@article{แสงบุญ_2022, title={PDF การศึกษาความเป็นไปได้ในการทดลองการเติมน้ำสู่ชั้นน้ำใต้ดินแบบระบบสระน้ำในพื้นที่โครงการจัดตั้งศูนย์วิจัยและฝึกอบรมการเกษตร จังหวัดนครพนม }, volume={28}, url={https://li01.tci-thaijo.org/index.php/TSAEJ/article/view/251548}, abstractNote={<p>การศึกษาความเป็นไปได้ในการทดลองการเติมน้ำสู่ชั้นน้ำใต้ดินแบบระบบสระน้ำในพื้นที่โครงการจัดตั้งศูนย์วิจัยและฝึกอบรมการเกษตร จังหวัดนครพนม จากผลการทดสอบค่าการซึมผ่านของน้ำ (infiltration) ด้วยวิธีการทดสอบแบบ double ring test โดยใช้สมการของ Horner ในฤดูร้อนค่าสูงสุดอยู่ที่สถานี Inf03 พิกัด X คือ 464697 พิกัด Y คือ 1930908 ค่าการซึมผ่านของน้ำอยู่ที่ 4776.00 มิลลิเมตรต่อวัน ค่าต่ำสุดอยู่ที่สถานี Inf11 พิกัด X คือ 464750 พิกัด Y คือ 1931119 มีค่า 5.00 มิลลิเมตรต่อวัน ในฤดูฝนค่าสูงสุดอยู่ที่สถานี Inf01 พิกัด X คือ 464536 พิกัด Y คือ 1930931 มีค่า 46.2 มิลลิเมตรต่อวัน ค่าต่ำสุดอยู่ที่สถานี Inf17 พิกัด X คือ 464999 พิกัด Y คือ 1931333 ค่าการซึมผ่านของน้ำอยู่ที่ 0.2  มิลลิเมตรต่อวัน ผลจากการทดสอบค่าการไหลของน้ำบาดาลผ่านชั้นน้ำ(Recharge) ค่าสูงสุดอยู่ที่สถานี Inf02 พิกัด X คือ 464601 พิกัด Y คือ 1930924 มีค่า 242.7 มิลลิเมตร ค่าต่ำสุดอยู่ที่สถานี Inf06 พิกัด X คือ 464605 พิกัด Y คือ 1931002 มีค่า 0.7 มิลลิเมตรต่อวัน จากการนำข้อมูลชั้นธรณีและอุทกธรณีวิทยาในพื้นที่ใกล้เคียงมาวิเคราะห์กับพื้นที่ที่ทำการวิจัย สันนิฐานได้ว่ามีความใกล้เคียงกับระยะ 0- 10 เมตร เป็นหน่วยหิน A และที่ระยะ 10-30 เมตรเป็นหน่วยหิน B เป็นพื้นผิวร่องรอยกัดเซาะ (erosional surface) ทั้งนี้หน่วยหิน A สามารถแบ่งออกได้เป็นหน่วยหิน A1 และ A2 โดยหน่วยหิน A2 เป็นชั้นตะกอนทรายละเอียดถึงตะกอนทรายปานกลาง มีความหนา 5 ถึง 20 เมตร จากข้อมูลการทดสอบการซึมผ่านของน้ำ (infiltration) และการไหลของน้ำบาดาลผ่านชั้นน้ำ(Recharge)และชั้นธรณี ชี้ให้เห็นว่าอาจจะมีความเป็นไปได้ในการจัดทำการทดลองการเติมน้ำสู่ชั้นน้ำใต้ดินแบบระบบสระน้ำในพื้นที่โครงการจัดตั้งศูนย์วิจัยและฝึกอบรมการเกษตร จังหวัดนครพนม แต่ควรมีการเจาะชั้นธรณีในพื้นที่โดยตรงอีกครั้งจะเป็นการวิจัยที่สมบูรณ์แบบมากขึ้น</p>}, number={2}, journal={วารสารสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย}, author={แสงบุญ วราเดช}, year={2022}, month={ก.ค.}, pages={8} }