วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/STJS <p>วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (Science and Technology Journal of Sisaket Rajabhat University) เป็นวารสารทางวิชาการของคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ และเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อนักศึกษา นักวิจัย และอาจารย์ ในด้านการศึกษาและวิจัย<strong> บทความทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 3 ท่าน</strong> โดยวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน) ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม)</p> <p>วารสารไม่ได้มีการเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์</p> th-TH <p><em><span lang="TH">เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ</span></em></p> <p><em><span lang="TH">บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ก่อนเท่านั้น</span></em></p> <p><br><br></p> [email protected] (ผู้ช่วยศาสตรจารย์ ดร.เตชภณ ทองเติม) [email protected] (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กนิษฐา อินธิชิต) Wed, 14 Feb 2024 10:07:44 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ผลของโปรแกรมการบริโภคอาหาร กิจกรรมทางกาย และการเสริมสร้างสร้างสุขภาพจิต ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีภาวะน้ำหนักเกิน https://li01.tci-thaijo.org/index.php/STJS/article/view/262104 <p style="font-weight: 400;">การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการบริโภคอาหาร กิจกรรมทางกาย และการเสริมสร้างสุขภาพจิตในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีภาวะน้ำหนักเกิน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดอุบลราชธานี ที่พบอัตราภาวะน้ำหนักเกินสูงสุดของจังหวัด และมีภาวะน้ำหนักเกิน (ดัชนีมวลกาย ≥ 23 kg/m<sup>2</sup>) เป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 40 คน ส่วนกลุ่มควบคุมเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดศรีสะเกษ ที่พบอัตราภาวะน้ำหนักเกินสูงสุดของจังหวัด และมีภาวะน้ำหนักเกิน จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการบริโภคอาหาร กิจกรรมทางกาย และการเสริมสร้างสุขภาพจิต เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ ระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึง กันยายน 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการทดลองจากแบบประเมินดัชนีมวลกาย เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย เปอร์เซ็นต์มวลกล้ามเนื้อ และแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย การปฏิบัติตัวเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร กิจกรรมทางกาย และภาวะซึมเศร้า (9Q) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติอนุมานใช้ Independent sample t-test ผลการวิจัยพบว่า ก่อนการทดลองกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่มีความแตกต่างกัน ส่วนหลังการทดลองพบว่า กลุ่มทดลองมีค่าดัชนีมวลกาย เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย และภาวะซึมเศร้า ต่ำกว่ากลุ่มควบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value &lt;0.05 และเปอร์เซ็นต์มวลกล้ามเนื้อ ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย การปฏิบัติตัวเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร และกิจกรรมทางกาย สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value &lt;0.05 ดังนั้นจึงควรนำโปรแกรมการบริโภคอาหาร กิจกรรมทางกาย และการเสริมสร้างสุขภาพจิตในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีภาวะน้ำหนักเกิน นี้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมกับกลุ่มที่มีภาวะน้ำเกินกลุ่มอื่นในพื้นที่อื่น ๆ</p> <p style="font-weight: 400;"> </p> ปราณี ศรีบุญเรือง, จุฑามาศ แก้วจันดี, วัณยรัตน์ คุณาพันธ์, อธิวัฒน์ สายทอง, เมธาวุฒิ พงษ์ธนู, ธรรญญพร เพ็งสีแสง, วารี นันทสิงห์ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/STJS/article/view/262104 Wed, 14 Feb 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอักเสบชุมชนในผู้ใหญ่ โรงพยาบาลค้อวัง อำเภอค้อวัง จังหวัดยโสธร https://li01.tci-thaijo.org/index.php/STJS/article/view/261844 <p style="font-weight: 