@article{พะสีนาม_กาศสนุก_เลาห์รอดพันธ์_2019, title={การออกแบบและพัฒนาเครื่องควบคุมอุณหภูมิ และความชื้นสัมพัทธ์ สำหรับการเพาะต้นอ่อนพืช}, volume={16}, url={https://li01.tci-thaijo.org/index.php/aginujournal/article/view/247977}, abstractNote={<p class="1"><span lang="TH">ปัจจุบันต้นอ่อนพืชเพื่อการบริโภคถือว่าเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีประโยชน์และให้คุณค่าทางอาหารสูง สามารถนำมาประกอบอาหารได้ง่ายและหลากหลาย จึงทำให้เกิดความต้องการจากผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น แต่เนื่องจากการเพาะต้นอ่อนพืชแบบเดิมบนพื้นที่เปิดมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก ต้องคอยดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด ต้นทุนในการผลิตสูง และไม่สามารถควบคุมปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นอ่อนได้ เช่น สภาพแวดล้อม ปริมาณน้ำ ความชื้น อุณหภูมิ แมลงศัตรูพืช และสภาพภูมิอากาศ จึงส่งผลกระทบต่อการเพาะต้นอ่อนพืช ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบเครื่องควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์สำหรับการเพาะต้นอ่อนพืชให้สามารถควบคุมอุณหภูมิและความชื้นภายในเครื่องได้แบบอัตโนมัติ โดยเครื่องเพาะต้นอ่อนพืชแบบอัตโนมัติประกอบไปด้วย 7 ส่วน ดังนี้ 1) ระบบควบคุม 2) เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ 3) หัวสร้างหมอกแบบอัลตร้าโซนิก 4) กล่องบรรจุน้ำ 5) พัดลมป้อนความชื้น 6) พัดลมดูดความชื้นออก และ 7) ชั้นเพาะต้นอ่อนพืช จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าอุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ในช่วง 26-30 องศาเซลเซียส และความชื้นสัมพัทธ์อยู่ระหว่าง 83-87% </span>RH <span lang="TH">ซึ่งเครื่องเพาะต้นอ่อนแบบอัตโนมัตินี้สามารถควบคุมอุณหภูมิและความชื้นได้ตามที่ต้นอ่อนพืชต้องการ</span></p>}, number={2}, journal={วารสารเกษตรนเรศวร}, author={พะสีนาม คงเดช and กาศสนุก ธันวมาส and เลาห์รอดพันธ์ ณรกมล}, year={2019}, month={ธ.ค.}, pages={27–34} }