https://li01.tci-thaijo.org/index.php/aginujournal/issue/feed วารสารเกษตรนเรศวร 2024-06-30T21:56:40+07:00 Miss Thidarat Suwatwanit aginujournal@gmail.com Open Journal Systems <p><span data-sheets-value="{&quot;1&quot;:2,&quot;2&quot;:&quot;บทความที่รับตีพิมพ์\n1 สาขาวิชาที่เปิดรับการตีพิมพ์ ได้แก่ \n•\tสาขาเกษตรศาสตร์ (พืชศาสตร์ (พืชไร่ พืชสวน ปฐพี กีฏะ โรคพืช วัชพืช ฯลฯ))/ สัตวศาสตร์ และวิทยาศาสตร์การประมง)\n•\tสาขาเทคโนโลยีชีวภาพการเกษตร \n•\tสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร \n•\tสาขาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม\n•\tสาขาภูมิศาสตร์ \n•\tสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง\n2 บทความที่รับตีพิมพ์ ได้แก่ \n•\tบทความวิชาการ \n•\tบทความวิจัย \nหมายเหตุ ต้องเป็นผลงานใหม่ที่ยังไม่เคยพิมพ์เผยแพร่ในสื่อใด ๆ มาก่อนหรืออยู่ระหว่างการดำเนินการพิจารณาของวารสารอื่น&quot;}" data-sheets-userformat="{&quot;2&quot;:513,&quot;3&quot;:{&quot;1&quot;:0},&quot;12&quot;:0}">วารสารเกษตรนเรศวร</span></p> <p><span data-sheets-value="{&quot;1&quot;:2,&quot;2&quot;:&quot;บทความที่รับตีพิมพ์\n1 สาขาวิชาที่เปิดรับการตีพิมพ์ ได้แก่ \n•\tสาขาเกษตรศาสตร์ (พืชศาสตร์ (พืชไร่ พืชสวน ปฐพี กีฏะ โรคพืช วัชพืช ฯลฯ))/ สัตวศาสตร์ และวิทยาศาสตร์การประมง)\n•\tสาขาเทคโนโลยีชีวภาพการเกษตร \n•\tสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร \n•\tสาขาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม\n•\tสาขาภูมิศาสตร์ \n•\tสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง\n2 บทความที่รับตีพิมพ์ ได้แก่ \n•\tบทความวิชาการ \n•\tบทความวิจัย \nหมายเหตุ ต้องเป็นผลงานใหม่ที่ยังไม่เคยพิมพ์เผยแพร่ในสื่อใด ๆ มาก่อนหรืออยู่ระหว่างการดำเนินการพิจารณาของวารสารอื่น&quot;}" data-sheets-userformat="{&quot;2&quot;:513,&quot;3&quot;:{&quot;1&quot;:0},&quot;12&quot;:0}">ISSN : 0859-3027 Online ISSN : 2730-356X</span></p> <p><span data-sheets-value="{&quot;1&quot;:2,&quot;2&quot;:&quot;บทความที่รับตีพิมพ์\n1 สาขาวิชาที่เปิดรับการตีพิมพ์ ได้แก่ \n•\tสาขาเกษตรศาสตร์ (พืชศาสตร์ (พืชไร่ พืชสวน ปฐพี กีฏะ โรคพืช วัชพืช ฯลฯ))/ สัตวศาสตร์ และวิทยาศาสตร์การประมง)\n•\tสาขาเทคโนโลยีชีวภาพการเกษตร \n•\tสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร \n•\tสาขาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม\n•\tสาขาภูมิศาสตร์ \n•\tสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง\n2 บทความที่รับตีพิมพ์ ได้แก่ \n•\tบทความวิชาการ \n•\tบทความวิจัย \nหมายเหตุ ต้องเป็นผลงานใหม่ที่ยังไม่เคยพิมพ์เผยแพร่ในสื่อใด ๆ มาก่อนหรืออยู่ระหว่างการดำเนินการพิจารณาของวารสารอื่น&quot;}" data-sheets-userformat="{&quot;2&quot;:513,&quot;3&quot;:{&quot;1&quot;:0},&quot;12&quot;:0}">กำหนดเผยแพร่ : 2 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 <span style="font-weight: 400;">มกราคม – มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม </span></span></p> <p><span data-sheets-value="{&quot;1&quot;:2,&quot;2&quot;:&quot;บทความที่รับตีพิมพ์\n1 สาขาวิชาที่เปิดรับการตีพิมพ์ ได้แก่ \n•\tสาขาเกษตรศาสตร์ (พืชศาสตร์ (พืชไร่ พืชสวน ปฐพี กีฏะ โรคพืช วัชพืช ฯลฯ))/ สัตวศาสตร์ และวิทยาศาสตร์การประมง)\n•\tสาขาเทคโนโลยีชีวภาพการเกษตร \n•\tสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร \n•\tสาขาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม\n•\tสาขาภูมิศาสตร์ \n•\tสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง\n2 บทความที่รับตีพิมพ์ ได้แก่ \n•\tบทความวิชาการ \n•\tบทความวิจัย \nหมายเหตุ ต้องเป็นผลงานใหม่ที่ยังไม่เคยพิมพ์เผยแพร่ในสื่อใด ๆ มาก่อนหรืออยู่ระหว่างการดำเนินการพิจารณาของวารสารอื่น&quot;}" data-sheets-userformat="{&quot;2&quot;:513,&quot;3&quot;:{&quot;1&quot;:0},&quot;12&quot;:0}">นโยบายและขอบเขตการตีพิพม์ : บทความที่รับตีพิมพ์บทความวิชาการ ได้แก่ บทความวิจัย (Research Articles) และบทความปริทัศน์ (Review articles) <span style="font-weight: 400;">โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือคณาจารย์ นักศึกษา และนักวิจัยทั้งในและนอกสถาบัน</span> </span><span data-sheets-value="{&quot;1&quot;:2,&quot;2&quot;:&quot;บทความที่รับตีพิมพ์\n1 สาขาวิชาที่เปิดรับการตีพิมพ์ ได้แก่ \n•\tสาขาเกษตรศาสตร์ (พืชศาสตร์ (พืชไร่ พืชสวน ปฐพี กีฏะ โรคพืช วัชพืช ฯลฯ))/ สัตวศาสตร์ และวิทยาศาสตร์การประมง)\n•\tสาขาเทคโนโลยีชีวภาพการเกษตร \n•\tสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร \n•\tสาขาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม\n•\tสาขาภูมิศาสตร์ \n•\tสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง\n2 บทความที่รับตีพิมพ์ ได้แก่ \n•\tบทความวิชาการ \n•\tบทความวิจัย \nหมายเหตุ ต้องเป็นผลงานใหม่ที่ยังไม่เคยพิมพ์เผยแพร่ในสื่อใด ๆ มาก่อนหรืออยู่ระหว่างการดำเนินการพิจารณาของวารสารอื่น&quot;}" data-sheets-userformat="{&quot;2&quot;:513,&quot;3&quot;:{&quot;1&quot;:0},&quot;12&quot;:0}"><br /><br />หมายเหตุ ต้องเป็นผลงานใหม่ที่ยังไม่เคยพิมพ์เผยแพร่ในสื่อใด ๆ มาก่อนหรืออยู่ระหว่างการดำเนินการพิจารณาของวารสารอื่น</span></p> https://li01.tci-thaijo.org/index.php/aginujournal/article/view/263085 การพัฒนาระบบจัดการฟาร์มเลี้ยงไก่อัจฉริยะด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งและ ข้อมูลสารสนเทศ 2024-05-05T14:57:32+07:00 Thanyananthapond Supachan