400;">การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอักเสบชุมชนในผู้ใหญ่ ผู้ร่วมวิจัยมี 2 กลุ่ม คือ ผู้พัฒนารูปแบบ 19 คน เลือกแบบเจาะจง และผู้ประเมินรูปแบบเลือกทุกคนที่เข้าตามเกณฑ์ที่กำหนด แบ่งเป็น ผู้ปฏิบัติ 31 คนและเวชระเบียนผู้ป่วย 144 คน ดำเนินการวิจัยตั้งแต่ 15 กันยายน – 31 ธันวาคม 2566 การพัฒนามี 2 วงรอบ 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การปฏิบัติ สังเกตการณ์ และการสะท้อนผล รวบรวมข้อมูลโดยศึกษาเอกสาร แบบสอบถาม และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การจัดหมวดหมู่ และสรุปประเด็นสำคัญ</p> <p><span style="font-weight: 400;"> </span><span style="font-weight: 400;">ผลการวิเคราะห์สถานการณ์พบว่าแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่มียังไม่ได้นำลงสู่การปฏิบัติ ทำให้มีความหลากหลายในการดูแลผู้ป่วย เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดและภาวะระบบหายใจล้มเหลวในอัตราสูงและมีผู้ป่วยเสียชีวิต นำไปสู่การจัดตั้งทีมพัฒนาแนวทางการดูแล โดยร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพทบทวนและปรับแนวทางการดูแลผู้ป่วย จัดประชุมชี้แจงทำความเข้าใจแนวทางที่พัฒนาขึ้น และกำกับติดตามการปฏิบัติตามแนวทาง ผลของการพัฒนาพบว่าทุกตัวชี้วัดผ่านตามเกณฑ์ โดยผู้ปฏิบัติมีความคิดเห็นและความพึงพอใจต่อแนวทางการดูแลผู้ป่วยในระดับมากที่สุด การปฏิบัติตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยเพิ่มขึ้น อัตราการติดเชื้อในกระแสเลือดและภาวะระบบทางเดินหายใจล้มเหลวลดลง อัตราการส่งต่อผู้ป่วยเป็นไปตามเกณฑ์ และไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต ทั้งนี้สรุปรูปแบบเป็น 6</span><span style="font-weight: 400;">Cs </span><span style="font-weight: 400;">คือ (1) การตั้งทีมพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วย (</span><span style="font-weight: 400;">Core team) (</span><span style="font-weight: 400;">2) ทบทวนและปรับปรุงแนวทางการดูแลผู้ป่วย (</span><span style="font-weight: 400;">CPG) (</span><span style="font-weight: 400;">3) การพัฒนาสมรรถนะบุคลากร (</span><span style="font-weight: 400;">Competency) (</span><span style="font-weight: 400;">4) สื่อสารกับผู้เกี่ยวข้อง (</span><span style="font-weight: 400;">Communication) (</span><span style="font-weight: 400;">5) การกำกับการปฏิบัติตามแนวทางและตัวชี้วัด (</span><span style="font-weight: 400;">Check) </span><span style="font-weight: 400;">และ (6) ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง (</span><span style="font-weight: 400;">Continuous)</span><span style="font-weight: 400;"> สรุปได้ว่ารูปแบบการดูแลที่พัฒนาขึ้นส่งผลให้ผลลัพธ์ต่อผู้ป่วยดีขึ้น</span></p> กฤษณา ชูเสน, กมลรัตน์ ลุนพิลา, อนุชธิดา ชาลี Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/STJS/article/view/261844 Sat, 17 Feb 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาบริบทและแนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุเพื่อป้องกันภาวะสมองเสื่อมในจังหวัดลำปาง https://li01.tci-thaijo.org/index.php/STJS/article/view/261726 <p style="font-weight: 400;">การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ของชุมชนเพื่อป้องกันภาวะสมองเสื่อม และเสนอแนวทางการป้องกันภาวะสมองเสื่อมในกลุ่มผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง โดยการคัดกรองผู้สูงอายุด้วยแบบคัดกรองภาวะสมองเสื่อม ได้แก่ แบบประเมินภาวะสมองเสื่อม Mini Cog แบบประเมินภาวะสมองเสื่อม IQ Code และแบบประเมินสมรรถภาพสมอง (MMSE) ในกลุ่มผู้สูงอายุที่อยู่ในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลศรีหมวดเกล้า และตำบลม่วงแงว อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง จำนวน 150 คน และสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการป้องกันภาวะสมองเสื่อม จำนวน 24 คน ผลการวิเคราะห์ SWOT Analysis พบว่า จุดแข็งในการป้องกันภาวะสมองเสื่อม ได้แก่ การออกกำลังกายเป็นประจำ การรับประทานอาหาร การทำกิจกรรมบริหารสมอง และการพักผ่อนอย่างเพียงพอ จุดอ่อน ได้แก่ การขาดความรู้เกี่ยวกับการป้องกันภาวะสมองเสื่อมที่ถูกต้อง ผู้สูงอายุขาดความตระหนักในการดูแลตนเอง การสูบบุหรี่ และดื่มสุรา รวมถึงสถานภาพทางเศรษฐกิจของครอบครัว นอกจากนี้ยังมีอุปสรรคและข้อจำกัดในการป้องกันภาวะสมองเสื่อม คือ การขาดแคลนบุคลากรสาธารณสุข