วารสารเกษตรนเรศวร https://li01.tci-thaijo.org/index.php/aginujournal <p><span data-sheets-value="{&quot;1&quot;:2,&quot;2&quot;:&quot;บทความที่รับตีพิมพ์\n1 สาขาวิชาที่เปิดรับการตีพิมพ์ ได้แก่ \n•\tสาขาเกษตรศาสตร์ (พืชศาสตร์ (พืชไร่ พืชสวน ปฐพี กีฏะ โรคพืช วัชพืช ฯลฯ))/ สัตวศาสตร์ และวิทยาศาสตร์การประมง)\n•\tสาขาเทคโนโลยีชีวภาพการเกษตร \n•\tสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร \n•\tสาขาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม\n•\tสาขาภูมิศาสตร์ \n•\tสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง\n2 บทความที่รับตีพิมพ์ ได้แก่ \n•\tบทความวิชาการ \n•\tบทความวิจัย \nหมายเหตุ ต้องเป็นผลงานใหม่ที่ยังไม่เคยพิมพ์เผยแพร่ในสื่อใด ๆ มาก่อนหรืออยู่ระหว่างการดำเนินการพิจารณาของวารสารอื่น&quot;}" data-sheets-userformat="{&quot;2&quot;:513,&quot;3&quot;:{&quot;1&quot;:0},&quot;12&quot;:0}">วารสารเกษตรนเรศวร</span></p> <p><span data-sheets-value="{&quot;1&quot;:2,&quot;2&quot;:&quot;บทความที่รับตีพิมพ์\n1 สาขาวิชาที่เปิดรับการตีพิมพ์ ได้แก่ \n•\tสาขาเกษตรศาสตร์ (พืชศาสตร์ (พืชไร่ พืชสวน ปฐพี กีฏะ โรคพืช วัชพืช ฯลฯ))/ สัตวศาสตร์ และวิทยาศาสตร์การประมง)\n•\tสาขาเทคโนโลยีชีวภาพการเกษตร \n•\tสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร \n•\tสาขาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม\n•\tสาขาภูมิศาสตร์ \n•\tสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง\n2 บทความที่รับตีพิมพ์ ได้แก่ \n•\tบทความวิชาการ \n•\tบทความวิจัย \nหมายเหตุ ต้องเป็นผลงานใหม่ที่ยังไม่เคยพิมพ์เผยแพร่ในสื่อใด ๆ มาก่อนหรืออยู่ระหว่างการดำเนินการพิจารณาของวารสารอื่น&quot;}" data-sheets-userformat="{&quot;2&quot;:513,&quot;3&quot;:{&quot;1&quot;:0},&quot;12&quot;:0}">ISSN : 0859-3027 Online ISSN : 2730-356X</span></p> <p><span data-sheets-value="{&quot;1&quot;:2,&quot;2&quot;:&quot;บทความที่รับตีพิมพ์\n1 สาขาวิชาที่เปิดรับการตีพิมพ์ ได้แก่ \n•\tสาขาเกษตรศาสตร์ (พืชศาสตร์ (พืชไร่ พืชสวน ปฐพี กีฏะ โรคพืช วัชพืช ฯลฯ))/ สัตวศาสตร์ และวิทยาศาสตร์การประมง)\n•\tสาขาเทคโนโลยีชีวภาพการเกษตร \n•\tสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร \n•\tสาขาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม\n•\tสาขาภูมิศาสตร์ \n•\tสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง\n2 บทความที่รับตีพิมพ์ ได้แก่ \n•\tบทความวิชาการ \n•\tบทความวิจัย \nหมายเหตุ ต้องเป็นผลงานใหม่ที่ยังไม่เคยพิมพ์เผยแพร่ในสื่อใด ๆ มาก่อนหรืออยู่ระหว่างการดำเนินการพิจารณาของวารสารอื่น&quot;}" data-sheets-userformat="{&quot;2&quot;:513,&quot;3&quot;:{&quot;1&quot;:0},&quot;12&quot;:0}">กำหนดเผยแพร่ : 2 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 <span style="font-weight: 400;">มกราคม – มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม </span></span></p> <p><span data-sheets-value="{&quot;1&quot;:2,&quot;2&quot;:&quot;บทความที่รับตีพิมพ์\n1 สาขาวิชาที่เปิดรับการตีพิมพ์ ได้แก่ \n•\tสาขาเกษตรศาสตร์ (พืชศาสตร์ (พืชไร่ พืชสวน ปฐพี กีฏะ โรคพืช วัชพืช ฯลฯ))/ สัตวศาสตร์ และวิทยาศาสตร์การประมง)\n•\tสาขาเทคโนโลยีชีวภาพการเกษตร \n•\tสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร \n•\tสาขาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม\n•\tสาขาภูมิศาสตร์ \n•\tสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง\n2 บทความที่รับตีพิมพ์ ได้แก่ \n•\tบทความวิชาการ \n•\tบทความวิจัย \nหมายเหตุ ต้องเป็นผลงานใหม่ที่ยังไม่เคยพิมพ์เผยแพร่ในสื่อใด ๆ มาก่อนหรืออยู่ระหว่างการดำเนินการพิจารณาของวารสารอื่น&quot;}" data-sheets-userformat="{&quot;2&quot;:513,&quot;3&quot;:{&quot;1&quot;:0},&quot;12&quot;:0}">นโยบายและขอบเขตการตีพิพม์ : บทความที่รับตีพิมพ์บทความวิชาการ ได้แก่ บทความวิจัย (Research Articles) และบทความปริทัศน์ (Review articles) <span style="font-weight: 400;">โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือคณาจารย์ นักศึกษา และนักวิจัยทั้งในและนอกสถาบัน</span> สาขาวิชาที่เปิดรับการตีพิมพ์ </span><span data-sheets-value="{&quot;1&quot;:2,&quot;2&quot;:&quot;บทความที่รับตีพิมพ์\n1 สาขาวิชาที่เปิดรับการตีพิมพ์ ได้แก่ \n•\tสาขาเกษตรศาสตร์ (พืชศาสตร์ (พืชไร่ พืชสวน ปฐพี กีฏะ โรคพืช วัชพืช ฯลฯ))/ สัตวศาสตร์ และวิทยาศาสตร์การประมง)\n•\tสาขาเทคโนโลยีชีวภาพการเกษตร \n•\tสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร \n•\tสาขาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม\n•\tสาขาภูมิศาสตร์ \n•\tสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง\n2 บทความที่รับตีพิมพ์ ได้แก่ \n•\tบทความวิชาการ \n•\tบทความวิจัย \nหมายเหตุ ต้องเป็นผลงานใหม่ที่ยังไม่เคยพิมพ์เผยแพร่ในสื่อใด ๆ มาก่อนหรืออยู่ระหว่างการดำเนินการพิจารณาของวารสารอื่น&quot;}" data-sheets-userformat="{&quot;2&quot;:513,&quot;3&quot;:{&quot;1&quot;:0},&quot;12&quot;:0}">ได้แก่ <br /> • สาขาวิทยาศาสตร์การเกษตร/เกษตรศาสตร์ (พืชศาสตร์ (พืชไร่ พืชสวน ปฐพี กีฏะ โรคพืช วัชพืช ฯลฯ)/ สัตวศาสตร์ และวิทยาศาสตร์การประมง)<br /> • สาขาเทคโนโลยีชีวภาพการเกษตร <br />• สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร <br />• สาขาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม<br />• สาขาภูมิศาสตร์ <br />• สาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง<br /><br />หมายเหตุ ต้องเป็นผลงานใหม่ที่ยังไม่เคยพิมพ์เผยแพร่ในสื่อใด ๆ มาก่อนหรืออยู่ระหว่างการดำเนินการพิจารณาของวารสารอื่น</span></p> Faculty of Agriculture, Natural Resources and Environment, Naresuan University. th-TH วารสารเกษตรนเรศวร 0859-3027 <p>บทความในวารสารเกษตรนเรศวรที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะเกษตรศาสตร์</p> <p>ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับคณะเกษตรศาสตต์ฯ</p> ผลของการใช้เปลือกข้าวโพดชีวภาพเป็นแหล่งอาหารหยาบโปรตีนสูงต่อปริมาณการกินได้ การย่อยได้ และประสิทธิภาพการเจริญเติบโตในโคเนื้อรุ่นเพศเมีย https://li01.tci-thaijo.org/index.php/aginujournal/article/view/259162 <p>เปลือกข้าวโพดชีวภาพคือวัตถุดิบอาหารหยาบให้โปรตีนสูงที่ผลิตโดยการหมักเปลือกข้าวโพดร่วมกับน้ำหมักจุลินทรีย์ผสมที่ประกอบด้วยยีสต์และแบคทีเรียแลคติค งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้เปลือกข้าวโพดชีวภาพเป็นแหล่งอาหารหยาบต่อปริมาณการกินได้ การย่อยได้และประสิทธิภาพการเจริญเติบโตในโคเนื้อรุ่นเพศเมีย โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ ใช้โคเนื้อรุ่นลูกผสมพื้นเมืองxบราห์มัน เพศเมียจำนวน 8 ตัว (อายุเฉลี่ย 12±1.8 เดือน น้ำหนักเริ่มต้น 235±32 กิโลกรัม) แบ่งกลุ่มทดลองเป็น 2 ทรีทเมนต์ ตามชนิดของอาหารหยาบที่โคได้รับ ได้แก่ ทรีทเมนต์ที่ 1 อาหารข้นร่วมกับเปลือกข้าวโพดเป็นแหล่งอาหารหยาบ และทรีทเมนต์ที่ 2 อาหารข้นร่วมกับเปลือกข้าวโพดชีวภาพเป็นแหล่งอาหารหยาบ ทำการเก็บข้อมูลทดลองเป็นเวลา 90 วัน ผลการทดลองพบว่า โคที่ได้รับเปลือกข้าวโพดชีวภาพมีปริมาณการกินได้ของอาหารหยาบสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P&lt;0.05) เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับข้าวโพดเป็นอาหารหยาบ เช่นเดียวกับค่าการย่อยได้ของวัตถุแห้ง โปรตีน และเยื่อใย NDF ที่ มีค่าเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P&lt;0.05)&nbsp; ในส่วนของน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นและอัตราการเจริญเติบโตต่อวันมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น (P=0.07) อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัวและต้นทุนค่าอาหารต่อการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัวมีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P&gt;0.05) จากข้อมูลแสดงให้เห็นว่าการใช้เปลือกข้าวโพดชีวภาพเป็นวัตถุดิบอาหารหยาบสามารถเพิ่มปริมาณการกินได้ การย่อยได้และมีแนวโน้มทำให้การเจริญเติบโตดีขึ้นในโคเนื้อรุ่นเพศเมีย</p> วุฒิกร