุงพันธุ์ของโคเนื้อต่อไป</p> มารินา เกตุทัต-คาร์นส์, กิตรติ นาคเกตุ, นัทธีวรรณ อุดมศิลป์, สุจิตรา คำผาง Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/258106 Tue, 09 Apr 2024 00:00:00 +0700 ผลของระยะเวลาการเก็บรักษาในสภาพแช่แข็งต่อคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีของเนื้อหมู https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/256956 <p>สืบเนื่องจากปัญหาที่พบ ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ จังหวัดเชียงใหม่ คุณภาพเนื้อสัมผัสของ ไส้กรอกชนิดอิมัลชันที่ผลิตจากเนื้อหมูแช่แข็งมีความแตกต่างจากการแปรรูปด้วยเนื้อหมูสดในบางรอบการผลิต งานวิจัยนี้จึงได้ศึกษาผลของการเก็บรักษาในสภาพแช่แข็งต่อคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีของเนื้อหมู เพื่อระบุระยะเวลาที่เหมาะสมในการเก็บรักษาเนื้อหมูแช่แข็งก่อนนำมาแปรรูปเป็นไส้กรอก โดยคัดเลือกเนื้อหมูสดใหม่ส่วนสันนอกที่มีขนาด สี และน้ำหนักใกล้เคียงกัน จากนั้นนําไปล้างน้ำสะอาดและทำการตัดแต่ง โดยเลาะแยกเอาแต่ส่วนของเนื้อแดง โดยให้แต่ละชิ้นมีน้ำหนักชิ้นละประมาณ 500 กรัม บรรจุใส่ถุงซิปล็อค เก็บรักษาเนื้อหมูที่อุณหภูมิ -40°ซ. เป็นระยะเวลา 6 เดือน และวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางกายภาพ ได้แก่ ค่าสี ลักษณะเนื้อสัมผัส และโครงสร้างทางจุลภาค และคุณสมบัติทางเคมี ได้แก่ ค่าความเป็นกรดด่าง ปริมาณความชื้น การสูญเสียน้ำจากการทำละลายน้ำแข็ง ปริมาณโปรตีน และปริมาณไขมัน ผลการศึกษาพบว่าระหว่างการเก็บรักษา ในสภาพแช่แข็ง เนื้อหมูมีการเปลี่ยนแปลงสีจากสีแดงสดเป็นสีโทนแดงที่มีความคล้ำมากขึ้นและมีสีซีดจางลง ค่าความยืดหยุ่นลดลง ค่าความคงทนต่อการบดเคี้ยวที่บ่งบอกถึงความเหนียวเพิ่มขึ้น และมีค่าความแข็งเพิ่มขึ้น ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนภายหลังการเก็บรักษาไว้เป็นระยะเวลา 3 เดือน สอดคล้องกับภาพการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางจุลภาคค่าความเป็นกรดด่างของเนื้อหมูแช่แข็งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นไปจนถึงเดือนที่ 4 และลดลงเล็กน้อยหลังจากนั้น โดยความชื้นในเนื้อสัตว์ไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่พบการสูญเสียน้ำจากการทำละลายน้ำแข็งของเนื้อหมูเพิ่มขึ้นตลอดระยะเวลาการ แช่แข็ง สำหรับปริมาณโปรตีนไม่มีการเปลี่ยนแปลง ในขณะที่ปริมาณไขมันลดลงภายหลังการเก็บรักษาไว้เป็นระยะเวลา 2 เดือน จากการวิเคราะห์ทั้งหมดบ่งชี้การเสื่อมสภาพของเนื้อหมูและชี้ให้เห็นว่าไม่ควรนำเนื้อหมูที่เก็บรักษาไว้นานเกิน 3 เดือน มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์</p> วรวลัญช์ ฉิมพะเนาว์, สุบงกช โตไพบูลย์, เอกรินทร์ อินประมูล, มาลัยพร วงค์แก้ว, รัตติยากร ชาตตนนท์ Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/256956 Tue, 09 Apr 2024 00:00:00 +0700 คุณลักษณะทางเคมีกายภาพและเจลแป้งเปียกของแป้งข้าวสาลีพื้นเมืองปลูกในภาคเหนือประเทศไทย https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/251773 <p>การศึกษาคุณลักษณะทางเคมีกายภาพและเจล แป้งเปียกของแป้งข้าวสาลีสายพันธุ์ภาคเหนือปลูกในเชียงใหม่ (CM) ลำพูน (LP) และแม่ฮ่องสอน (MH) จำนวนรวม 21 สายพันธุ์ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์ค่าทางเคมีคิดเป็นร้อยละ (โปรตีนทั้งหมด สตาร์ช กลูเตน) ค่าทางกายภาพ (การดูดซับน้ำและความแข็งของแป้งโด) และค่าทางรีโอโลยีจากการเกิดเจลแป้งเปียก (ความหนืดสูงสุด ความหนืดสุดท้าย และการคืนตัวแป้ง) และวิเคราะห์สถิติด้วยการจัดกลุ่มและองค์ประกอบหลักที่สัมพันธ์ด้วยเทคนิก Principle Component Analysis (PCA) ผลการทดลองพบว่า