วารสารสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย https://li01.tci-thaijo.org/index.php/TSAEJ <p><strong>วารสารสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย</strong> เป็นวารสารวิชาการทางวิศวกรรมเกษตรและสาขาที่เกี่ยวข้อง จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานวิชาการของนักศึกษา อาจารย์และนักวิชาการ และเพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิชาการแก่สมาชิก นักวิชาการ และผู้สนใจทั่วไป กำหนดออกปีละ 2 ฉบับ (ระหว่างเดือนมกราคมถึงมิถุนายน 1 ฉบับ และระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนธันวาคม 1 ฉบับ) ต้นฉบับที่รับพิจารณาจะต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารใดมาก่อนและไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารฉบับอื่น บทความที่เผยแพร่ผ่านการประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องโดยที่รายชื่อผู้เขียนบทความถูกเปิดเผย และผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ถูกเปิดเผย (Single-blind review)&nbsp;</p> <p><strong>Print ISSN:</strong> 1685-408X<br><strong>Online ISSN:</strong> 2651-222X</p> th-TH <p>สมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย</p> <p>Thai Socities of Agricultural Engineering</p> jetspo@kku.ac.th (รองศาสตราจารย์ ดร. เจษฎา โพธิ์สม) kittisak.ph@kmitl.ac.th (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กิตติศักดิ์ เพ็ชรพันธ์) Fri, 09 Aug 2024 13:49:31 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การจำแนกเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยระบบการประมวลผลภาพร่วมกับโครงข่ายประสาทเทียม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/TSAEJ/article/view/258290 <p> <span class="fontstyle0">บทความวิจัยนี้เสนอการจำแนกเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยการวิเคราะห์ภาพร่วมกับการใช้แบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียม (ANN) โดยมีขั้นตอนที่เริ่มจากการใช้ภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวมาฝึกฝน และสร้างแบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียมแบบ Back propagation algorithm โดยมี input เป็นค่าของสี 0 - 255 ระดับ และ output เป็นพันธุ์ข้าว กข.6 และขาวดอกมะลิ 105 ซึ่งมีแบบจำลอง 2 รูปแบบคือ แบบจำลองแรก ANN-1 มี input 3 ค่า คือ [R G B] และแบบจำลองที่สอง ANN-2 มี input 4 ค่า คือ [R G B K] ทุกๆ แบบจำลองมีการปรับเปลี่ยนจำนวน perceptron ในชั้น Hidden layer จาก 1 2 3 4 5 10 15 และ 20 โดยแบบจำลองที่ได้สร้างแต่ละรูปแบบนั้นได้ถูกนำมาใช้สำหรับในการตัดสินใจให้ชุดระบบสาพานคัดแยกตามตำแหน่งเมล็ดพันธุ์ ผลพบว่าการแบบจำลอง ANN-2 ที่มีจำนวน perceptron ในชั้น Hidden layer เท่ากับ 15 มีความเหมาะสมในการจำแนกชนิดพันธุ์ทั้งข้าว กข.6 และขาวดอกมะลิ 105 ได้สูงถึงร้อยละ 98 ซึ่งมีผลจากปัจจัยของข้อมูลที่ถูกป้อนในการเรียนรู้ และจดจำของแบบจำลองที่มี input 4 ค่า จะมีการแยกรูปแบบได้ดีกว่า input 3 ค่า ประโยชน์ที่ได้จากงานวิจัยนี้สามารถนำไปพัฒนาใช้ในการจำแนกเมล็ดพันธุ์อื่นๆ ในด้านงานเกษตรด้วยลักษณะทางกายภาพ รูปทรงหรือขนาดโดยไม่ทำลายโครงสร้างภายในเมล็ดพันธุ์</span></p> <p> This article was proposed the rice classifiation system with image processing technique combine artificial neural, which is divided into two parts: one was modeling and second was a separate belt system with cameras installed for taking a photo of sampled seed rice. The artificial neural network (ANN) modeling consisting of two patterns are ANN-1 is a model with 3 inputs, [R-G-B] and ANN-2 adds a gray scale to four values: [R-G-B-Gray scale]. The output will be rice varieties RD6 and Mali 105, in which each model will adjust the perceptron in the hidden layer from 1-20. The result of a model was accurate in high and low perceptrons were chosen as a model for seed discrimination. It was found that the seed classification through the simulation set gave an accuracy of up to 98, which is the model in Figure 2 [R G B Gray scale]. The benefits from this research can be applied in the classification of the sorting system as well. physical characteristics without destroying the internal structure of the seed.