สระแก้ว Copyright (c) 2023 วารสารเกษตรนเรศวร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-31 2023-12-31 20 2 e0200204 e0200204 ผลของการเสริมสารสกัดเห็ดเยื่อไผ่ร่วมกับสารละลายเจือจางน้ำเชื้อ ต่อคุณภาพน้ำเชื้อสุกรในการเก็บรักษาที่ 17 องศาเซลเซียส https://li01.tci-thaijo.org/index.php/aginujournal/article/view/259184 <p style="font-weight: 400;">การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเสริมสารสกัดเห็ดเยื่อไผ่ต่อคุณภาพน้ำเชื้อในการเก็บรักษาที่ 17 องศาเซลเซียส ในการทดลองนี้ใช้สุกรพ่อพันธุ์สายพันธุ์แลนแรช จำนวน 2 ตัว เก็บตัวอย่างน้ำเชื้อสดเจือจางด้วยสารละลายน้ำเชื้อสูตร Modena extender ร่วมกับสารสกัดเห็ดเยื่อไผ่ โดยแบ่งกลุ่มการทดลอง คือ กลุ่มควบคุมที่ไม่มีการเสริมสารสกัดเห็ดเยื่อไผ่ (TR1) และกลุ่มที่มีการเสริมสารสกัดเห็ดเยื่อไผ่ที่มีความเข้มข้น 10 (TR2), 100 (TR3) และ 1,000 (TR4) ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ทำการประเมินคุณภาพน้ำเชื้อเมื่อเก็บรักษาน้ำเชื้อในวันที่ 0, 1, 3 และ 5 ที่ตู้เก็บรักษาความเย็นอุณหภูมิ 17 องศาเซลเซียส ด้วยเครื่องวิเคราะห์คุณภาพน้ำเชื้อ (Computer Assisted Semen Analysis, CASA) โดยประเมินการเคลื่อนไหวตัวอสุจิ ได้แก่ การเคลื่อนไหวทั้งหมด การเคลื่อนไหวไปข้างหน้า และจลศาสตร์การเคลื่อนไหวของอสุจิ อีกทั้งประเมินความสมบูรณ์อะโครโซมของตัวอสุจิ ด้วยเครื่อง imaging flow cytometry ผลการศึกษาพบว่าในการเก็บรักษาด้วยความเย็นอุณหภูมิ 17 องศาเซลเซียส เมื่อเก็บรักษาน้ำเชื้อในวันที่ 5 กลุ่มที่มีการเสริมสารสกัดเห็ดเยื่อไผ่ 10 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร มีร้อยละการเคลื่อนไหวทั้งหมดของอสุจิ (88.11±0.38 %) อีกทั้งกลุ่มทีมีการเสริมสารสกัดเห็ดเยื่อไผ่ 100 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร มีอัตราการเคลื่อนไหวแนวโค้ง (85.99±4.84 µm/s) อัตราการเคลื่อนไหวเส้นตรง (29.83±4.96 µm/s) และอัตราการเคลื่อนไหวเฉลี่ยของอสุจิ (37.43±5.26 µm/s) สูงกว่าทุกกลุ่มการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P&lt;0.05) อีกทั้งกลุ่มที่มีการเสริมสารสกัดเห็ดเยื่อไผ่ 10 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร เมื่อทำการเก็บรักษาน้ำเชื้อในวันที่ 5 มีร้อยละอสุจิมีชีวิต (75.10±1.24 %) มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P&lt;0.05) อีกทั้งกลุ่มที่มีการเสริมสารสกัดเห็ดเยื่อไผ่ 10 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร มีร้อยละอสุจิไม่มีชีวิต (24.70±1.24 %) น้อยกว่าเมื่อเทียบกับทุกกลุ่มการทดลอง (P&lt;0.05) ดังนั้นการเสริมสารสกัดเห็ดเยื่อไผ่ 10 