แป้งข้าวสาลีพื้นเมืองทุกตัวอย่างมีโปรตีนกลูเตนช่วยในการสร้างโครงสร้างโด และมีสตาร์ชแป้งที่เกิดเจลแป้งเปียกได้ ปริมาณโปรตีนกลูเตนในแป้งสาลีที่มากขึ้นส่งผลต่อความหนืดที่ลดลง การวิเคราะห์ PCA พบว่าสตาร์ชและโปรตีนกลูเตนเป็นองค์ประกอบที่สัมพันธ์กับการเกิดเจลแป้ง กลูเตนเกี่ยวข้องกับโครงสร้างร่างแหในก้อนโด ปริมาณโปรตีนที่มากส่งผลต่อความหนืดเจลแป้งเปียกที่ลดลง กลูเตนเกี่ยวข้องกับโครงสร้างร่างแหในก้อนโดโดยการนวดผสมแป้งสาลีพื้นเมืองกับน้ำจนได้โดที่ยืดเป็นสายยาวและรีดเป็นแผ่นได้ ผลของโปรตีนกลูเตนและสตาร์ชที่ผสมกันตามธรรมชาติส่งผลต่อการจัดคุณภาพโดยรวมของแป้งสาลีพื้นเมือง แป้งข้าวสาลีสายพันธุ์ภาคเหนือมีโปรตีนปานกลางจำนวน 11 สายพันธุ์ ได้แก่ CMS2, CMS4, CMF1, CMF3, CMF4, LP2, LP3, LP5, MH1, MH3, และ MH4 และแป้งข้าวสาลีสายพันธุ์ภาคเหนือที่มีโปรตีนต่ำจำนวน 4 สายพันธุ์ ได้แก่ CMR1, CMS1, LP4, และ MH2 มีคุณภาพทางเคมีกายภาพและการเกิดเจลแป้ง ข้าวสาลีไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเปรียบเทียบกับแป้งข้าวสาลีในระดับอุตสาหกรรมไทย (p&gt;0.05) แต่ยังไม่มีข้าวสาลีสายพันธุ์ภาคเหนือที่นำมาศึกษามีคุณภาพเทียบเท่ากับแป้งสาลีชนิดโปรตีนสูง ผลการวิจัยนี้เป็นข้อมูลส่งเสริมการปรับปรุงสายพันธุ์ข้าวสาลีพื้นเมืองเพื่อใช้ประโยชน์ในผลิตภัณฑ์อาหารไทยได้</p> นักสิทธิ์ ปัญโญใหญ่, พรสุดา สุริยวงศ์, อรวรรณ ปัญญาเพลินพิศ, สายบัว เข็มเพ็ชร, สุพรรณิการ์ กล่อมจอหอ Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/251773 Tue, 09 Apr 2024 00:00:00 +0700 การสกัดและทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพของสมุนไพรหนอนตายหยาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/253828 <p>หนอนตายหยาก (<em>Stemona collinsae </em>Craib) มีอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย มีประสิทธิภาพทางยาตามภูมิปัญญาท้องถิ่นมากมาย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ที่จะนำสมุนไพรหนอนตายหยากมาสกัด หาปริมาณฟีนอลิกรวม ทดสอบฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธีดีพีพีเอส การต้านโรคแคงเกอร์ของมะนาว และเปรียบเทียบฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดกับสารละลายคอปเปอร์ซัลเฟตและน้ำหมักชีวภาพสูตรผสม <em>Bacillus cereus</em> ที่เกษตรกรใช้ ผลการศึกษาพบว่าสารสกัดหยาบไดคลอโรมีเทนมีปริมาณสารฟีนอลิกรวมสูงสุด 6.21±0.83 มก./ลิตร ส่วนฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระด้วยเทคนิค DPPH พบว่าสารสกัดหยาบไดคลอโรมีเทนมีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระได้ดีที่สุดที่ IC<sub>50</sub> เท่ากับ 46.62 มก./ลิตร สารสกัดหยาบเอทานอลออกฤทธิ์ต้านแบคทีเรียสาเหตุของโรคแคงเกอร์ได้ดีที่สุดด้วยค่าเฉลี่ยของเคลียร์โซน 12.67.00±1.73 มม. และออกฤทธิ์ได้ดีกว่าสารละลายคอปเปอร์ซัลเฟตและน้ำหมักชีวภาพสูตรผสม <em>Bacillus cereus </em>นอกจากนี้สารสกัดหยาบเอทานอลยังสามารถออกฤทธิ์ต้านเพลี้ยแป้ง เพลี้ยแป้งสีชมพูและต้านไรแดงที่เป็นศัตรูของมะนาวได้อีกด้วย</p> สมหมาย ปะติตังโข, กิ่งแก้ว ปะติตังโข Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/253828 Tue, 09 Apr 2024 00:00:00 +0700 ผลของการสกัดด้วยคลื่นไมโครเวฟโดยไม่ใช้ตัวทำละลายต่อสารสำคัญบางชนิดจากใบกัญชง ที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพและยับยั้งเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/259377 <p>โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุขของประเทศไทยและทั่วโลก ก่อให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจ และการใช้ยารักษาโรค NCDs