</p> Somporn Hongkong, Jaran Monkolvai, Suriya Chokphoemphun Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/TSAEJ/article/view/258290 Sat, 28 Dec 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาความสามารถในการลดอุณหภูมิและเพิ่มความชื้นสัมพัทธ์ของโรงเรือนเพาะปลูกที่ใช้ระบบการทำความเย็นแบบแผ่นระเหยน้ำ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/TSAEJ/article/view/259961 <p><span class="fontstyle0"> งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อทดสอบความสามารถในการลดอุณหภูมิ และเพิ่มความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศในโรงเรือนเพาะปลูกที่ติดตั้งระบบทำความเย็นแบบแผ่นระเหยน้ำ โดยการเก็บข้อมูลอุณหภูมิ และความชื้นสัมพัทธ์ภายในโรงเรือนเพาะปลูกที่ใช้ระบบทำความเย็นแบบแผ่นระเหยน้ำ (EC) และระบบระบายอากาศด้วยพัดลม (NEC) ด้วยเซนเซอร์วัดอุณหภูมิ และความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศ ตั้งแต่เวลา 8.00-17.00 น. เป็นเวลา 4 วัน แบ่งเป็นระบบ EC 2 วัน และระบบ NEC 2 วัน ผลการทดสอบ พบว่าระบบ EC สามารถลดอุณหภูมิเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 5-8</span><span class="fontstyle2">ᣞ</span><span class="fontstyle0">C ในวันที่สภาพอากาศค่อนข้างเย็น โรงเรือนมีอุณหภูมิ และความชื้นสัมพัทธ์ภายในโรงเรือนเฉลี่ยต่อวันที่ 18</span><span class="fontstyle2">ᣞ</span><span class="fontstyle0">C และ 78% ตามลำดับ ส่วนในวันที่สภาพอากาศค่อนข้างร้อน โรงเรือนมีอุณหภูมิ และความชื้นสัมพัทธ์ภายในโรงเรือนเฉลี่ยต่อวันที่ 28</span><span class="fontstyle2">ᣞ</span><span class="fontstyle0">C และ 85% ตามลำดับ ส่วนระบบ NEC สามารถลดอุณหภูมิภายในโรงเรือนได้เล็กน้อยแต่ไม่สามารถเพิ่มความชื้นให้กับอากาศได้ จะเห็นได้ว่าโรงเรือนที่ติดตั้งระบบทำความเย็นแบบแผ่นระเหยน้ำ สามารถลดอุณหภูมิในโรงเรือนให้เหมาะสมแก่การปลูกพืชที่ต้องการอุณหภูมิให้อยู่ในช่วง 15-30</span><span class="fontstyle2">ᣞ</span><span class="fontstyle0">C แต่ในส่วนของความชื้นสัมพัทธ์นั้นยังมีค่าเฉลี่ยสูงเกินกว่าที่พืชต้องการ ดังนั้นโรงเรือนเพาะปลูกนี้หากต้องการใช้เพาะปลูกพืชจะต้องทำการพัฒนาระบบให้สามารถควบคุมอุณหภูมิ และความชื้นสัมพัทธ์ให้เหมาะสมกับความต้องการของพืชต่อไป</span> </p> <p> </p> <p> The purpose of this research was to test the ability to reduce the temperature and increase the relative humidity in a greenhouse equipped with an evaporative cooling pad system. By collecting the temperature and relative humidity inside the greenhouse using the evaporative cooling system (EC) and the fan ventilation system or the Non-evaporative cooling pad system (NEC) with temperature and humidity sensors from 8:00 a.m. to 5:00 p.m. 4 days, divided into 2-day EC system and 2-day NEC system. The test results show that the EC system can reduce the average daily temperature to 5-8 ᣞC on a relatively cool day. The mean house temperature and relative humidity were 18 ᣞC and 78 %, respectively. The average daily house temperature and relative humidity were 28 ᣞC and 85 %, respectively. It can be seen that houses equipped with evaporative cooling systems can control the temperature suitable for growing plants that require temperatures in the range of 15-30 ᣞC, but the relative humidity is still above average for plants need. Therefore, this greenhouse, if wanting to grow plants, will have to develop a system to control the relative humidity to suit the needs of plants in the future.