tantikas62@nu.ac.th <p>ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม มีการจำแนกเป็น 4 กลุ่มหลักๆ ได้แก่การปลูกพืช การประมง การเกษตรผสมผสาน และการปศุสัตว์ โดยปัจจุบันมีการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาปรับปรุงและประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมากขึ้น โดยเฉพาะด้านการปศุสัตว์ เช่น ฟาร์มไก่ไข่ มีการนำเอาเทคโนโลยี เซนเซอร์ เข้ามาช่วยในการตรวจวัด อุณหภูมิ ความชื้น แก๊สแอมโมเนีย และแสงสว่าง ที่ใช้ในการควบคุมสิ่งแวดล้อมภายในฟาร์มไก่ไข่ ซึ่งสภาพแวดล้อมภายในฟาร์มไก่ไข่เป็นสิ่งสำคัญในการเลี้ยงไก่ไข่ เพราะจะส่งผลต่อตัวแม่ไก่และไข่ ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาเซนเซอร์ และนำข้อมูลที่ได้จากเซนเซอร์มาวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับการเก็บไข่ที่มีปัญหาทั้ง 11 ประเภท โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงพื้นที่ ผลลัพธ์ที่ได้พบว่า เซนเซอร์ที่ได้พัฒนาขึ้นมีการส่งข้อมูลและมีการแสดงผลแบบเรียลไทม์บน Smart phone (MQTTool) ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า อุณภูมิและความชื้นที่สูงมีผลกับการออกไข่ของแม่ไก่ โดยไข่ที่พบในบริเวณที่มีการวิเคราะห์ คือ ไข่ซีด และแก๊สแอมโมเนียที่สูงไม่มีผลกับการออกไข่ของแม่ไก่ เนื่องจากการเก็บไข่ที่มีปัญหาพบมากในแก๊สแอมโมเนียที่ต่ำ ส่วนแสงสว่างมีการใช้งานปกติและมีผลกับการออกไข่ของไก่ เนื่องจากไก่ได้รับแสงสว่างที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต ซึ่งงานวิจัยนี้จะทำให้เกษตรกรสามารถรับรู้สภาพแวดล้อมภายในฟาร์มไก่ไข่ได้อย่างแม่นยำ ทำให้สามารถตรวจสอบและควบคุมสภาพแวดล้อมอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากขึ้น</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรนเรศวร https://li01.tci-thaijo.org/index.php/aginujournal/article/view/259215 ผลของอุณหภูมิ ความชื้น และฤดูกาลต่อระดับคอร์ติซอลในโคนมสายพันธุ์โฮลสไตน์ฟรีเชียน 2023-12-25T16:19:18+07:00 Wannaluk Thaworn wannaluk.333@gmail.com <p>อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์เป็นปัจจัยหลักสำคัญซึ่งเกี่ยวข้องกับการจัดการความเครียดในโคนมและส่งผลต่อการผลิตน้ำนม วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลของโคนมแม่พันธุ์โฮลสไตน์ฟรีเชียนที่ได้รับอิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิสิ่งแวดล้อม และความชื้นในอากาศในช่วงฤดูกาลต่างๆ ในจังหวัดลำพูน ด้วยเทคนิค Sandwich ELISA โดยใช้ความเข้มข้นของปริมาณคอร์ติซอลเป็นค่ามาตรฐาน 0, 0.039, 0.078, 0.156, 0.315, 0.625, 1.25, 5 และ 10 ng/ml &nbsp;เพื่อใช้ในการคำนวณปริมาณฮอร์โมนคอร์ติซอลในตัวอย่างสารสกัดจากมูลโค จากผลการศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิ 28.16°C ความชื้นสัมพัทธ์ 