https://li01.tci-thaijo.org/index.php/STJS/issue/feed
วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
2024-10-11T00:00:00+07:00
ผู้ช่วยศาสตรจารย์ ดร.เตชภณ ทองเติม
stjs@sskru.ac.th
Open Journal Systems
<p>วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (Science and Technology Journal of Sisaket Rajabhat University) เป็นวารสารทางวิชาการของคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ และเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อนักศึกษา นักวิจัย และอาจารย์ ในด้านการศึกษาและวิจัย<strong> บทความทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 3 ท่าน</strong> โดยวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน) ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม)</p> <p>วารสารไม่ได้มีการเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์</p>
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/STJS/article/view/263763
ความรู้ ความเชื่อด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการป้องกันภาวะหลังการติดเชื้อโควิด-19 ในประชาชนบ้านสวัสดี ตำบลห้วยทับทัน อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ
2024-06-21T15:57:35+07:00
อธิวัฒน์ สายทอง
tawut.p@sskru.ac.th
วารี นันทสิงห์
matawut.p@sskru.ac.th
สุพรรณพร ศิริบุรี
matawut.p@sskru.ac.th
วราภรณ์ ละคร
matawut.p@sskru.ac.th
เมธาวุฒิ พงษ์ธนู
matawut.p@sskru.ac.th
<div><span lang="TH">การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ ความเชื่อด้านสุขภาพ พฤติกรรม</span><span lang="TH">การป้องกันภาวะหลังการติดเชื้อโควิด-</span><span lang="EN-US">19 </span><span lang="TH">และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรม </span><span lang="TH">การป้องกันภาวะหลังการติดเชื้อโควิด-</span><span lang="EN-US">19 </span><span lang="TH">ในประชาชนบ้านสวัสดี ตำบลห้วยทับทัน อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ </span><span lang="TH">จำนวน </span><span lang="EN-US">273 </span><span lang="TH">คน </span><span style="font-size: 0.875rem;">เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ได้แก่ ข้อมูลทั่วไปส่วนบุคคล แบบประเมินความรู้ แบบประเมินความเชื่อด้านสุขภาพ และแบบประเมินพฤติกรรมการป้องกัน ดำเนินการเก็บข้อมูลวิจัยระหว่างเดือนสิงหาคม ถึง ธันวาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติวิเคราะห์ความสัมพันธ์ </span><span lang="EN-US">Pearson’s Product Moment Correlation </span><span lang="TH">ผลการวิจัยพบว่า ความรู้เกี่ยวกับการติดเชื้อโควิด-19 ความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับภาวะหลังการติดเชื้อโควิด-19 และพฤติกรรมการป้องกันภาวะหลังการติดเชื้อโควิด-19 โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับภาวะหลังการติดเชื้อโควิด-19 กับพฤติกรรมการป้องกันภาวะหลังการติดเชื้อโควิด-</span><span lang="EN-US">19 </span><span lang="TH">ในกลุ่มประชาชน พบว่า ความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับภาวะหลังการติดเชื้อโควิด-1</span><span lang="EN-US">9 </span><span lang="TH">การรับรู้ประโยชน์ในการป้องกันภาวะหลังการติดเชื้อโควิด-19 การรับรู้ต่ออุปสรรคในการป้องกันภาวะหลังการติดเชื้อโควิด-19 แรงจูงใจด้านสุขภาพในการป้องกันภาวะหลังการติดเชื้อโควิด-19 และสิ่งชักนำสู่การปฏิบัติในการป้องกันภาวะหลังการติดเชื้อโควิด-19 มีความสัมพันธ์กับระดับพฤติกรรมการป้องกันภาวะหลังการติดเชื้อโควิด-</span><span lang="EN-US">19 </span><span lang="TH">ในประชาชนบ้านสวัสดี ตำบลห้วยทับทัน อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ </span><span lang="EN-US">p-value <.05</span></div>
2024-10-11T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/STJS/article/view/263563