</p> Watsapon Junpayap, Tawarat Treeamnuk, Krawee Treeamnuk Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/TSAEJ/article/view/259961 Sat, 28 Dec 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพของโรงงานแปรรูปมันสำปะหลังในอำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา https://li01.tci-thaijo.org/index.php/TSAEJ/article/view/260097 <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพของโรงงานแปรรูปมันสำปะหลังแห่งหนึ่งในอำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา โดยมีน้ำเสียมาจากกระบวนมาผลิตแล้วนำมาผ่านกระบวนการผลิตเป็นก๊าซชีวภาพ จากนั้นนำก๊าซชีวภาพที่ได้มาใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องกำเนิดพลังงานไฟฟ้าเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า โดยผลการศึกษาข้อมูลปริมาณก๊าซชีวภาพของโรงผลิตแป้งมันสำปะหลังขนาด 200 tons of starch day<sup>-1</sup> มีน้ำเสียจากกระบวนการผลิต 2,000 m<sup>3</sup> day<sup>-1</sup> ผลิตก๊าซชีวภาพได้ 16,800 m<sup>3</sup> day<sup>-1</sup> สามารถผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าได้ 28,848 kWh day<sup>-1</sup> กำหนดอายุโครงการที่ 20 years ที่ต้นทุนเงินทุนอยู่ที่ 6% เงินลงทุนโครงการ 64,535,500.00 Baht ผลการศึกษา พบว่า ในกรณีพื้นฐาน มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิเท่ากับ 148,722,796.07 Baht อัตราผลตอบแทนภายในโครงการเท่ากับ 27.35% และระยะเวลาคืนทุนเท่ากับ 3.76 years ซึ่งผลการวิเคราะห์กรณีพื้นฐานมีความคุ้มค่าในการลงทุน และเนื่องจากมันสำปะหลังมีการเก็บเกี่ยวผลผลิตตามฤดูกาลทำให้การเดินเครื่องจักรในการผลิตไม่ได้มีตลอดทั้งปีแม้ในปัจจุบันมีการเก็บผลผลิตนอกฤดูกาลบ้างก็ยังมีปริมาณไม่มากนัก นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์ความอ่อนไหวของโครงการแบ่งเป็น 3 กรณี ได้แก่ กรณีที่ 1 การเดินเครื่อง 75% year<sup>-1</sup> กรณีที่ 2 การเดินเครื่อง 50% year<sup>-1</sup> และกรณีที่ 3 การเดินเครื่อง 25% year<sup>-1</sup> ซึ่งผลการวิเคราะห์ความอ่อนไหวของโครงการทั้ง 3 กรณี พบว่ากรณีที่ 1 มีความน่าสนใจในการลงทุนมากที่สุด รองลงมาคือกรณีที่ 2 ส่วนกรณีที่ 3 การเดินเครื่องจักรผลิตไฟฟ้า 25% ไม่มีความคุ้มค่าในการลงทุนเพราะมูลค่าปัจจุบันสุทธิติดลบและไม่สามารถประเมินค่าได้ผลตอบแทนโครงการได้</p> <p> </p> <p><span class="fontstyle0"> The objective of this research was to conduct a feasibility study for a biogas power generation project at a cassava processing plant in Khonburi District, Nakhon Ratchasima Province. The study involved processing wastewater from the cassava processing into biogas, which was then used as fuel for electric power generators to produce electricity. The cassava starch plant, with a daily capacity of 200 tons of starch, generates 2,000 m<sup>3</sup> day<sup>-1</sup> of wastewater. This wastewater can be processed to produce 16,800 m<sup>3</sup> of biogas day<sup>-1</sup> and generate 28,848 kWh day<sup>-1</sup> of electricity. The project’s lifespan is set at 20 years with a capital cost of 64,535,500 Baht and a cost of capital of 6%.</span></p> <p><span class="fontstyle0"> The results showed that in the fundamental case analysis, the net present value was calculated at 148,722,796.07 Baht, the rate of return within the project is 27.35%, and the payback period is 3.76 years. These results indicate that the fundamental case analysis supports the feasibility and worthiness of the investment. Given<br />that cassava harvesting is seasonal and the production machinery is not available year-round, the sensitivity analysis considered three cases: case 1 with 75% operation year<sup>-1</sup>, case 2 with 50% operation year<sup>-1</sup>, and case 3 with 25% operation year<sup>-1</sup>. The sensitivity analysis revealed that case 1 is the most attractive investment, followed by case 2. However, case 3, with only 25% of the machinery in operation, is not considered a worthwhile investment due<br />to a negative net present value, and the project's return cannot be assessed. <br /></span></p> Kriengkrai