แนวทางการป้องกันภาวะสมองเสื่อมในกลุ่มผู้สูงอายุ แบ่งได้ออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับตนเอง/ครอบครัว คือ ผู้สูงอายุควรดูแลตนเองให้มีสุขภาพดีอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงสิ่งที่อาจทำให้เกิดอันตรายต่อสมอง ระดับชุมชน/สังคม คือ จัดให้มีระบบประเมินและคัดกรองภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาระบบการดูแลและป้องกันภาวะสมองเสื่อมที่เหมาะสมกับกลุ่มเสี่ยงในระดับต่างๆ ระดับประเทศ คือ การจัดสรรบุคคลากรทางด้านการแพทย์ให้เพียงพอต่อการดูแลสุขอนามัยของประชาชนอย่างทั่วถึง</p> เบญจมาศ ยศเสนา, ศรีจันทร์ พลับจั่น, ปานจันทร์ อิ่มหน่ำ, อัญษิกาญฌ์ ภูธรใจ, พิชญาภา จันทศรี, พิมภา อิ่มสำราญรัชต์ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/STJS/article/view/261726 Mon, 18 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบปูนาปรุงรส https://li01.tci-thaijo.org/index.php/STJS/article/view/260199 <p style="font-weight: 400;">งานวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบปูนาปรุงรส และศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพและทดสอบคุณสมบัติด้านประสาทสัมผัสของผลิตภัณฑ์ ซึ่งใช้การทดแทนมันของปูนาชนิดผง โดยที่มีอัตราส่วนระหว่างมันปูนา : แป้งมันสำปะหลัง และสูตรอัตราส่วนระหว่างมันปูนาร่วมกับตัวปูนาบดละเอียด : แป้งมันสำปะหลัง <br />ที่อัตราส่วนเท่ากับ 20:80 (สูตรควบคุม) 25:75 40:60 และ 50:50 น้ำหนักต่อน้ำหนัก พบว่าการเพิ่มอัตราส่วนของมันปูนาในสูตรข้าวเกรียบ ส่งผลให้ปริมาณความชื้นของตัวอย่างเพิ่มขึ้น ในขณะที่อัตราการพองตัวลดลง ค่าสีเหลือง (b*) มีค่ามากกว่าข้าวเกรียบสูตรควบคุมที่อัตราส่วน 20:80 มีค่าความแข็งมากที่สุด ที่อัตราส่วน 25:75 มีค่าความกรอบมากที่สุดข้าวเกรียบมันปูนาที่อัตราส่วน 25:75 มีค่าความแข็งและค่าความกรอบมากที่สุด ผู้ทดสอบชิมให้คะแนนความชอบทางประสาทสัมผัส <br />ที่อัตราส่วน 50:50 มากที่สุด เมื่อนำข้าวเกรียบมันปูนาผสมกับเครื่องปรุงรสต้มยำและรสลาบ ที่ระดับความเข้มข้นร้อยละ 10 20 และ 30 โดยผู้ทดสอบชิมให้คะแนนความชอบข้าวเกรียบจากมันปูนาที่ผสมเครื่องปรุงรสต้มยำ และรสลาบร้อยละ 30 <br />มากที่สุด</p> จีระนันท์ วงศ์วทัญญู, ปิยฉัตร ทองแพง, เมธี ไชยหา, อภิญญา ภูมิสายดอน Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/STJS/article/view/260199 Mon, 18 Mar 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาผลของแหนแดงต่อการเจริญเติบโตและผลผลิต ของข้าวเหนียวดำในพื้นที่ป่าเปิดใหม่ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/STJS/article/view/261164 <div><span lang="TH">การศึกษาผลของการใส่ปุ๋ยพืชสดแหนแดง ต่อการเจริญเติบโตของข้าวเหนียวดำในสภาพดินกรดเนื่องจากการเปิดป่าใหม่ เพื่อเป็นแนวทางในการเพิ่มผลผลิตของข้าวเหนียวดำควบคู่กับการพัฒนาดินจากการเลี้ยงแหนแดง โดยวางแผนการทดลองแบบ 2</span><span lang="EN-US">x</span><span lang="TH">2 </span><span lang="EN-US">Factorial in Randomized Complete Block Design (RCBD) </span></div> <div><span lang="TH">ได้แก่ พันธุ์ปลูกข้าวเหนียวดำและกรรมวิธี จำนวน 3 ซ้ำ ผลของการทดลองพบว่าความเป็นกรด-ด่างของดิน ผลผลิต น้ำหนักเมล็ด (1</span><span lang="EN-US">,</span></div> <div><span lang="TH">000 เมล็ด) ความสูง จำนวนช่อดอกต่อต้น และจำนวนเมล็ดดี ในกรรมวิธีปลูกข้าวควบคู่กับการเลี้ยงแหนแดงให้ผลดีกว่าการไม่เลี้ยงแหนแดง แต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (</span><em><span lang="EN-US">p</span></em><span lang="EN-US">&gt;</span><span lang="TH">0.05) นอกจากนั้นพบว่าค่าเฉลี่ยของปริมาณอินทรียวัตถุในการเลี้ยงแหนแดงและไม่เลี้ยงแหนแดงมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.30 และ 1.60 ตามลำดับ โดยปริมาณอินทรียวัตถุในดินของการเลี้ยงแหนแดงสูงกว่าการไม่เลี้ยงแหนแดงอย่างมีนัยสำคัญ <em>(</em></span><em><span lang="EN-US">p</span></em><span lang="EN-US">&lt;</span><span lang="TH">0.05) ส่วนพันธุ์ปลูกข้าวเหนียวดำ 2 พันธุ์ปลูกคือ ข้าวเหนียวลืมผัวและข้าวเหนียวดำกัญญา พบว่าข้าวเหนียวดำกัญญามีความสูง จำนวนช่อดอกต่อต้น และผลผลิตสูงกว่าข้าวเหนียวลืมผัว</span></div> วิมลศิริ สีหะวงษ์, สุวิจักขณ์ อรุณลักษณ์, สายัณห์ สืบผาง Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/STJS/article/view/261164 Mon, 18 Mar 2024 00:00:00 +0700