TY - JOUR AU - ฤทธิธรรม, ชนะ AU - สุขดี, นิรุตติ์ PY - 2021/05/31 Y2 - 2024/03/29 TI - การพัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยศิลปะการต่อสู้ประจำชาติไทยแบบดาบสองมือ ที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย JF - วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ JA - STJS VL - 1 IS - 1 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://li01.tci-thaijo.org/index.php/STJS/article/view/250986 SP - 48-60 AB - <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) การพัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยศิลปะการต่อสู้ประจำชาติไทยแบบดาบสองมือ ที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อศึกษาผลของการฝึกโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยศิลปะการต่อสู้ประจำชาติไทยแบบดาบสองมือ ที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 60 คน แบ่งเป็น กลุ่มทดลอง 1 กลุ่ม จำนวน 30 คน กลุ่มควบคุม 1 กลุ่ม จำนวน 30 คน โดยการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามกึ่งโครงสร้าง 2) โปรแกรมการออกกำลังกายด้วยศิลปะการต่อสู้ประจำชาติไทยแบบดาบสองมือ ที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 3) แบบทดสอบคุณภาพชีวิต (WHOQOL- BREF-THAI) ดำเนินการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ ๆ ละ 3 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง ๆ ละ 60 นาที ทำการทดสอบก่อนการทดลองและหลังการทดลอง นำผลที่ได้มาวิเคราะห์และทำการทดสอบ โดยการใช้สถิติทดสอบ Independent Sample t-test และ PairedSample t-test เพื่อทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า 1) โปรแกรมการออกกำลังกายที่ได้พัฒนาขึ้น ซึ่งประกอบด้วย 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมเตรียมความพร้อมและสร้างความคุ้นเคย กิจกรรมออกกำลังกายด้วยดาบสองมือแบบเดี่ยว ความคุ้นเคย กิจกรรมออกกำลังกายด้วยดาบสองมือแบบคู่ และกิจกรรมผ่อนคลายด้วยดาบสองมือ จำนวน 16 ท่า และขั้นตอน การออกกำลังกาย 3 ขั้นตอน โดยมีดัชนีความสอดคล้อง 0.80 และ 2) ผลการใช้โปรแกรมการออกกำลังกายด้วยศิลปะการต่อสู้ประจำชาติไทยแบบดาบสองมือ ที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลาย พบว่า 2.1) หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบระหว่างก่อนการทดลองและหลังการทดลอง พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และ 2.2) หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่ากลุ่มควบคุมเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05</p> ER -