การรับรู้ความสามารถและความตั้งใจในการเลิกบุหรี่ของนักศึกษา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
2024-06-12T13:59:26+07:00
ธรรญญพร เพ็งสีแสง
K.chimpalee@sskru.ac.th
ลีสา เต
K.chimpalee@sskru.ac.th
ขนิษฐา ฉิมพาลี
K.chimpalee@sskru.ac.th
<div><span lang="TH">การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ความสามารถและความตั้งใจในการเลิกสูบบุหรี่ของนักศึกษา เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง ประชากรคือนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ชั้นปีที่ </span><span lang="EN-US">1-4 </span><span lang="TH">ตัวอย่างได้จากการสุ่มอย่างง่าย จำนวน </span><span lang="EN-US">272 </span><span style="font-size: 0.875rem;">คน เก็บข้อมูล</span><span lang="TH">ในเดือน มิถุนายน - กรกฎาคม 2566 </span><span lang="TH">โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ในการแจกแจงความถี่ และร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ </span><span lang="EN-US">18-20 </span><span style="font-size: 0.875rem;">ปี ได้รับเงินต่อเดือนน้อยกว่า </span><span lang="EN-US">4,000 </span><span style="font-size: 0.875rem;">บาท ครึ่งหนึ่งมีเพื่อนสนิทสูบบุหรี่ มีผู้สูบบุหรี่ร้อยละ </span><span lang="EN-US">27.21 </span><span style="font-size: 0.875rem;">ในจำนวนนี้ร้อยละ 9.46 ติดนิโคติน สาเหตุหลักจากความเครียดและอยากลอง เริ่มสูบเมื่ออายุ </span><span lang="EN-US">15-18 </span><span style="font-size: 0.875rem;">ปี โดยสูบบุหรี่ไฟฟ้ามากที่สุดถึงร้อยละ </span><span lang="EN-US">37.83 </span><span style="font-size: 0.875rem;">ส่วนใหญ่มีเจตคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้ความสามารถในการเลิกสูบบุหรี่อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 48.65, 50.00 และ 47.06 ตามลำดับ และมีแนวโน้มตั้งใจเลิกสูบเพิ่มขึ้นในระยะ </span><span lang="EN-US">3 </span><span style="font-size: 0.875rem;">เดือนข้างหน้าร้อยละ 36.49 ข้อเสนอแนะคือสร้างกิจกรรมลดความเครียดและให้ความรู้เรื่องผลกระทบของบุหรี่ เพิ่มมาตรการควบคุมการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในมหาวิทยาลัย และส่งเสริมกิจกรรมกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนในการเลิกบุหรี่</span></div>
2024-10-11T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/STJS/article/view/264108
การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การสร้างหุ่นจำลองโครงสร้างอาคาร ด้วยแบบก่อสร้างและแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (BIM)
2024-08-28T10:44:59+07:00
ปกรณ์ พัฒนานุโรจน์
pakron.pa@rmuti.ac.th
ภาณุพงศ์ จันฤาไชย
pakron.pa@rmuti.ac.th
นิโรธ ศรีมันตะ
pakron.pa@rmuti.ac.th
เดชณรงค์ วนสันเทียะ
pakron.pa@rmuti.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ในการสร้างหุ่นจำลองโครงสร้างอาคารชั้นเดียว โดยใช้แบบก่อสร้างสองมิติ (2D) และแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (Building Information Modeling, BIM) การวิจัยแบ่งนักศึกษาออกเป็นสองกลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม A ที่ใช้แบบก่อสร้างสองมิติในการสร้างหุ่นจำลอง และกลุ่ม B ที่ใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคาร (BIM) ในการสร้างหุ่นจำลอง เพื่อวัดประสิทธิ ภาพการใช้เวลา ความถูกต้อง และความเข้าใจในองค์ประกอบโครงสร้างอาคารก่อนและหลังการสร้างหุ่นจำลอง ผลการวิจัยพบว่า กลุ่ม B ใช้เวลาในการสร้างหุ่นจำลองน้อยกว่ากลุ่ม A ในทุกองค์ประกอบของการสร้างหุ่นจำลอง ค่า SD ของกลุ่ม B ต่ำกว่ากลุ่ม A แสดงถึงความสม่ำเสมอและประสิทธิภาพที่ดีกว่า นอกจากนี้ กลุ่ม B ยังมีประสิทธิภาพในการสร้างองค์ประกอบโครงสร้างฐานราก เสา และคานดีกว่ากลุ่ม A อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ในแง่ของความถูกต้อง