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร จึงส่งผลดีต่อคุณภาพน้ำเชื้อสุกรในการเก็บรักษาด้วยความเย็นที่ 17 องศาเซลเซียส</p> Onpreeya Chot Copyright (c) 2023 วารสารเกษตรนเรศวร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-31 2023-12-31 20 2 e0200203 e0200203 การเปรียบเทียบสมรรถภาพการขุน ลักษณะซาก และผลตอบแทนจากการขุนโคเนื้อพันธุ์กำแพงแสนและโคนมเพศผู้ตอน https://li01.tci-thaijo.org/index.php/aginujournal/article/view/259219 <p>การผลิตเนื้อโคคุณภาพต้องเลือกใช้พันธุ์โคที่เหมาะสมและสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในประเทศไทย การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการขุนโคพันธุ์กำแพงแสนเพศผู้ตอนและโคนมเพศผู้ตอนที่มีผลต่อสมรรถภาพการขุน ลักษณะซาก และผลตอบแทนจากการขุนโคที่ได้รับอาหารข้นแบบจำกัด คือ <br>1) ระยะแรกได้อาหารข้น 6 กก./ตัว/วัน 2) ระยะกลางได้อาหารข้น 7 กก./ตัว/วัน และ 3) ระยะสุดท้ายได้อาหารข้น 8 กก./ตัว/วัน ร่วมกับการให้หญ้าเนเปียร์หมักกินอย่างเต็มที่ และเสริมฟางข้าว 1 กก./ตัว/วัน ตลอดการขุน ทำการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของสมรรถภาพการขุน และลักษณะซากระหว่างโคสองสายพันธุ์ด้วยการทดสอบที (Sample T-test) ผลการศึกษาพบว่าโคพันธุ์กำแพงแสนและโคนมเพศผู้ตอนมีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวัน ปริมาณอาหารที่กินได้ต่อวัน และอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัวแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P&gt;0.05) อย่างไรก็ตาม โคนมเพศผู้ขุนมีอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักมากกว่าโคพันธุ์กำแพงแสน 13.3 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นจึงส่งผลให้ต้นทุนค่าอาหารในการเพิ่มน้ำหนักตัวของโคนมเพศผู้ขุนสูงกว่าโคพันธุ์กำแพงแสน &nbsp;แต่พบว่าโคพันธุ์กำแพงแสนมีเปอร์เซ็นต์ซากมากกว่าโคนมเพศผู้ตอน เฉลี่ย 6 เปอร์เซ็นต์ (P&lt;0.05) แต่ปริมาณการสะสมไขมันแทรกในมัดกล้ามเนื้อ ค่าสีของเนื้อ ค่าการสูญเสียน้ำในระหว่างการเก็บรักษา และค่าความเป็นกรด-ด่างในเนื้อโคพันธุ์กำแพงแสนกับโคนมเพศผู้ตอนไม่มีความแตกต่างในทางสถิติ (P&gt;0.05) จากการทดลองนี้พบว่าการขุนโคทั้งสองสายพันธุ์มีต้นทุนสูงกว่าผลตอบแทน (ขาดทุน)</p> Anchalee Khongpradit สุริยะ สะวานนท์ ภูมพงศ์ บุญแสน ปรมาพิชญ์ เจริญศรี Piny Tong คมกฤช เอกฉัตร พีระยุทธ อินกล่ำ ภานุวัฒน์ กาลจักร สุริยะ สะวานนท์ Copyright (c) 2023 วารสารเกษตรนเรศวร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-31 2023-12-31 20 2 ผลของการเสริมโทโคฟีรอลและซีลิเนียมในอาหารต่อคุณภาพน้ำเชื้อและอัตราการผสมติดในไก่พ่อพันธุ์ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/aginujournal/article/view/259326 <p>การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเสริมโทโคฟีรอลและซีลิเนียมในอาหารต่อคุณภาพน้ำเชื้อและอัตราการผสมติดในไก่พ่อพันธุ์ ใช้ไก่ประดู่หางดำ อายุ 1 ปี จำนวน 36 ตัว แบ่งออกเป็น 9 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ตัว ทำการเสริมโทโคฟีรอล (0, 50&nbsp; และ 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัมอาหาร) ร่วมกับซีลีเนียม (0, 0.3 และ 0.6 มิลลิกรัม/กิโลกรัมอาหาร) ในอาหาร เป็นเวลา 14 วัน ทำการรีดน้ำเชื้อสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 6 สัปดาห์ และประเมินคุณภาพน้ำเชื้อสด โดยประเมินปริมาณน้ำเชื้อ ความเข้มข้นของอสุจิ วิเคราะห์รูปแบบการเคลื่อนที่ด้วยเครื่อง CASA วิเคราะห์อัตราการรอดชีวิต ด้วยการย้อมสีฟลูออเรสเซนต์ SYBR-14 และ PI ทดสอบอัตราการผสมติดกับแม่ไก่ไข่สายพันธุ์ทางการค้าจำนวน 54 ตัว จากการศึกษาพบว่ากลุ่มที่ได้รับโทโคฟีรอลร่วมกับซีลิเนียมในอาหารทุกระดับมีปริมาณน้ำเชื้อและความเข้มข้นไม่แตกต่างกัน กลุ่มที่มีการเสริมโทโคฟีรอลที่ระดับ 50 มิลลิกรัม/กิโลกรัมอาหาร ร่วมกับซีลิเนียมที่ระดับ 0.3 และ 0.6 มิลลิกรัม/กิโลกรัมอาหาร มีอัตราการเคลื่อนที่รวม (96.06±2.19 และ 96.00±2.27 เปอร์เซ็นต์) และอัตราการรอดชีวิต (92.45±2.13 และ 92.67±2.41 เปอร์เซ็นต์) สูงกว่ากลุ่มอื่นๆ (P&lt;0.05) เมื่อนำน้ำเชื้อไปทดสอบอัตราการผสมติด พบว่ากลุ่มที่มีการเสริมโทโคฟีรอลระดับ 50 มิลลิกรัม/กิโลกรัมอาหาร ร่วมกับซีลิเนียมที่ระดับ 0.3 และ 0.6 มิลลิกรัม/กิโลกรัมอาหารมีอัตราการผสมติด (93.07±1.17 และ 93.27±3.57 เปอร์เซ็นต์) สูงที่สุด (P&lt;0.05) ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าการเสริมโทโคฟีรอลระดับ 50 มิลลิกรัม/กิโลกรัมอาหารร่วมกับซีลิเนียมที่ระดับ 0.3 และ 0.6 มิลลิกรัม/กิโลกรัม สามารถปรับปรุงคุณภาพน้ำเชื้อสดและเพิ่มอัตราการผสมติดในไก่ได้</p> พัชรา ธนานุรักษ์ สมจิตร ถนอมวงศ์วัฒนะ ศศินิษฐา ถนอมวงศ์วัฒนะ ปาจรีย์ โทตะกูล พิริยาภรณ์ สังขปรีชา ชาติชาย โยเหลา อชิรา ผดุงฤกษ์ สินสมุทร แซ่โง้ว สุจีรา พึ่งเจริญ ยศพนธ์ ยางงาม ฐิตาภรณ์ คงดี ณปภัช ช่วยชูหนู Copyright (c) 2023 วารสารเกษตรนเรศวร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-31 2023-12-31 20 2 e0200208 e0200208 อิทธิพลของเอนโซ่ที่มีผลต่อปริมาณฝุ่นละอองขนาด 2.5 ไมครอน ในช่วงฤดูฝนและฤดูแล้งบริเวณภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย https://li01.tci-thaijo.org/index.php/aginujournal/article/view/259420 <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของเอนโซ่ที่มีผลต่อปริมาณฝุ่นละอองขนาด 2.5 ไมครอนในช่วงฤดูฝนและฤดูแล้งในบริเวณภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย การศึกษาในครั้งนี้เป็นการใช้ข้อมูลในช่วงปี พ.