ส่งผลให้เกิดอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ ดังนั้นการใช้สารสกัดจากพืชจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่จะใช้ป้องกันการเกิดโรคเหล่านี้ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้คลื่นไมโครเวฟ โดยไม่ใช้ตัวทำละลายในการสกัดสารสำคัญจากใบกัญชงต่อการออกฤทธิ์ทางชีวภาพ ทั้งนี้สารสกัดจากใบกัญชงถูกสกัดด้วยคลื่นไมโครเวฟกำลังไฟฟ้า 150, 250 และ 350 วัตต์ เป็นระยะเวลา 15 และ 30 นาที เพื่อทดสอบการออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH, FRAP, การดักจับอิออนของโลหะ การกำจัดอนุมูลไฮดรอกซิล และการยับยั้งเอนไซม์ ACE (โรคความดันโลหิตสูง) เอนไซม์ DPP–IV (โรคเบาหวานชนิดที่ 2) เอนไซม์ α–amylase เอนไซม์ α–glucosidase (โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคอ้วน) และเอนไซม์ HMG–CoA reductase (ภาวะไขมันในเลือดสูง) สารสำคัญจากใบกัญชงที่สกัดด้วยคลื่นไมโครเวฟกำลังไฟ 350 วัตต์ เป็นเวลา 15 นาที มีประสิทธิภาพขจัดอนุมูลอิสระ DPPH, FRAP มีความสามารถในการดักจับอิออนของโลหะสูงที่สุด มีค่า EC<sub>50 </sub>เท่ากับ 0.75, 0.39 และ 1.16 มก./มล ตามลำดับ และมีประสิทธิภาพยับยั้งเอนไซม์ ACE, α–amylase และ α–glucosidase สูงที่สุด มีค่า IC<sub>50</sub> เท่ากับ 0.35, 0.14 และ 0.23 มก./มล ตามลำดับ นอกจากนี้สารสำคัญจากใบกัญชงที่สกัดด้วยคลื่นไมโครเวฟกำลังไฟ 250 วัตต์ เป็นเวลา 30 นาที มีประสิทธิภาพในยับยั้งเอนไซม์ DPP-IV (IC<sub>50</sub>=0.37 มก./มล.) และ HMG–CoA Reductase (IC<sub>50</sub>=1.18 มก./มล.) สูงที่สุด การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าสารสกัดจากใบกัญชงมีศักยภาพทาง โภชนเภสัชซึ่งสามารถใช้ป้องกันการสูญเสียจากโรค NCDs ได้</p> ศรัญญา สุวรรณอังกูร, ปภังกร ส่างสวัสดิ์, นักรบ นาคประสม, กาญจนา นาคประสม Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/259377 Tue, 09 Apr 2024 00:00:00 +0700 ผลกระทบอุณหภูมิและเวลาไพโรไลซิสที่มีต่อคุณสมบัติถ่านชีวภาพและน้ำส้มควันไม้ จากทางใบปาล์ม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/251420 <p>กระบวนการปลูกปาล์มน้ำมันมีวัสดุเหลือทิ้ง ในปริมาณสูงโดยเฉพาะทางใบปาล์ม การเปลี่ยนรูปชีวมวล ทั้งสองด้วยเทคโนโลยีไพโรไลซิสเพื่อเป็นถ่านและน้ำส้มควันไม้ เป็นแนวทางสำคัญในการเพิ่มรายได้ให้กับกลุ่มเกษตรกร ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของอุณหภูมิและระยะเวลาไพโรไลซิสที่มีต่อคุณสมบัติทางเคมีของถ่านชีวภาพและน้ำส้มควันไม้จากทางใบปาล์มน้ำมัน กระบวนการไพโรไลซิสแบบช้าใช้ช่วงอุณหภูมิ 400-700 °ซ. และระยะเวลา 60-180 นาที การให้ความร้อนในกระบวนไพโรไลซิสใช้เครื่องปฏิกรณ์แบบฮีตเตอร์ไฟฟ้าขนาด 5 กิโลวัตต์ และใช้ไนโตรเจน เป็นแก๊สพาที่อัตราการป้อน 5 ลิตร/นาที การวิเคราะห์คุณสมบัติทางเคมี ได้แก่ การวิเคราะห์โดยประมาณ ค่าความร้อน ความถ่วงจำเพาะ และค่าความเป็นกรด-ด่าง ภายใต้มาตรฐาน ASTM ผลการทดลองพบว่า ทางใบปาล์ม มีศักยภาพในการผลิตเป็นถ่านชีวภาพและน้ำส้มควันไม้ การเพิ่มอุณหภูมิและระยะเวลาไพโรไลซิสส่งผลให้สารระเหยลดลง ในขณะที่คาร์บอนคงตัวและเถ้าเพิ่มสูงขึ้น อุณหภูมิและระยะเวลาไพโรไลซิสที่เหมาะสมสูงสุดในการผลิตถ่านและน้ำส้มควันไม้เกิดขึ้นที่อุณหภูมิ 450°ซ. และ 120 นาที ตามลำดับ สัดส่วนสูงสุดในการผลิตถ่านและน้ำส้มควันไม้คิดเป็น 32.05 และ 47.76 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ถ่านชีวภาพให้ค่าความร้อนเฉลี่ย 25.53 เมกะจูล/กิโลกรัม ส่วนน้ำส้มควันไม้ให้ความถ่วงจำเพาะและ ค่าความเป็นกรด–ด่างเท่ากับ 1.075 และ 1.89 ตามลำดับ ทางใบปาล์มสามารถนำมาผลิตเป็นถ่านและน้ำส้มควันไม้ได้ เหมาะสมสำหรับการใช้เป็นเชื้อเพลิงในครัวเรือนและงานในภาคเกษตร</p> นิกราน