คะแนนเฉลี่ยของกลุ่ม B สูงกว่ากลุ่ม A ในองค์ประกอบฐานรากและหลังคา แม้ว่าผลการทดสอบ t-test จะไม่แสดงความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value > 0.05) แต่กลุ่ม B มีค่า SD ต่ำกว่ากลุ่ม A ในทุกองค์ประกอบ ซึ่งแสดงถึงความสม่ำเสมอและความแม่นยำที่ดีกว่า ผลการวิจัยยังชี้ให้เห็นว่า คะแนนความเข้าใจองค์ประกอบโครงสร้างอาคารของกลุ่ม B ดีกว่ากลุ่ม A ทั้งก่อนและหลังการสร้างหุ่นจำลอง โดยกลุ่ม B มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่ม A หลังการสร้างหุ่นจำลอง ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยก่อนหน้านี้ที่ระบุว่า การใช้ BIM ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจในองค์ประกอบโครงสร้างอาคารได้ดีขึ้น จากผลการวิจัยนี้สามารถสรุปได้ว่า การใช้เทคโนโลยี BIM ไม่เพียงเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างหุ่นจำลองโครงสร้าง แต่ยังช่วยประหยัดเวลาในการทำงานและเพิ่มความเข้าใจของนักศึกษาในองค์ประกอบโครงสร้างอาคารได้ดีกว่าวิธีการแบบก่อสร้างสองมิติ การนำ BIM มาใช้ในการเรียนการสอนจึงเป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาทักษะและความรู้ของนักศึกษาในสาขาวิชาช่างโยธา<span class="Apple-converted-space"> </span></p>
2024-10-11T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/STJS/article/view/260246
การวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างอาคารสูงในพื้นที่บริเวณใกล้ริมแม่น้ำโขง ตามมาตรฐานการคำนวณแรงลมและการตอบสนองของอาคาร (มยผ.1311-50) พื้นที่กลุ่มที่ 2 ตอนที่ 1
2023-10-01T09:27:26+07:00
ภูมิเกียรติ สว่างวงศ์
P.Sawangwong@sskru.ac.th
โชคชัย ไตรยสุทธิ์
P.Sawangwong@sskru.ac.th
<div><span lang="TH">การวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างอาคารสูงในพื้นที่บริเวณใกล้ริมแม่น้ำโขงมีความท้าทายในการออกแบบโดยเฉพาะเนื่องจากผลกระทบจากสภาพแวดล้อมที่ใกล้ชิดกับแม่น้ำ จะต้องคำนึงถึงแรงลมมีผลกระทบต่อระบบของโครงสร้างอาคาร ดังนั้นการวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างควรคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ การศึกษาที่ละเอียดเกี่ยวกับลักษณะของแม่น้ำโขงในพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การวิเคราะห์แรงลมตามมาตรฐานไม่เกินค่าที่กำหนด รวมไปถึงการเลือกวัสดุในการก่อสร้างโครงสร้างอาคารที่สามารถต้านทานแรงที่กระทบของโครงสร้างตัวอาคาร การออกแบบโครงสร้างควรคำนึงถึงปัจจัยที่สำคัญของการคำนวณและวางแผนเพื่อให้โครงสร้างสามารถรองรับน้ำหนักและแรงต้านทานที่เกิดจากแรงกระทำกับตัวอาคาร โดยใช้เทคโนโลยีในการออกแบบโครงสร้างที่ซับซ้อนของซอฟต์แวร์วิเคราะห์โครงสร้างแบบจำลองและเปรียบเทียบค่าโมเมนต์ดัด แรงเฉือนสูงสุดของอาคารสูง ซึ่งใช้มาตรฐานการออกแบบโครงสร้างเหล็ก มาตรฐานการออกแบบโครงสร้างคอนกรีต มาตรฐานการออกแบบสำหรับประเทศไทย รวมถึงการแอ่นตัวเปรียบเทียบกับค่าที่ยอมให้ ผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่าโมเมนต์ดัด แรงเฉือนและระยะการแอ่นตัว ซึ่งแสดงให้เห็นถึงค่าอัตราส่วนปลอดภัยของอาคารสูงค่าแรงโมเมนต์พลิกคว่ำ หรือ </span><span lang="EN-US">Overturning Moment </span><span style="font-size: 0.875rem;">งานวิจัยนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการก่อสร้างจริงหรือตรวจสอบโครงสร้างอาคารสูงที่ก่อสร้างบริเวณใกล้ริมแม่น้ำโขงในอนาคตต่อไป รวมถึงองค์ประกอบทางธรรมชาติอื่น ๆ ที่สามารถกระทบต่ออาคารได้ใน ระยะยาว</span></div>
2024-10-11T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/STJS/article/view/263564
ความชุกและระดับความเสี่ยงของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในนักศึกษา สาขาสาธารณสุขชุมชน คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
2024-06-01T22:16:28+07:00
จาริณฒา ศุภวัชระสาร
phanssk@gmail.com
อรุณี บุรมย์
phanssk@gmail.com
อัชลีพร ดรุณพันธ์