Rayanasuk, Anuwat Pachanawan, Naraintorn Boonsong, Ekkamin Saengpukyothin Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/TSAEJ/article/view/260097 Sat, 28 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาเครื่องล้างข่าเหลืองอ่อนแนวตั้งแบบกึ่งอัตโนมัติ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/TSAEJ/article/view/260394 <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิภาพของเครื่องล้างข่าเหลืองอ่อนแนวตั้งแบบกึ่งอัตโนมัติ ซึ่งเป็นการยกระดับการผลิตให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยใช้นวัตกรรมเข้ามาช่วยในการทํางานแบบเดิม เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดจากกระบวนการล้างข่าที่ยังใช้แรงงานคนในการล้าง ซึ่งใช้ระยะเวลานาน และเพื่อช่วยประหยัดน้ำ โดยเครื่องล้างข่าใช้มอเตอร์ขนาด 1.5 hp เป็นต้นกําลัง ซึ่งประกอบด้วยชุดโครงสร้างเครื่อง ชุดถังล้าง ชุดเพลาส่งกําลัง และชุดควบคุมการทํางานของมอเตอร์ ลักษณะการทํางานเหมือนเครื่องซักผ้า <br /> จากผลการทดลองพบว่าเงื่อนไขที่เหมาะสมในการทํางานของเครื่อง คือ ความเร็วรอบ 350 rpm เวลาในการล้าง 15 min ปริมาณน้ำ 40 L น้ำหนักข่าที่ 15 kg ให้ค่าความสะอาดข่าสูงสุด 92% มีอัตราการสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า 3,194 W h <sup>-1 </sup>สามารถล้างข่าได้ 600 kg day<sup> -1</sup> ผลการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์พบว่าต้นทุนการผลิตต่อกิโลกรัมลดลงร้อยละ 70 เมื่อทํางานวันละ 8 hr จะมีระยะเวลาคืนทุนที่ 6 day และจุดคุ้มทุนอยู่ที่ 17 hr year <sup>-1</sup></p> <p> </p> <p>Objectives of this research were to develop and efficiency assessment of Semi-automatic vertical light yellow galangal washing machine. Which raises the level of production to be more efficient by using innovation to help with traditional work. To help solve problems caused by the cleaning process that still uses manual labor to clean and takes a long time. and helps save water. The galangal washing machine uses a 1hp motor as the power source, which consists of a machine structure set, a washing tank set, and a power transmission shaft set. and motor control unit. The results of the experiment found that the optimum conditions for operating the machine are a speed of 350 rpm, a washing time of 15 min, a water volume of 40 L, a galangal weight of 15 Kg, giving the highest galangal cleanliness value of 92%, and an electrical energy consumption rate of 3,194 W. h<sup>-1</sup> can wash 600 Kg of galangal day<sup>-1</sup>. The results of the economic analysis found that the production cost per kilogram is reduced by 70% when working 8 hrs a day. There is a payback period of 6 days and the break-even point is 17 hr year<sup>-1</sup></p> Nirun Promkesa, Wichian Duangsrisen, Duangthip Rukanee Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/TSAEJ/article/view/260394 Fri, 09 Aug 2024 00:00:00 +0700 การประเมินประสิทธิภาพรถตัดอ้อยในเขตภาคเหนือตอนล่าง https://li01.tci-thaijo.org/index.php/TSAEJ/article/view/261502 <p> รถตัดอ้อยมีบทบาทสำคัญในการลดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) จากการเผาใบอ้อยและการขาดแคลนแรงงาน วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อประเมินความสามารถของรถตัดอ้อยขนาดกลาง (MSH) (164-179 kW) และขนาดใหญ่ (LSH) (251-260 kW) ที่ใช้ในเขตภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย ทดสอบรถตัดอ้อยขนาดกลาง 2 รุ่น และขนาดใหญ่ 2 รุ่น ในแปลงอ้อยปลูกพันธุ์ขอนแก่น 3 ระยะห่างระหว่างแถว 1.72 m ความยาวแปลงเฉลี่ย 284.2 m ณ อำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร แปลงดินร่วน ที่ระดับความลึก 0-10 cm มีค่าความชื้นดินเฉลี่ย 13.72%db ความหนาแน่นมวลรวมของดินเฉลี่ย 1.16 g·cm<sup>-3</sup> ผลการทดสอบพบว่า ความเร็วในการเคลื่อนที่และความสามารถในการทำงานของรถตัดอ้อยขนาดกลางและขนาดใหญ่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ความเร็วในการเคลื่อนที่เฉลี่ย 