หอมดวง, บุณยาพร แสนพรม, ประภัสสร รัตนไพบูลย์, กิตติกร สาสุจิตต์, นคร ทิพยาวงค์ Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/251420 Tue, 09 Apr 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตชาภายใต้ระบบการเพาะปลูกที่ดีของเกษตรกร ที่เป็นสมาชิกของมูลนิธิโครงการหลวงในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/248926 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมของเกษตรกร 2) ศึกษาการปฏิบัติในการผลิตชาภายใต้ระบบการเพาะปลูกที่ดีของเกษตรกร 3) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตชาภายใต้ระบบการเพาะปลูกที่ดีของเกษตรกร และ 4) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของเกษตรกรเกี่ยวกับการผลิตชาในระบบการเพาะปลูกที่ดีของเกษตรกร โดยกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ เกษตรกรผู้ผลิตชาภายใต้ระบบการเพาะปลูกที่ดีที่เป็นสมาชิกของมูลนิธิโครงการหลวงในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และเชียงรายจำนวน 153 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์พหุถดถอย</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรผู้ปลูกชาภายใต้ระบบการเพาะปลูกที่ดีส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุ เฉลี่ย 53 ปี จบการศึกษาสูงสุดในระดับประถมศึกษา มีสถานภาพสมรส มีรายได้จากการปลูกชาเฉลี่ย 49,740.79 บาทต่อปี มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4 คน มีจำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 3 คน และ มีจำนวนหนี้สินในครัวเรือนเฉลี่ย 67,486.84 บาท ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับระบบการเพาะปลูกที่ดีเฉลี่ย 4 ครั้ง ต่อเดือน มีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเฉลี่ย 2 ครั้งต่อปี มีการติดต่อกับกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกชาโดยเฉลี่ย 2 ครั้งต่อปี มีการเข้าร่วมการอบรมระบบมาตรฐาน<br /><br /></p> <p>การเพาะปลูกที่ดีเฉลี่ย 1 ครั้งต่อปี ส่วนใหญ่ไม่มีตำแหน่งทางสังคม มีประสบการณ์การปลูกชาภายใต้ระบบการเพาะปลูกที่ดีเฉลี่ย 7 ปี มีความรู้และมีการปฏิบัติในการผลิตชาภายใต้ระบบการเพาะปลูกที่ดีอยู่ในระดับมาก โดยปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตชาภายใต้ระบบการเพาะปลูกที่ดีของเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในทางบวก ได้แก่ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน ตำแหน่งทางสังคม และความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติการผลิตชาในระบบการเพาะปลูกที่ดี ส่วนปัจจัยทางลบ ได้แก่ จำนวนแรงงานในครัวเรือน สำหรับปัญหาในการผลิตชาภายใต้ระบบการเพาะปลูกที่ดีของเกษตรกรพบว่า เกิดข้อจำกัดในการใช้สารเคมีเพื่อป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชและวัชพืช ในแปลงปลูกชา เช่น สารเคมีที่สามารถใช้ได้ตามข้อกำหนดมีราคาแพง ลานที่ใช้ในการตากชามีไม่เพียงพอ และขาดแรงงานที่มีทักษะในการแปรรูปชา รวมทั้งยังขาดความต่อเนื่องในการรับซื้อผลผลิตชาของตลาดต่าง ๆ ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่เสนอแนะว่า ควรมีการสนับสนุน องค์ความรู้ด้านการตลาด และการพัฒนาฐานข้อมูลแหล่งรับซื้อผลผลิตชาที่มีความหลากหลาย ตลอดจนควรมีการกำหนดราคาชาล่วงหน้า เพื่อให้เกษตรกรมีแรงจูงใจในการจัดการกระบวนการผลิตชาภายใต้ระบบการเพาะปลูกที่ดีให้เป็นไปตามมาตรฐานมากยิ่งขึ้น</p> กิตติพงศ์ บุญธิ, พุฒิสรรค์ เครือคำ, นคเรศ รังควัต, สายสกุล ฟองมูล Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/248926 Tue, 09 Apr 2024 00:00:00 +0700 การปรับตัวของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังต่อการระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลัง ในชุมชนห้วยแคน หมู่ที่ 2 ตำบลโนนสมบูรณ์ อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/255699 <p> </p> <p>โรคใบด่างมันสำปะหลังสร้างความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกรในด้านของความเสียหายต่อปริมาณผลผลิตและรายได้ของเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานและสภาพการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ในพื้นที่ตำบลโนนสมบูรณ์ 2) ผลกระทบการเกิดโรคใบด่าง มันสำปะหลังต่อเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง 3) การปรับตัวของเกษตรกรต่อโรคใบด่างมันสำปะหลัง การวิจัยแบบผสมผสานทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่ชุมชนห้วยแคน หมู่ 2 ตำบลโนนสมบูรณ์ อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 103 ราย ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ (ร้อยละ 52.43) เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 51.00 ปี มีการศึกษาระดับประถมศึกษา (ร้อยละ 39.81) มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนในการปลูก มันสำปะหลังเฉลี่ย 4 คนต่อครัวเรือน เกษตรกรส่วนใหญ่ (ร้อยละ 63.11) ปลูกมันสำปะหลังพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 และมีรายได้เฉลี่ย 50,340.15 บาทต่อครัวเรือนต่อรอบการผลิต 2) ผลกระทบจากสถานการณ์โรคใบด่าง มันสำปะหลังประกอบด้วย 2 ด้าน คือ ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ เกษตรกรได้รับผลกระทบในด้าน ของผลผลิตเสียหาย และเกษตรกรได้รับผลกระทบในด้านของปริมาณผลผลิตลดลง ส่วนผลกระทบด้านสังคม ได้แก่ เกษตรกรประสบปัญหาการเปลี่ยนแปลงอาชีพ และเกษตรกรประสบปัญหาการขัดแย้ง 3) การปรับตัวของเกษตรกรประกอบด้วย 3 ด้าน คือ การปรับตัวด้านการผลิต ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงด้านการดูแลรักษาและการเปลี่ยนแปลงช่วงเวลาในการปลูกมันสำปะหลัง การปรับตัวด้านอาชีพ ได้แก่ การปลูกพืชผสมผสานและการเปลี่ยนพืชที่ปลูก และการปรับตัวในการแก้ไขปัญหา ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงในด้านของการบริหารจัดการ ท่อนพันธุ์และแหล่งที่มา และการเปลี่ยนแปลงในด้านของการติดตามสถานการณ์โรคใบด่าง มันสำปะหลังและการคาดการณ์ล่วงหน้า ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบปกติ พบว่า รายได้ของเกษตรกรสามารถอธิบายด้วยตัวแปรจากการปรับตัวของเกษตรกรจากสถานการณ์โรคใบด่างมันสำปะหลัง ที่เกิดขึ้น โดยมีค่าประสิทธิภาพในการทำนายที่ปรับแล้วเท่ากับร้อยละ 61.40</p> พิมลวรรณ เกตพันธ์, รพี ดอกไม้เทศ, ธำรงค์ เมฆโหรา, นิติรัตน์ รักสัตย์ Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/255699 Tue, 09 Apr 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลในกระชัง จังหวัดอุบลราชธานี https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/253729 <p>จังหวัดอุบลราชธานีเป็นหนึ่งในจังหวัดที่มีการเพาะเลี้ยงปลานิลจำนวนมาก ซึ่งได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั้งจากภัยแล้งและอุทกภัย การศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัวจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลานิลในกระชัง จะมีส่วนสำคัญในการวางแผนและเตรียมการอย่างเหมาะสมต่อเกษตรกร ทั้งนี้ข้อมูลการศึกษาได้มาจากการสัมภาษณ์เกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลในจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 200 ราย โดยใช้ Tobit regression ในการวิเคราะห์</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลในกระชังมีการรับรู้และเข้าใจต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศค่อนข้างมาก