34.36% ค่า THI 72.40% และปริมาณของฮอร์โมนคอร์ติซอล 12.84 ng/ml ซึ่งปริมาณของฮอร์โมนคอร์ติซอลในฤดูฝนมีค่าเฉลี่ยที่ 16.96 ± 7.83 ng/ml ซึ่งมีค่าสูงกว่าในฤดูหนาว (7.94 ± 3.01 ng/ml) เนื่องจากมีความสัมพันธ์กับความชื้นสัมพัทธ์ที่วัดได้ภายในโรงเรือนพบว่ามีค่าความสูงช่วงฤดูฝนของเดือนสิงหาคมและตุลาคม โดยค่าความความชื้นที่วัดได้ 52.29 และ 54.19 % ตามลำดับ และอุณภูมิในช่วงฤดูหนาวมีความแปรปรวนของสภาพอากาศก่อนที่จะเข้าสู่ฤดูร้อนจึงส่งผลต่อปริมาณฮอร์โมนคอร์ติซอลในฤดูหนาวสูงกว่าในฤดูร้อน รวมถึงความชื้นที่สูงช่วงฤดูหนาวของเดือนมกราคมซึ่งมีความชื้นสูงถึง 52.71% นอกจากนี้ปริมาณของฮอร์โมนคอร์ติซอลต่ำสุดในช่วงฤดูร้อน 7.03 ± 2.93 ng/ml ผลการศึกษาพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิ ความชื้น และฤดูกาลต่อระดับคอร์ติซอลในโคนมสายพันธุ์โฮลสไตน์ฟรีเชียน ค่าเฉลี่ยปริมาณคอร์ติซอลต่ออุณหภูมิอากาศมีค่าสหสัมพันธ์เท่ากับ 0.17 (P&lt;0.05) และค่าเฉลี่ยปริมาณคอร์ติซอลต่อ ความชื้นสัมพัทธ์ ฤดูกาล และ ค่า THI มีค่าสหสัมพันธ์เท่ากับ 0.435, 0.543 และ 0.347 ตามลำดับ (P&lt;0.01) ดังนั้นจากการศึกษาในครั้งนี้พบว่าอุณภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ และฤดูกาล มีผลต่อปริมาณคอร์ติซอลซึ่งแสดงถึงความเครียดในโคนมสายพันธุ์โฮลสไตน์ฟรีเชียน</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรนเรศวร https://li01.tci-thaijo.org/index.php/aginujournal/article/view/263166 Efficacy of S-Metolachlor and Acetochlor on Weed Control in Sweet Corn 2024-04-30T11:36:46+07:00 ดวงประทีป มะลิดวง duangprateepm62@nu.ac.th <p>วัชพืชรบกวนการเจริญเติบโตของข้าวโพดหวานโดยการแก่งแย่งแข่งขันปัจจัยต่าง ๆ ส่งผลกระทบให้ผลผลิตข้าวโพดหวานลดลง เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดหวานจังหวัดสุโขทัย นิยมใช้สารกำจัดวัชพืชอาทราซีนตามด้วยพาราควอต อย่างไรก็ตามพาราควอตมีประกาศห้ามใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 ทำให้ต้องหาสารชนิดอื่นทดแทน งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนงอก ได้แก่ เอส-เมโทลาคลอร์และอะเซโทคลอร์ต่อการควบคุมวัชพืชในข้าวโพดหวาน ดำเนินการทดลองในแปลงเกษตรกร อ.ศรีสำโรง จ.สุโขทัย ระหว่างเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 - กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 วางแผนการทดลองแบบ RCBD มี 5 ซ้ำประกอบด้วย 11 กรรมวิธี ได้แก่ การไม่กำจัดวัชพืช, การกำจัดวัชพืชด้วยจอบ 2 ครั้ง, การกำจัดวัชพืชด้วยวิธีของเกษตรกร (อาทราซีนตามด้วยพาราวอต), การพ่นสารกำจัดวัชพืชอะเซโทคลอร์ อัตรา 340 และ 538 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ ที่ 1 และ 7 วันหลังปลูก, การพ่นสารกำจัดวัชพืชเอส-เมโทลาคลอร์อัตรา 255 และ 340 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ ที่ 1 และ 7 วันหลังปลูก ผลปรากฏว่า วัชพืชที่สำคัญในพื้นที่ ได้แก่ หญ้านกสีชมพู หญ้าตีนนก และแห้วหมู การพ่นสารเอสเมโทลาคลอร์ทั้งสองอัตรา ที่ 1 และ 7 วันหลังปลูก สามารถควบคุมวัชพืชได้ดีกว่าสารวัชพืชอะเซโทคลอร์ และกรรมวิธีของเกษตรกร โดยมีจำนวนวัชพืชและน้ำหนักแห้งน้อยกว่าอย่างมีน้อยสำคัญ ผลต่อผลผลิตข้าวโพดหวาน พบว่า การพ่นสารกำจัดวัชพืชเอส-เมโทลาคลอร์ทั้งสองอัตรา ที่ 1 หรือ 7 วันหลังปลูก ให้จำนวนฝัก และน้ำหนักฝักสด ซึ่งมากกว่า กรรมวิธีการอื่น ๆ และไม่แตกต่างกันกับการกำจัดวัชพืชด้วยจอบ หลังการเก็บเกี่ยวข้าวโพดหวานได้นำดินที่ความลึก 0–15 และ 15–30 เซนติเมตร ทดสอบการตกค้างของสารด้วยวิธีการทดสอบทางชีวภาพต่อข้าวสาลี พบว่า ที่ความลึก 0–15 การพ่นด้วยเอส-เมทาโลคลอร์และอะเซโทคลอร์ ทั้งสองอัตราให้ผลต่อน้ำหนักแห้งของข้าวสาลีไม่แตกต่างกันกับกำจัดวัชพืชด้วยจอบ ส่วนที่ระดับความลึก 15–30 เซนติเมตร พบว่า สารกำจัดวัชพืชเอส-เมโทลาคลอร์ที่อัตรา&nbsp;340 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ ที่ 7 วันหลังปลูก ให้น้ำหนักแห้งของข้าวสาลีน้อยกว่ากรรมวิธีการอื่นๆ&nbsp; แสดงให้เห็นว่าอาจจะเกิดการตกค้างของสารในดินที่ความลึกระดับ 15–30 เซนติเมตร ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าสารเอสเมโทลาคลอร์ทั้งสองอัตรา พ่นที่ 1 หรือ 7 วันหลังปลูก สามารถควบคุมวัชพืชในข้าวโพดหวานได้ดีกว่าสารอะเซโทคลอร์ อย่างไรก็ตามเอสเมโทลาคลอร์อัตรา 340 กรัม อาจจะเป็นเกิดการตกค้างของสารในดินที่ระดับความลึก 15 – 30 เซนติเมตร ซึ่งจะต้องพิจารณาชนิดของพืชที่จะปลูกในรอบต่อไป</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรนเรศวร https://li01.tci-thaijo.org/index.php/aginujournal/article/view/261525 การลดเกลือในไข่ขาวเค็มและการประยุกต์ใช้ในโจ๊กกึ่งสำเร็จรูปเสริมโปรตีนไข่ขาว 2024-01-12T15:16:35+07:00 Kotchakorn Kanhariiang kotchakornk64@nu.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการลดเกลือในไข่ขาวเค็มโดยวิธีการต้ม และศึกษาอัตราส่วนของปริมาณข้าวและปริมาณไข่ขาวเค็มที่ผ่านการลดเกลือต่อสมบัติทางเคมีกายภาพของโจ๊กกึ่งสำเร็จรูปเสริมโปรตีนไข่ขาว โดยศึกษาอัตราส่วนข้าวไรซ์เบอร์รี่ต่อไข่ขาว คือ 100:0, 80:20, 60:40, 40:60, และ 20:80 จากการศึกษาพบว่า สภาวะที่เหมาะสมในการลดเกลือโดยใช้วิธีต้มที่จำนวนรอบการต้ม 5 รอบ สามารถกำจัดเกลือได้ 97.32%<br>มีปริมาณโปรตีน 97.93% และปริมาณผลผลิต 95.02% มีความเหมาะสมสำหรับนำไปผลิตเป็นโจ๊กกึ่งสำเร็จรูปเสริมโปรตีนไข่ขาวได้ การศึกษาอัตราส่วนของปริมาณข้าวและปริมาณไข่ขาวเค็มที่ผ่านการลดเกลือต่อสมบัติทางเคมีกายภาพ พบว่า ปริมาณอะไมโลส ค่าความหนืดสูงสุด (peak viscosity) ค่าความหนืดที่ต่ำที่สุดในช่วงการทำให้เย็น (holding strength) ผลต่างระหว่างค่าความหนืดสูงสุด และค่าความหนืดต่ำสุด (breakdown) ค่าความ<br>หนืดสุดท้าย (final viscosity) ค่าการคืนตัว (setback) และอุณหภูมิที่เริ่มเปลี่ยนแปลงค่าความหนืด (pasting temperature) มีค่าลดลง เมื่อปริมาณไข่ขาวเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ค่าเวลาที่เกิดความหนืดสูงสุด (peak time) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สำหรับสมบัติด้านรีโอโลยี พบว่า เมื่อปริมาณไข่ขาวเพิ่มมากขึ้น ทำให้ตัวอย่างมีลักษณะเป็นของแข็งมากกว่าของเหลว และมีความยืดหยุ่นเพิ่มมากขึ้น โดยสูตรที่เติมไข่ขาว 80% มีค่า G' และ G" สูงที่สุด และ<br>สูตรที่เติมไข่ขาว 20% มีค่า G' และ G" ต่ำที่สุด ในขณะที่ค่า tan δ ของทุกตัวอย่าง มีค่าน้อยกว่า 1</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรนเรศวร https://li01.tci-thaijo.org/index.php/aginujournal/article/view/261573 ประสิทธิภาพของสารสกัดใบกระท่อมต่อการยับยั้งเชื้อ Salmonella typhimurium และ Escherichia coli ในเนื้อไก่ 2023-12-27T09:23:50+07:00 kamonpun chauckwon kamonpun.oum@gmail.com Peerawat Choopeng peerawat.chu@sru.ac.th Nusawan boonwong nusawan_nr@hotmail.com <p>กระท่อมเป็นพืชสมุนไพรพื้นบ้านที่มีการใช้ทั่วไปในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย ปัจจุบันมีการนำใบกระท่อมมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์จากคุณสมบัติทางเภสัชวิทยา งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการสกัดสารและฤทธิ์ของสารสกัดต่อการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย <em>Salmonella typhimurium (S. typhimurium)</em><em>&nbsp;</em>และ <em>Escherichia coli (E. coli)</em> ด้วยวิธี Agar well diffusion และต่อคุณภาพเนื้อไก่สด ผลการศึกษาพบว่าสารสกัดจากใบพืชกระท่อมด้วยเอทานอลสามารถต้านการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย <em>S. typhimurium</em> และ <em>E. coli </em>ได้มีประสิทธิภาพกว่าการสกัดใบพืชกระท่อมด้วยน้ำ ค่าความเข้มข้นของสารสกัดกระท่อมด้วยเอทานอลในระดับต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย <em>S. typhimurium</em> และ <em>E. coli </em>เท่ากับ 200 mg/ml ผลการใช้สารสกัดใบพืชกระท่อมด้วยเอทานอลในเนื้อสัตว์ต่อค่าความเป็นกรด-ด่างของเนื้อ เปอร์เซ็นต์การสูญเสียจากการต้ม และจำนวนเชื้อแบคทีเรียรวมในเนื้อไก่ พบว่าสารสกัดใบพืชกระท่อมด้วยเอทานอลสามารถยับยั้งการเจริญ เติบโตของแบคทีเรียในเนื้อไก่ ชะลอการลดลงของค่าความเป็นกรดในเนื้อ ลดเปอร์เซ็นต์การสูญเสียจากการต้ม</p> <p>&nbsp;</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรนเรศวร https://li01.tci-thaijo.org/index.php/aginujournal/article/view/261998 การคัดแยกลิ้นจี่พรีเมียมแบบไม่ทำลายตัวอย่างด้วยเนียร์อินฟราเรดสเปกโตรสโคปี 2024-02-08T16:44:09+07:00 Sawinee Salabsee sawinees65@nu.ac.th