วารสารสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/TSAEJ
<p><strong>วารสารสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย</strong> เป็นวารสารวิชาการทางวิศวกรรมเกษตรและสาขาที่เกี่ยวข้อง จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานวิชาการของนักศึกษา อาจารย์และนักวิชาการ และเพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิชาการแก่สมาชิก นักวิชาการ และผู้สนใจทั่วไป กำหนดออกปีละ 2 ฉบับ (ระหว่างเดือนมกราคมถึงมิถุนายน 1 ฉบับ และระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนธันวาคม 1 ฉบับ) ต้นฉบับที่รับพิจารณาจะต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารใดมาก่อนและไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารฉบับอื่น บทความที่เผยแพร่ผ่านการประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องโดยที่รายชื่อผู้เขียนบทความถูกเปิดเผย และผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ถูกเปิดเผย (Single-blind review) </p> <p><strong>Print ISSN:</strong> 1685-408X<br><strong>Online ISSN:</strong> 2651-222X</p>Thai Society of Agricultural Engineeringth-THวารสารสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย1685-408X<p>สมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย</p> <p>Thai Socities of Agricultural Engineering</p>การประเมินประสิทธิภาพรถตัดอ้อยในเขตภาคเหนือตอนล่าง
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/TSAEJ/article/view/261502
<p> รถตัดอ้อยมีบทบาทสำคัญในการลดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) จากการเผาใบอ้อยและการขาดแคลนแรงงาน วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อประเมินความสามารถของรถตัดอ้อยขนาดกลาง (MSH) (164-179 kW) และขนาดใหญ่ (LSH) (251-260 kW) ที่ใช้ในเขตภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย ทดสอบรถตัดอ้อยขนาดกลาง 2 รุ่น และขนาดใหญ่ 2 รุ่น ในแปลงอ้อยปลูกพันธุ์ขอนแก่น 3 ระยะห่างระหว่างแถว 1.72 m ความยาวแปลงเฉลี่ย 284.2 m ณ อำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร แปลงดินร่วน ที่ระดับความลึก 0-10 cm มีค่าความชื้นดินเฉลี่ย 13.72%db ความหนาแน่นมวลรวมของดินเฉลี่ย 1.16 g·cm<sup>-3</sup> ผลการทดสอบพบว่า ความเร็วในการเคลื่อนที่และความสามารถในการทำงานของรถตัดอ้อยขนาดกลางและขนาดใหญ่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ความเร็วในการเคลื่อนที่เฉลี่ย 1.04 และ 1.50 m·s<sup>-1</sup> ความสามารถในการทำงาน 30.93 และ 49.62 ตันต่อชั่วโมง ตามลำดับ สิ่งเจือปนรวมไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างรถตัดอ้อยขนาดกลางและขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม เกษตรกรในเขตภาคเหนือตอนล่างส่วนใหญ่ปลูกอ้อยที่มีระยะห่างระหว่างแถว 1.50 m ซึ่งรถตัดอ้อยขนาดกลางสามารถทำงานได้ทั้งระยะห่างระหว่างแถว 1.50 และ 1.72 m โดยไม่เหยียบตออ้อย ส่วนรถตัดอ้อยขนาดใหญ่ไม่เหมาะกับระยะห่างระหว่างแถว 1.50 m</p> <p class="AbstractEng"> Sugarcane harvesters play an important role in the reduction of atmospheric PM2.5 caused by the burning of sugarcane crop and the shortage of labor in sugarcane harvesting. This research aimed at the performance evaluation of medium-size (164-179 kW) and large-size (251-260 kW) sugarcane harvester used in Lower North region of Thailand. Two models of medium-size and two models of large-size sugarcane harvesters were tested in Khon Kaen-3 variety sugarcane field with the row space of 1.72 m and the average row length of 284.2 m at Amphoe Bueng Na Rang, Phichit province. The average moisture of the loam soil, with the soil bulk density of 1.16 g<span lang="TH">·</span>cm<sup>-3</sup>, in the field at the depth of 0-10 cm was 13.87%db. The results showed that the speed and the field capacity of the medium-size and large-size harvesters were significantly different. The average speeds of the medium-size and the large-size harvesters were 1.04 and 1.50 m<span lang="TH">·</span>s<sup>-1</sup>, while the average field capacities were 30.93 and 49.62 tons per hour, respectively. The contamination percentages were not significantly different between the two groups of harvesters. However, the farmers in Lower North region mostly grow their sugarcane with the row space of 1.50 m, which is suitable for medium-size harvesters as the wheels would not damage the sugarcane stubble at row spacing of 1.5<span lang="TH">0</span> and 1.72 m but the large-size is not suitable for the row spacing of 1.<span lang="TH">50</span> m.</p>Piyarat JitmunRattana KaroonboonyananAnupong Wongtamee
Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-092024-08-093021010การพัฒนาเครื่องล้างข่าเหลืองอ่อนแนวตั้งแบบกึ่งอัตโนมัติ
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/TSAEJ/article/view/260394
<p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิภาพของเครื่องล้างข่าเหลืองอ่อนแนวตั้งแบบกึ่งอัตโนมัติ ซึ่งเป็นการยกระดับการผลิตให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยใช้นวัตกรรมเข้ามาช่วยในการทํางานแบบเดิม เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดจากกระบวนการล้างข่าที่ยังใช้แรงงานคนในการล้าง ซึ่งใช้ระยะเวลานาน และเพื่อช่วยประหยัดน้ำ โดยเครื่องล้างข่าใช้มอเตอร์ขนาด 1.5 hp เป็นต้นกําลัง ซึ่งประกอบด้วยชุดโครงสร้างเครื่อง ชุดถังล้าง ชุดเพลาส่งกําลัง และชุดควบคุมการทํางานของมอเตอร์ ลักษณะการทํางานเหมือนเครื่องซักผ้า <br /> จากผลการทดลองพบว่าเงื่อนไขที่เหมาะสมในการทํางานของเครื่อง คือ ความเร็วรอบ 350 rpm เวลาในการล้าง 15 min ปริมาณน้ำ 40 L น้ำหนักข่าที่ 15 kg ให้ค่าความสะอาดข่าสูงสุด 92% มีอัตราการสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า 3,194 W h <sup>-1 </sup>สามารถล้างข่าได้ 600 kg day<sup> -1</sup> ผลการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์พบว่าต้นทุนการผลิตต่อกิโลกรัมลดลงร้อยละ 70 เมื่อทํางานวันละ 8 hr จะมีระยะเวลาคืนทุนที่ 6 day และจุดคุ้มทุนอยู่ที่ 17 hr year <sup>-1</sup></p> <p> </p> <p>Objectives of this research were to develop and efficiency assessment of Semi-automatic vertical light yellow galangal washing machine. Which raises the level of production to be more efficient by using innovation to help with traditional work. To help solve problems caused by the cleaning process that still uses manual labor to clean and takes a long time. and helps save water. The galangal washing machine uses a 1hp motor as the power source, which consists of a machine structure set, a washing tank set, and a power transmission shaft set. and motor control unit. The results of the experiment found that the optimum conditions for operating the machine are a speed of 350 rpm, a washing time of 15 min, a water volume of 40 L, a galangal weight of 15 Kg, giving the highest galangal cleanliness value of 92%, and an electrical energy consumption rate of 3,194 W. h<sup>-1</sup> can wash 600 Kg of galangal day<sup>-1</sup>. The results of the economic analysis found that the production cost per kilogram is reduced by 70% when working 8 hrs a day. There is a payback period of 6 days and the break-even point is 17 hr year<sup>-1</sup></p>Nirun PromkesaWichian DuangsrisenDuangthip Rukanee
Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-092024-08-0930288