เกษตรกรมีความกังวลหากฝนตกหนักมากขึ้น และเกิดภาวะภัยแล้งมากขึ้นว่าจะส่งผลต่อการเลี้ยงปลานิลในกระชัง ซึ่งทำให้เกิดการปรับตัวต่าง ๆ เช่น กรณีฝนตกหนักมากเกินไปหรือน้ำท่วม เกษตรกรจะปรับตัวโดยการเคลื่อนย้ายกระชังให้ปลอดภัย และปรับตัวโดยการวัดคุณภาพน้ำอย่างสม่ำเสมอ กรณีแห้งแล้งเกษตรกรจะปรับตัวโดยการเคลื่อนย้ายกระชังไปบริเวณ ที่มีน้ำ และปรับความหนาแน่นของการปล่อยปลาในกระชัง ทั้งนี้ไม่ว่ากรณีที่เกิดน้ำท่วมหรือแห้งแล้ง พบว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลในกระชังจะมีการวางแผนหารายได้เสริมเพื่อลดความเสี่ยง สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการปรับตัวจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ<br />พบว่า ในช่วงของฤดูฝนหรือภาวะน้ำท่วม และในช่วง ฤดูร้อนหรือการเกิดภาวะแห้งแล้ง ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการปรับตัวเพิ่มขึ้นเหมือนกันทั้งสองช่วงฤดูกาล ได้แก่ อายุของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลในกระชัง ที่เพิ่มขึ้น การรับรู้และตระหนักถึงสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงที่มากขึ้น การเข้าอบรมการเลี้ยงปลานิล ความรู้สึกกังวลต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ที่มากขึ้น การเข้าใช้งานอินเตอร์เน็ตเพื่อความรู้ด้านการเลี้ยงปลานิล ปัจจัยที่ต่างกันที่ส่งผลเฉพาะในช่วงฤดูร้อนแห้งแล้ง ได้แก่ การรวมกลุ่ม และการทำเกษตรพันธสัญญา สำหรับปัจจัยที่ส่งผลในทางตรงกันข้ามของทั้งสองฤดูกาลนั้นไม่แตกต่างกัน ได้แก่ การมีหนี้สินที่เพิ่มขึ้น การประกอบอาชีพเลี้ยงปลานิลเป็นหลัก</p> <p>ข้อเสนอแนะจากการวิจัย สำหรับเกษตรกร ผู้เลี้ยงปลานิลในกระชังในจังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดใกล้เคียง ควรมีการประกอบอาชีพที่หลากหลายเพื่อลดความเสี่ยงหรือกระจายความเสี่ยงจากต้นทุนและรายได้ การลดการเป็นหนี้เพื่อเพิ่มระดับความสามารถในการปรับตัว การเพิ่มความสามารถในการปรับตัวให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลในกระชังในรายอื่น ๆ ควรมีการเพิ่มความรู้ความเข้าใจ และเพิ่มความตระหนักของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่อาจจะส่งผลต่อการเลี้ยงปลานิลในกระชัง การมีทักษะในการค้นหาข้อมูลด้าน การเลี้ยงปลาจากอินเตอร์เน็ตที่ทันสมัยทันต่อการเปลี่ยนแปลง รวมถึงการผลักดันให้เกษตรกรสามารถรวมกลุ่มได้มากขึ้น</p> เฉลิมชนม์ วงศ์โสภา, กุลภา กุลดิลก, เออวดี เปรมัษเฐียร, บวร ตันรัตนพงศ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/253729 Tue, 09 Apr 2024 00:00:00 +0700 การประเมินคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ และสังคมของชุมชนประมงชายฝั่งจังหวัดสงขลา จากโครงการอนุรักษ์เพาะฟักลูกปู ของบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/253871 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพชีวิต ประเมินมูลค่าทางสังคม และประเมินมูลค่าทางเศรษฐกิจของชุมชนประมงชายฝั่ง ที่มีผลจากโครงการอนุรักษ์เพาะฟักลูกปูที่ได้รับการสนับสนุนจากบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) โดยทำการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างชาวประมง ที่เป็นสมาชิกในชุมชนประมงชายฝั่ง 9 ชุมชน ในพื้นที่อำเภอเมือง อำเภอสิงหนคร อำเภอสทิงพระ อำเภอกระแสสินธุ์ และอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา จำนวน 137 ราย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัยพบว่า ปริมาณผลผลิตสัตว์น้ำเฉลี่ยและราคาผลผลิตสัตว์น้ำเฉลี่ย ซึ่งประกอบด้วย ปูม้า ปลา และกุ้งก้ามกราม