สนธยา นุ่มท้วม sonthayan@nu.ac.th สุพรรณิกา อินต๊ะนนท์ suphannikai@nu.ac.th ชญาณิศ ศรีงาม chayanids62@nu.ac.th เสาวลักษณ์ รุ่งแจ้ง saowalukr@nu.ac.th <p><span class="notion-enable-hover" data-token-index="0">านวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการคัดแยกลิ้นจี่แบบรวดเร็วด้วยเทคนิคเนียร์อินฟราเรดสเปกโตรสโคปี ดำเนินการศึกษาโดยใช้ลิ้นจี่สายพันธุ์ป้าชิดเพื่อทำการคัดแยกลิ้นจี่พรีเมียมที่มีขนาดเมล็ดลีบเนื้อเยอะออกจากลิ้นจี่ขนาดเมล็ดปกติด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก พร้อมทั้งสร้างสมการการทำนายปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายน้ำได้ (Total soluble solid: TSS) และปริมาณกรดที่ไทเทรตได้ (Titratable acidity: TA) ด้วยวิธี partial least square regression นำตัวอย่างผลลิ้นจี่มาทำการวัดค่าการดูดกลืนแสงเนียร์อินฟราเรดที่ช่วงเลขคลื่น 12000-4000 cm-1 ด้วยโหมดสะท้อนกลับ โดยวัดสเปกตรัมผลลิ้นจี่ 3 ตำแหน่ง คือ ขั้วผล แก้มผล และท้ายผล ผลการทดลองพบว่าวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบหลักสามารถแยกกลุ่มลิ้นจี่พรีเมียมออกจากลิ้นจี่ทั่วไปได้ โดยสเปกตรัมของผลลิ้นจี่ที่ตำแหน่งแก้มผลมีประสิทธิภาพในการคัดแยกเกรดลิ้นจี่ได้ดีกว่าตำแหน่งขั้วผลและตำแหน่งท้ายผล ซึ่งให้ความแม่นยำในการคัดแยกสูงสุดที่ 96.78% สำหรับประสิทธิภาพในการทำนายค่า TSS และ TA ในผลลิ้นจี่นั้นพบว่า ให้ผลเป็นที่น่าพึงพอใจ โดยแบบจำลองที่ดีที่สุดสำหรับการทำนาย TSS และ TA มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (R) มากกว่า 0.90 และค่าความคลาดเคลื่อนจากการทำนาย (RMSECV) เท่ากับ 0.414% และ 0.038% ตามลำดับ ดังนั้นเทคนิคเนียร์อินฟราเรดสเปกโตรสโคปีจึงมีความเป็นไปได้ในการคัดแยกลิ้นจี่เกรดพรีเมียม รวมทั้งการตรวจสอบค่า TSS และ TA ของลิ้นจี่แบบรวดเร็วและไม่ทำลายตัวอย่างได้</span><!-- notionvc: 0fe47512-72de-41b9-99a4-a0b237b93634 --></p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรนเรศวร https://li01.tci-thaijo.org/index.php/aginujournal/article/view/262700 Starter culture selection and characterization of probiotic-supplemented sweet fermented rice (Pang Kao Mak) from Leum Pua glutinous rice (Oryza sativa L. variety Leum Pua) 2024-04-09T15:51:36+07:00 Noraphat Hwanhlem noraphath@nu.ac.th <p>การคัดเลือกกล้าเชื้อและศึกษาคุณสมบัติของแป้งข้าวหมากจากข้าวเหนียวลืมผัวเสริมโพรไบโอติก โดยใช้ลูกแป้งจาก น่าน แพร่ สุโขทัย และลำปาง เป็นกล้าเชื้อ สำหรับผลิตแป้งข้าวหมากเสริมโพรไบโอติก <em>Saccharomyces boulardii</em> CNCM I-745 