@article{แหยมคง_2021, title={สถานภาพและรูปแบบการเลี้ยงไก่เหลืองหางขาวของเกษตรกรรายย่อยในจังหวัดพิษณุโลก: Situation and pattern of raising White Tailed-Yellow Chicken of small scale farmers in Phitsanulok province}, volume={18}, url={https://li01.tci-thaijo.org/index.php/aginujournal/article/view/252468}, abstractNote={<p>ไก่เหลืองหางขาว เป็นสัตว์ปีกอัตลักษณ์ประจำเมืองพิษณุโลก และมีตำนานที่กล่าวถึงไก่สายพันธุ์นี้มานาน ปัจจุบันไก่เหลืองหางขาวมีประชากรลดลงจำนวนมาก ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานภาพและรูปแบบการเลี้ยงไก่เหลืองหางขาวของเกษตรกรรายย่อยในจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 23 ราย จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง การเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และใช้สถิติเชิงพรรณาในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เหลืองหางขาวส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (68.18%) มีอายุเฉลี่ย 50.18 ± 14.23 ปี ส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา (47.62%) มีประสบการณ์ในการเลี้ยงไก่เหลืองหางขาว 17.38 ± 8.94 ปี มีการเลี้ยงแบบกึ่งขังกึ่งปล่อย (68.18%) เกษตรกรมีการคัดเลือกสายพันธุ์ไก่เหลืองหางขาว (89.47%) และส่วนใหญ่มีการจดบันทึกข้อมูล (68.42%) นอกจากนี้เกษตรกรมีวัตถุประสงค์ในการเลี้ยงไก่เหลืองหางขาวเพื่อการจำหน่ายมากที่สุด (78.00%) ดังนั้นหน่วยงานต่างๆ ควรให้การสนับสนุนเกษตรกรในการเลี้ยงไก่เหลืองหางขาวให้ตรงกับความต้องการ ต้องได้รับการฝึกอบรมที่เป็นระบบและมีการส่งเสริมสนับสนุนในด้านข้อมูลต่างๆ ในการเลี้ยงและอนุรักษ์ไก่เหลืองหางขาวอย่างถูกต้อง เหมาะสม และต่อเนื่องต่อไป</p>}, number={2}, journal={วารสารเกษตรนเรศวร}, author={แหยมคง สุภาวดี}, year={2021}, month={ธ.ค.}, pages={e0180204} }