@article{รามฤทธิ์_รามฤทธิ์_2021, title={นวัตกรรมการพัฒนาเศษวัสดุจากการเกษตรสู่วัสดุซับน้ำเพื่อการปลูกต้นไม้}, volume={1}, url={https://li01.tci-thaijo.org/index.php/STJS/article/view/249357}, abstractNote={<p>วิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพและนวัตกรรมการพัฒนาเศษวัสดุจากการเกษตรสู่วัสดุซับน้ำเพื่อการปลูกต้นไม้ โดยศึกษาคุณสมบัติ  ด้านการดูดซึมน้ำ ด้านการระเหยของน้ำ และลักษณะการขึ้นรูป โดยผู้วิจัยนำเศษวัสดุทางการเกษตร มาเป็นส่วนผสมและใช้วิธีการหาส่วนผสมโดยเข้าสูตรตารางเพื่อไล่อัตราส่วนผสมจากมากไปหาน้อยผสมวัตถุดิบกับดินและทดลองตามกระบวนการทางการทดลองแล้วหาค่าคุณสมบัติที่มีความเหมาะสมที่สุดเพื่อนำมาเผาที่อุณหภูมิ 700 องศาเซลเซียส พบว่า ขี้เลื่อยจะมีความชื้นคงอยู่ร้อยละ 13.98  รองลงมาคือ แกลบ มีความชื่นคงอยู่ร้อยละ 11.70  และสุดท้ายคือ ใบไม้มีความชื่นคงเหลืออยู่ร้อยละ 9.22  ผู้วิจัยได้เลือกสูตรที่ผสมด้วยขึ้เลื่อยเพราะเป็นสูตรที่สามารถดูดซับความชื้นได้มากที่สุดกว่าวัตถุดิบอื่น โดยมีอัตราส่วนผสม ดินแดงร้อยละ 70 ขี้เลื่อยที่ใช้แล้วร้อยละ 30 ผลการพัฒนานวัตกรรมการพัฒนาเศษวัสดุจากการเกษตรสู่วัสดุซับน้ำเพื่อการปลูกต้นไม้ ในงานวิจัย พบว่า มีการนำทรัพยากรมาใช้คุ้มค่า ช่วยลดปริมาณของเสีย  และลดภาระในการจัดเก็บเศษวัสดุรวมทั้งสร้างมูลค่าให้กับเศษวัสดุของชุมชน นอกจากนี้ วัสดุซับน้ำดังกล่าวยังสามารถช่วยในการกับเก็บความชื้นไว้กับต้นไม้ได้และช่วยดึงความชุ่มชื้นให้อยู่กับดินเป็นทางเลือกใหม่สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการปลูกต้นไม้และต้องการความชุ่มชื้นในพื้นที่ต่อไป</p>}, number={2}, journal={วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ}, author={รามฤทธิ์ สินีนาฏ and รามฤทธิ์ นรพล}, year={2021}, month={พ.ย.}, pages={78–88} }