พบว่าแป้งข้าวหมากที่ผลิตโดยใช้ลูกแป้งจากสุโขทัยได้รับคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบทางประสาทสัมผัสทั้งหมดสูงกว่าชุดการทดลองอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P&lt;0.05) เมื่อเก็บรักษาแป้งข้าวหมากเสริมโพรไบโอติกที่ผลิตโดยใช้ลูกแป้งจากสุโขทัยที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 56 วัน พบว่าที่ระยะเวลาต่าง ๆ ค่าสี ความเป็นกรด-ด่าง ปริมาณของแข็งที่ละลายได้ ปริมาณแอลกอฮอล์ และปริมาณแอนโทไซยานินมีความแตกต่างกัน (P&lt;0.05) ในขณะที่จำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมด ยีสต์ และแบคทีเรียแลกติกมีแนวโน้มลดลง (P&lt;0.05) และตรวจไม่พบจุลินทรีย์ที่ก่อโรคในระบบทางเดินอาหาร และพบว่าแป้งข้าวหมากเสริมโพรไบโอติกได้รับคะแนนต่างกับแป้งข้าวหมากทางการค้าบางยี่ห้อทางด้านเนื้อสัมผัส ความหวานและความชอบโดยรวม (P&lt;0.05) และมีค่าความเป็นกรด-ด่างที่สูงกว่าและมีปริมาณของแข็งที่ละลายได้และปริมาณแอลกอฮอล์ที่ต่ำกว่าผลิตภัณฑ์แป้งข้าวหมากยี่ห้ออื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P&lt;0.05) การวิจัยนี้ทำให้ได้อาหารสุขภาพที่มีความปลอดภัยและมีคุณสมบัติตรงต่อความต้องการของผู้บริโภค</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรนเรศวร https://li01.tci-thaijo.org/index.php/aginujournal/article/view/262788 การใช้สูตรน้ำมันหอมระเหยจากพืชร่วมกับคาร์บอนไดออกไซด์ในการควบคุมแมลงศัตรูในโรงเก็บ 2024-04-22T12:36:57+07:00 Thanaporn Doungnapa k.thanapornmilk@gmail.com <p>การทดสอบประสิทธิภาพการรมของสูตรน้ำมันหอมระเหยที่มีจันทร์แปดกลีบ (S) เทียนข้าวเปลือก (D) และตะไคร้บ้าน (L) เป็นองค์ประกอบในอัตราส่วนต่างๆ ต่อด้วงงวงข้าวโพด โดยกำหนดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่ต่ำกว่า 80% โดยปริมาตร อัตราการใช้ 18 µl/ L air ที่ 6 ชั่วโมง พบว่าน้ำมันหอมระเหยสูตร S3L1 10% มีประสิทธิภาพสูงมาก โดยพบเปอร์เซ็นต์การตายถึง 79.82% รองลงมาคือสูตร S3L2 และ S3D1 มีเปอร์เซ็นต์การตายเท่ากับ 63.92-69.76% และ 59.28-66.36% ตามลำดับ และจากการทดสอบการรมที่เลียนแบบธรรมชาติโดยนำด้วงงวงข้าวโพดบรรจุในหลอดทดสอบและแทรกในกระสอบข้าวสารตามจุดต่างๆ รมที่ 24 ชั่วโมง ด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ร่วมกับเอทานอล (กลุ่มควบคุม) มีผลทำให้ด้วงงวงข้าวโพดตายเพียง 6.70% ขณะที่การใช้สูตรน้ำมันหอมระเหย S3L1 10% ร่วมกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีการตายถึง 93.99% และเมื่อทำการรมที่ 48 ชั่วโมง พบการตายของแมลงในอัตราที่ใกล้เคียงกันโดยที่การใช้สูตรน้ำมันหอมระเหยมีการตายถึง 100% ส่วนการรมแมลงทั้ง 3 ชนิด คือ ด้วงงวงข้าวโพด มอดแป้ง และมอดฟันเลื่อย มีเปอร์เซ็นต์การตายของแมลงอยู่ที่ 99.52-100% และจากความแตกต่างในคุณภาพของข้าวสารที่เกิดจากการรม พบว่าด้านของสีและคุณภาพที่สังเกตได้ในเบื้องต้น ทั้งข้าวสารและข้าวสวย มีความแตกต่างไม่มากนัก</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรนเรศวร