@article{ตาละลักษมณ์_ฤทธิมา_2020, title={การออกแบบกราฟน้ำหลากด้วยวิธีดัชนีสังเคราะห์หลายคุณลักษณะ}, volume={26}, url={https://li01.tci-thaijo.org/index.php/TSAEJ/article/view/222215}, abstractNote={<p>กราฟน้ำท่าของแต่ละเหตุการณ์พายุฝนมีคุณลักษณะทางอุทกวิทยาที่แตกต่างกันไม่ว่าจะเป็น ปริมาณการไหลสูงสุด ปริมาตรน้ำท่าสูงสุดที่ช่วงเวลาต่างๆ ระยะเวลาการเกิดปริมาณการไหลสูงสุด เป็นต้น ความแตกต่างกันนี้ทำให้วิธีการบริหารจัดการน้ำแตกต่างกันด้วย กราฟน้ำหลากสูงสุดที่รอบปีการเกิดซ้ำต่าง ๆ เป็นข้อมูลสำคัญในการออกแบบและการบริหารจัดการอ่างเก็บน้ำ วิธีการออกแบบกราฟน้ำหลากส่วนใหญ่จะพิจารณาจากคุณลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งของชุดข้อมูลกราฟน้ำท่า เช่น ปริมาณการไหลสูงสุด หรือปริมาตรน้ำท่าสูงสุดที่ช่วงเวลาที่กำหนด ทำให้การพัฒนากราฟน้ำหลากออกแบบถูกจำกัดด้วยเหตุการณ์น้ำท่วมในบางคุณลักษณะ งานวิจัยนี้ได้การออกแบบพัฒนากราฟน้ำหลากโดยการพิจารณาจากหลายคุณลักษณะ ได้แก่ ปริมาณน้ำหลากสูงสุด ปริมาตรน้ำหลากสูงสุดราย 1, 3, 5 และ 7 วัน เพื่อนำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ร่วมกันเป็นค่าดัชนีตัวแทนของคุณลักษณะกราฟน้ำหลากโดยอาศัยวิธีดัชนีสังเคราะห์หลายคุณลักษณะ ซึ่งค่าดัชนีนี้ถูกนำมาใช้ในการออกแบบกราฟน้ำหลาก ผลการศึกษาจากชุดข้อมูลน้ำท่าสถานี N.13A พบว่า ปริมาตรน้ำหลากสูงสุดราย 7 วัน เป็นคุณลักษณะสำคัญที่มีผลต่อรูปร่างของกราฟน้ำหลากโดยให้ค่าน้ำหนักมากที่สุด และยังพบว่าลักษณะของกราฟน้ำหลากออกแบบที่สังเคราะห์ได้นั้นขึ้นอยู่กับคุณลักษณะของเหตุการณ์น้ำหลากหลายลักษณะที่เคยเกิดขึ้นในพื้นที่นั้น แสดงให้เห็นว่าวิธีดัชนีสังเคราะห์หลายคุณลักษณะสามารถใช้ในการออกแบบกราฟน้ำหลากได้สอดคล้องกับเหตุการณ์น้ำท่วมจริงในพื้นที่</p>}, number={2}, journal={วารสารสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย}, author={ตาละลักษมณ์ ยุทธนา and ฤทธิมา อารียา}, year={2020}, month={ส.ค.}, pages={7} }