1.04 และ 1.50 m·s<sup>-1</sup> ความสามารถในการทำงาน 30.93 และ 49.62 ตันต่อชั่วโมง ตามลำดับ สิ่งเจือปนรวมไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างรถตัดอ้อยขนาดกลางและขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม เกษตรกรในเขตภาคเหนือตอนล่างส่วนใหญ่ปลูกอ้อยที่มีระยะห่างระหว่างแถว 1.50 m ซึ่งรถตัดอ้อยขนาดกลางสามารถทำงานได้ทั้งระยะห่างระหว่างแถว 1.50 และ 1.72 m โดยไม่เหยียบตออ้อย ส่วนรถตัดอ้อยขนาดใหญ่ไม่เหมาะกับระยะห่างระหว่างแถว 1.50 m</p> <p class="AbstractEng"> Sugarcane harvesters play an important role in the reduction of atmospheric PM2.5 caused by the burning of sugarcane crop and the shortage of labor in sugarcane harvesting. This research aimed at the performance evaluation of medium-size (164-179 kW) and large-size (251-260 kW) sugarcane harvester used in Lower North region of Thailand. Two models of medium-size and two models of large-size sugarcane harvesters were tested in Khon Kaen-3 variety sugarcane field with the row space of 1.72 m and the average row length of 284.2 m at Amphoe Bueng Na Rang, Phichit province. The average moisture of the loam soil, with the soil bulk density of 1.16 g<span lang="TH">·</span>cm<sup>-3</sup>, in the field at the depth of 0-10 cm was 13.87%db. The results showed that the speed and the field capacity of the medium-size and large-size harvesters were significantly different. The average speeds of the medium-size and the large-size harvesters were 1.04 and 1.50 m<span lang="TH">·</span>s<sup>-1</sup>, while the average field capacities were 30.93 and 49.62 tons per hour, respectively. The contamination percentages were not significantly different between the two groups of harvesters. However, the farmers in Lower North region mostly grow their sugarcane with the row space of 1.50 m, which is suitable for medium-size harvesters as the wheels would not damage the sugarcane stubble at row spacing of 1.5<span lang="TH">0</span> and 1.72 m but the large-size is not suitable for the row spacing of 1.<span lang="TH">50</span> m.</p> Piyarat Jitmun, Rattana Karoonboonyanan, Anupong Wongtamee Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/TSAEJ/article/view/261502 Fri, 09 Aug 2024 00:00:00 +0700 ผลของความเร็วลูกนวดเครื่องเกี่ยวนวดถั่วเหลืองต่อการแตกหักและการสูญเสียเมล็ด https://li01.tci-thaijo.org/index.php/TSAEJ/article/view/261990 <p> การศึกษานี้เพื่อประเมินการสูญเสียการและคุณภาพเมล็ดจากการเก็บเกี่ยวถั่วเหลืองพันธุ์ลพบุรี 84-1 ด้วยเครื่องเกี่ยวนวด โดยปรับปรุงมุมครีบวงเดือน ส่วนประกอบล้อโน้ม ความเร็วรอบตะแกรงคัดและระบบลำเลียงเมล็ด แล้วศึกษาความเร็วเชิงเส้นของลูกนวด 2 ระดับคือ 10.72 m.s<sup>-1</sup> (330 rpm) และ 12.83 m.s<sup>-1</sup> (395 rpm) พบว่าการสูญเสียที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เกิดจากการเก็บเกี่ยวไม่หมดและเกิดการร่วงของต้นถั่วที่ถูกตัดแล้วบริเวณหัวเกี่ยวคือ 16.98% และ 14.64 % ส่วนการสูญเสียที่เกิดจากระบบนวดนั้นพบว่ามีปริมาณการสูญเสีย 1.78% และ 1.62% และมีปริมาณของเมล็ดแตกหัก 21.98% และ 26.45% ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย (T-test)</p> <p> This study was to loss and quality seed of harvesting of Lopburi 84-1 soybean with combine harvester by improv rotation control plate angle, wheel head components, speed around the screening sieve and the grain conveying system. Study the linear velocity of the rotor at 2 levels, 10.72 m.s<sup>-1</sup> (330 rpm) and 12.83 m.s<sup>-1</sup> (395 rpm). Discovered most of the damage was found to be from the front part of the harves, loss of threshing was 1.78% and 1.62%, and broken seed was 21.98% and 26.45% .There was no statistical significant difference averages (T-test)</p> Mongkol Tunhaw, Tinnasit Kaisinburasak, Prasat Sangphunta, Wantana Somnuak, Anucha Chowchoot, Nirut boonya Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/TSAEJ/article/view/261990 Sat, 28 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาชุดอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนและแหล่งความร้อนที่นำมาใช้สำหรับการระเหยแก๊สของการอบแห้งลำไยทั้งเปลือก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/TSAEJ/article/view/261098 <p><span class="fontstyle0"> การพัฒนาชุดอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน และแหล่งความร้อนที่นำมาใช้สำหรับการระเหยแก๊สของกระบวนการอบแห้งลำไยทั้งเปลือกด้วยการถ่ายเทความร้อนผ่านอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนแบบขดทองแดงที่มี LPG ไหลภายในท่อทำให้แก๊สที่มีสถานะเป็น<br />ของเหลวเปลี่ยนเป็นไอแก๊สที่รวดเร็วขึ้น และไม่เกิดการแลกเปลี่ยนความร้อนกับสภาพแวดล้อม และศึกษาแหล่งพลังานความร้อน 2 แบบ คือ แหล่งพลังงานความร้อนจากฮีตเตอร์ไฟฟ้าให้กับน้ำ 6,000 W และแหล่งพลังงานความร้อนจากเศษแก๊สที่เหลือก้นถังมาจุดหัว เผาให้ความร้อนกับน้ำ ซึ่งในการออกแบบชุดอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนใช้ข้อมูลเดิมจากการอบแห้งลำไย 24,500 kg ใช้ปริมาณ แก๊ส LPG 102 kg เป็นเวลา 440 min ทำให้มีอัตราการไหลของแก๊ส LPG เท่ากับ 0.00386 kg s</span><sup><span class="fontstyle0">-1 </span></sup><span class="fontstyle0">สามารถนำมาคำนวณหาความยาว ท่อทองแดงได้ 0.30 m และจำนวนการขด 26 ขด และมีเส้นผ่าศูนย์กลางของท่อขดทองแดง (D</span><sub><span class="fontstyle0">c</span></sub><span class="fontstyle0">) เท่ากับ 0.38 m ซึ่งทำการควบคุม โดยการใช้อุณหภูมิของน้ำในชุดอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนเท่ากับ 50 ºC พบว่า ชุดอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนที่มีแหล่งพลังงานความร้อนจากฮีตเตอร์ไฟฟ้า และแหล่งพลังงานความร้อนจากเศษแก๊ส สามารถทำให้แก็ส LPG ระเหยได้ดีและสามารถทำให้อุณหภูมิในตู้อบแห้งทั้ง 4 ตำแหน่ง มีอุณหภูมิสม่ำเสมอ ในตู้อบลำไยทั้งเปลือก และสามารถควบคุมอุณหภูมิภายในถัง (T</span><sub><span class="fontstyle0">tank</span></sub><span class="fontstyle0">) สามารถควบคุมได้ง่าย และสะดวกต่อผู้ใช้ได้ดี และเปรียบเทียบกับระบบเดิมมีต้นทุนการใช้แก๊ส 3,735 บาท (น้ำหนักแก๊สที่ใช้รวมกับน้ำแก๊สเหลือก้นถัง) ระบบใหม่ที่มีชุดอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนที่ใช้ฮีตเตอร์และหัวเผา สามารถลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงจาก LPG คิดเป็นร้อยละ<br />15.85 และ 20.34</span></p> <p> Development of a heat exchange equipment set for the Whole dried longan process. By transferring heat through copper heat exchange equipment with LPG flowing within the tube, turning the liquid gas into gas rapidly and not exchanging heat with the environment, ensuring the safety of LPG gas tanks, the heat sources were studied in two ways: a 6,000 W electric heater and heat from the remaining gas residue ignited to heat the water. Temperature sensors were installed at four locations in the lychee drying room, and the water temperature in the test was set at 60 ºC. It was found that the heat exchange equipment set with heat sources from the electric heater and heat from the remaining gas could efficiently vaporize LPG gas and maintain a consistent temperature at all four locations in the lychee drying room, including the peel. The tank temperature (Ttank) could be easily and conveniently controlled by the user. The consumption of LPG gas was 65.53 kilograms and 57 kilograms for 4 hours of operation, respectively, which resulted in a 9% energy cost reduction</p> Autchara Junphong, Prud Natsawang, Ninlawan Chaitanoo, Anuwat Srinoun, Atchara Chaiya Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/TSAEJ/article/view/261098 Sat, 28 Dec 2024 00:00:00 +0700