phanssk@gmail.com
อัณฐรีญา สมนึก
phanssk@gmail.com
อาริยา สำลี
phanssk@gmail.com
ชญานิน กฤติยะโชติ
phanssk@gmail.com
อนุพันธ์ สุวรรณพันธ์
phanssk@gmail.com
<p>การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและความเสี่ยงจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ความเชื่อด้านสุขภาพ และปัจจัยกระตุ้นการดื่ม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาสาขาสาธารณสุขชุมชนชั้นปีที่ 1-4 คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ จำนวน 164 คน ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ในเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2567 ประกอบด้วย ปัจจัยร่วม การดื่มแอลกอฮอล์ การคัดกรองความเสี่ยง การเข้าถึงแหล่งซื้อ การรับรู้ผลกระทบ ความเชื่อด้านสุขภาพ และปัจจัยกระตุ้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า อัตราความชุกของนักดื่มปัจจุบันคือร้อยละ 76.83 ในศึกษาที่ดื่มแอลกอฮอล์พบว่าการประเมินความเสี่ยงด้วย ASSIST พบกลุ่มเสี่ยงปานกลาง ร้อยละ 42.42 และระดับสูง ร้อยละ 5.30 ในแง่ของความเชื่อด้านสุขภาพ นักศึกษาส่วนใหญ่จะมีความเชื่อในระดับปานกลางถึงสูง ตระหนักถึงโอกาสเสี่ยงและความรุนแรงของโรคจากการดื่ม เห็นประโยชน์ของการไม่ดื่ม และเชื่อมั่นว่าจะสามารถไม่ดื่มได้ ส่วนปัจจัยกระตุ้นให้ดื่มที่สำคัญ ได้แก่ อิทธิพลจากสื่อ เพื่อน และพฤติกรรมการดื่มของคนในครอบครัว สรุปได้ว่า สามในสี่ของกลุ่มตัวอย่างมีการดื่มแอลกอฮอล์ และส่วนใหญ่มีระดับความเสี่ยงปานกลาง แม้จะมีความเชื่อด้านสุขภาพที่ดี แต่มีปัจจัยกระตุ้นที่สำคัญคือ สื่อ เพื่อน และครอบครัว ดังนั้น ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการดื่มในนักศึกษา จึงควรจัดการกับปัจจัยแวดล้อมที่เป็นตัวกระตุ้น เพื่อลดแรงจูงใจและโอกาสในการดื่มแอลกอฮอล์ลงได้อย่างยั่งยืน</p>
2024-10-11T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/STJS/article/view/264588
ปรับปรุงเส้นทางการขนส่งน้ำแข็งเพื่อลดต้นทุน
2024-09-11T09:28:45+07:00
เอกลักษณ์ ตันติพิริยะ
nayxachchawinthrsayaphngs@gmail.com
อัชฌาวินทร์ สายะพงษ์
nayxachchawinthrsayaphngs@gmail.com
สิทธิเดช ครุฑสี
nayxachchawinthrsayaphngs@gmail.com
โยธิน อุทธวัง
nayxachchawinthrsayaphngs@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มุ่งเน้นไปที่การลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเส้นทางการขนส่งน้ำแข็ง ซึ่งเป็นการประยุกต์ใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ในการวางแผนการขนส่ง เพื่อออกแบบวิธีการขนส่งที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จากการศึกษาพบว่าปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นคือการขนส่งที่มีระยะทางไกลเกินความจำเป็น ส่งผลให้ต้นทุนด้านพลังงานเชื้อเพลิงสูงขึ้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องศึกษาและปรับปรุงวิธีการขนส่ง การเก็บข้อมูลการขนส่งและข้อมูลลูกค้า รวมถึงการตรวจสอบข้อมูลการขนส่ง ด้วยวิธี Savings algorithm วิธี Nearest neighbor algorithm และการประมวลผลด้วยโปรแกรม VRP Spreadsheet Solver ซึ่งเป็นเครื่องมือทางคณิตศาสตร์ที่ใช้ในการคำนวณหาระยะทางที่สั้นที่สุดสำหรับการขนส่งสินค้า ผลการเปรียบเทียบระหว่างการขนส่งแบบเดิมและการใช้โปรแกรมคำนวณแสดงให้เห็นว่ามีการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งถึง 17.11% และลดต้นทุนในการขนส่งได้ถึง 17.17% สามารถลดระยะทางทั้งหมดลงได้จากเดิม 754 กิโลเมตร ลดลงเหลือ 625 กิโลเมตร ลดลง 129 กิโลเมตร และลดต้นทุนในการขนส่งจากเดิม 3,622 บาท ลดลงเหลือ 3,000 บาท ลดลง 622 บาทต่อวันซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่แสดงถึงความสำคัญของการใช้เทคโนโลยีและวิธีการทางคณิตศาสตร์ในการปรับปรุงกระบวนการขนส่งในอุตสาหกรรมนี้<span class="Apple-converted-space"> </span></p>
2024-10-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