เมื่อมีโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ผลผลิตสัตว์น้ำ มีปริมาณเพิ่มขึ้นทั้ง 3 ชนิด ส่งผลให้ชาวประมงชายฝั่ง มีรายได้เพิ่มสูงขึ้นจากเดิม ส่วนอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) ของชาวประมงเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน ส่วนการประเมินผลกระทบด้านคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม พบว่าโครงการส่งผลดีด้านสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับมากที่สุด ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />=4.28) ผลดีด้านสังคมอยู่ในระดับมากที่สุด (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> =4.22) และผลดีด้านเศรษฐกิจอยู่ในระดับมาก ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />=4.01) ส่งผลโดยรวมให้ชาวประมงชายฝั่งในพื้นที่จังหวัดสงขลามีคุณภาพชีวิตโดยรวมที่ดีขึ้น</p> จรีวรรณ จันทร์คง, บุญรัตน์ บุญรัศมี Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/253871 Tue, 09 Apr 2024 00:00:00 +0700 การวิเคราะห์ความเป็นได้ในการลงทุนเพื่อประกอบการตัดสินใจในการปลูกพืชในจังหวัดราชบุรี https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/254821 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเก็บข้อมูลต้นทุนเริ่มต้น ต้นทุนการปลูกพืชและแรงงาน ตลอดจนวิเคราะห์ระยะเวลาคืนทุน อัตราผลตอบแทนภายใน ความสามารถในการทำกำไร และความอ่อนไหวของ การปลูกถั่วฝักยาว พริกจินดา สับปะรด และลำไย โดยใช้อัตราคิดลดและอัตราผลตอบแทนที่ร้อยละ 20 เพื่อใช้ ในการประกอบการตัดสินใจลงทุน ในพื้นที่เพาะปลูก 10 ไร่ที่อยู่ติดแหล่งน้ำของจังหวัดราชบุรี จากการศึกษานี้พบว่าการปลูกพืชทั้ง 4 ชนิด มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิเป็นบวก โดยการปลูกลำไยให้ค่าสูงสุดที่ 2,275,142 บาท นอกจากนี้ลำไยเป็นพืชที่มีดัชนีกำไรสูงสุดเท่ากับ 11 แต่มีระยะเวลาคืนทุนที่ค่อนข้างนาน (5 ปี 3 เดือน) และมีเงินลงทุนสูงที่สุด การปลูกสับปะรดมีต้นทุนเริ่มต้นต่ำที่สุด เนื่องจากไม่ต้องวางระบบน้ำและมีอุปกรณ์ทางการเกษตรน้อย และเป็นพืชที่มีผลตอบแทนภายในสูงที่สุด แต่ผลตอบแทนครั้งแรกจะต้องรอ 1 ปี ในขณะที่การปลูกถั่วฝักยาวและพริกจินดามีต้นทุนอยู่ระหว่างการปลูกสับปะรดและลำไย โดยการปลูกพืชทั้งสองชนิดนี้ทำให้เกษตรกรมีรายได้สม่ำเสมอและรวดเร็วกว่าพืชชนิดอื่น เนื่องจากมีระยะเวลาเก็บเกี่ยวที่ค่อนข้างเร็ว (ประมาณ 3 เดือน) เมื่อพิจารณาจากความอ่อนไหวในกรณีที่ต้นทุนเพิ่มขึ้น 20% พบว่าการลงทุนการปลูกถั่วฝักยาวและ พริกจินดาไม่น่าลงทุน ในขณะที่การปลูกสับปะรดและลำไยยังให้ผลตอบแทนที่น่าพอใจ</p> กษมา ศิริสมบูรณ์, จันทนา สังวรโยธิน Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/254821 Tue, 09 Apr 2024 00:00:00 +0700 ห่วงโซ่อุปทานและการเพิ่มมูลค่าของน้อยหน่าผลสดพันธุ์เพชรปากช่อง ของอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/250235 <p>การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับเกษตรกรผู้ปลูกน้อยหน่าพันธุ์เพชรปากช่อง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 5 สวน ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบอ้างอิงด้วยบุคคลและผู้เชี่ยวชาญ เพื่อศึกษาโครงสร้างห่วงโซ่อุปทาน กระบวนการดำเนินงาน ต้นทุน และวิธีการลดต้นทุนของเกษตรกรผู้ปลูกน้อยหน่าพันธุ์เพชรปากช่อง นอกจากนี้ยังมีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ โดยสุ่มตัวอย่างจากนิสิตระดับปริญญาตรี คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน จำนวน 101 ราย เพื่อศึกษาและหาวิธีการเพิ่มมูลค่าน้อยหน่า ผลสด จากการศึกษาพบว่า 1) โครงสร้างของห่วงโซ่อุปทานประกอบด้วยซัพพลายเออร์ เกษตรกร และช่องทางการจัดจำหน่ายที่หลากหลายทั้งในและต่างประเทศ 2) กระบวนการดำเนินงาน ได้แก่ เตรียมปัจจัยพื้นฐาน ปลูก ซ่อมแซม ดูแลรักษา เก็บเกี่ยว และจัดจำหน่าย 3) ต้นทุนรวมโดยเฉลี่ยของการปลูกน้อยหน่าพันธุ์เพชรปากช่อง เท่ากับ 13,726.70 บาท/ปี/ไร่ 4) รูปแบบบรรจุภัณฑ์ชั้นในที่สามารถเพิ่มมูลค่าจากถุงพลาสติกหูหิ้วปกติได้สูงสุด ได้แก่ กล่องทึบด้านบนใส เพิ่มมูลค่า 32.23 บาท/กิโลกรัม 5) รูปแบบบรรจุภัณฑ์เฉพาะหน่วยที่สามารถเพิ่มมูลค่าจากน้อยหน่าผลสดปกติได้สูงสุด ได้แก่ การห่อโฟมตาข่ายแบบเต็มผลและติดตราสินค้า เพิ่มมูลค่า 10.90 บาท/ผล และบรรจุภัณฑ์เฉพาะหน่วยแบบโฟมตาข่ายที่สีแตกต่างกัน (สีเหลือง ขาว และแดง) มีผลต่อราคา ที่ยอมรับได้ของน้อยหน่าผลสดที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งเกษตรกรสามารถนำไปใช้ในการลดต้นทุนและเพิ่มมูลค่าของน้อยหน่าผลสดพันธุ์เพชรปากช่องได้ต่อไป</p> สุรัสวดี อรุณวรากรณ์, เจียระไน กิจไทยสงค์, ชัชวัล วงศ์วัฒนกิจ Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/250235 Tue, 09 Apr 2024 00:00:00 +0700 การประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนสำหรับ โครงการ“แกน้อย” กรีนโปรดักส์ผลิตภัณฑ์สินค้าจากกลุ่มชาติพันธุ์ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/256803 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนสำหรับโครงการ “แกน้อย” กรีนโปรดักส์ ผลิตภัณฑ์สินค้าจากกลุ่มชาติพันธุ์ การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็น โดยเริ่มต้นด้วยเทคนิคการกำหนดระบบโควตา จำนวน 60 คน ใช้เทคนิคสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ความสะดวกและวิธีการเลือกแบบเจาะจง โดยต้องสมัครใจในการให้ข้อมูลและเข้าร่วมโครงการ โดยการวิเคราะห์แผนที่ผลลัพธ์ ประกอบด้วย ปัจจัยนำเข้า กิจกรรม ผลผลิต และการหาข้อสรุปเป็นผลลัพธ์การวิเคราะห์ข้อมูลผลลัพธ์ส่วนเกินโดยให้ค่านวณน้ำหนักการเปลี่ยนแปลงของกิจกรรมที่เกิดขึ้น (Deadweight) ปัจจัยสนับสนุนอื่นที่มีผลกระทบต่อผลสัมฤทธิ์ (Attribution) และอัตราการลดลงหรือคงที่ของผลสัมฤทธิ์ (Drop-off) แล้วหามูลค่าตัวแทนทางการเงิน (Financial proxy) ของผลลัพธ์ที่แท้จริง เพื่อคำนวณอัตราส่วนผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) ผลการศึกษาจำแนกเป็นสองด้าน พบว่า (1) ด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ รายได้จากการประกอบอาชีพเกษตรกรรม รายได้จากการแปรรูปผลิตภัณฑ์ผลผลิตการเกษตร และลดค่าใช้จ่ายด้านสังคม ค่าใช้จ่ายของครอบครัวลงทุนในการเกษตร ลดหนี้สินครัวเรือนจากการวางแผนการผลิตรอบปีผลผลิตการเกษตร (2) ด้านสังคมการศึกษา ได้แก่ การมีวิชาชีพและความรู้ในการทำผลิตภัณฑ์แปรรูป และการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร สังคมวัฒนธรรม ซึ่งผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) ของโครงการฯ มูลค่าการลงทุนตามกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 2,388,913.04 บาท กับมูลค่าผลลัพธ์ตามกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 2,565,869.57 บาท มูลค่าผลลัพธ์การลงทุนทั้งสิ้น 2,436,050.29 บาท มูลค่าผลลัพธ์สุทธิ (SROI) 176,956.53 บาท ทั้งนี้ทุก 1 บาท ที่ลงทุนในโครงการฯ สามารถสร้างประโยชน์ทางสังคมด้วยมูลค่า 1.07 บาท สรุปได้ว่า โครงการฯ สร้างคุณค่า ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม และมีความคุ้มค่าต่อการลงทุนในงบประมาณที่ดำเนินการ</p> ขจรอรรถพณ พงศ์วิริทธิ์ธร, กมลทิพย์ คำใจ, วิภาวี ศรีคะ, วิไลพร ไชยโย, วลัยลักษณ์ พันธุรี Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/256803 Tue, 09 Apr 2024 00:00:00 +0700