ศ. 2561-พ.ศ.2563 และทำการศึกษาค่าดัชนีเอนโซเพื่อทำการแบ่งช่วงภาวะเอลนีโญ ปกติ และลานีญาในช่วงฤดูฝน และฤดูแล้ง จากนั้นนำข้อมูลความเข้มข้นสูงสุดของปริมาณฝุ่นละอองขนาด 2.5 ไมครอน ในแต่ละสถานีมาทำการเฉลี่ยในช่วงฤดูฝน (พฤษภาคม- ตุลาคม) และช่วงฤดูแล้ง (พฤศจิกายน-ธันวาคม,มกราคม-เมษายน)ของแต่ละปีสภาวะ และนำค่าเฉลี่ยของความเข้มข้นสูงสุดของปริมาณฝุ่นละอองขนาด 2.5 ไมครอนแต่ละสถานีมาพล็อตลงในแผนที่โดยใช้โปรแกรม Arc GIS และนำค่าเฉลี่ยปริมาณความเข้มข้นสูงสุดของปริมาณฝุ่นละอองขนาด 2.5 ไมครอนแต่ละสถานีมาเปรียบเทียบกันแบบรายคู่ (paired sample t-test) ระหว่างปีภาวะเอลนีโญ-ปกติ ลานีญา-ปกติ และเอลนีโญ-ลานีญา ในช่วงฤดูฝนและฤดูแล้ง ผลการศึกษาพบว่า ในช่วงฤดูฝนค่าเฉลี่ยของปริมาณความเข้มข้นสูงสุดของฝุ่นละอองขนาด 2.5 ไมครอนในช่วงปีภาวะเอลนีโญจะมีปริมาณความเข้มสูงกว่าในปีภาวะปกติในเดือนพฤษภาคมอย่างชัดเจน สำหรับค่าเฉลี่ยความเข้มสูงสุดของปริมาณฝุ่นละอองขนาด PM 2.5 ของปีภาวะลานีญามีค่าต่ำกว่าปีภาวะปกติ สำหรับค่าเฉลี่ยความเข้มข้นสูงสุดของปริมาณฝุ่นละอองขนาด 2.5 ไมครอน ในช่วงปีภาวะเอลนีโญจะสูงกว่าปีภาวะลานีญา สำหรับในช่วงฤดูแล้ง (พ.ย. - ธ.ค. และ ม.ค. - เม.ย.) ค่าเฉลี่ยของปริมาณความเข้มข้นสูงสุดของฝุ่นละอองขนาด 2.5 ไมครอนในช่วงปีภาวะเอลนีโญจะมีค่าสูงกว่าปีภาวะปกติอย่างชัดเจนโดยเฉพาะในเดือนเมษายน แต่ค่าเฉลี่ยของปริมาณความเข้มข้นสูงสุดของฝุ่นละอองขนาด 2.5 ไมครอนในช่วงปีภาวะลานีญามีค่าต่ำกว่าในปีภาวะปกติ และค่าเฉลี่ยของปริมาณความเข้มข้นสูงสุดของฝุ่นละอองขนาด 2.5 ไมครอนของปีภาวะเอลนีโญจะสูงกว่าปีภาวะลานีญาอย่างชัดเจนโดยเฉพาะในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – เดือนเมษายน อย่างไรก็ตามทั้งในช่วงฤดูฝนและฤดูแล้งโดยเฉพาะในปีภาวะเอลนีโญถ้าได้รับอิทธิพลของพายุหมุนเขตร้อนก็จะส่งผลทำให้ค่าเฉลี่ยปริมาณความเข้มข้นสูงสุดของฝุ่นละอองขนาด 2.5 ไมครอน มีค่าต่ำกว่าปีภาวะปกติและภาวะลานีญา</p> รังสรรค์ เกตุอ๊อต ปริญ หล่อพิทยากร Copyright (c) 2023 วารสารเกษตรนเรศวร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-31 2023-12-31 20 2 e0200201 e0200201 การประเมินประสิทธิภาพการผลิตของแม่พันธุ์ไก่เนื้อ ไก่เล็กฮอร์นขาว และไก่โรดไอร์แลนด์แดงที่เลี้ยงในโรงเรือนแบบเปิดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือประเทศไทย https://li01.tci-thaijo.org/index.php/aginujournal/article/view/259100 <p>การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพการผลิตของแม่พันธุ์ไก่เนื้อ (Parent stock of broiler; PSB) ไก่เล็กฮอร์นขาว (White Leghorn; WL) และโรดไอร์แลนด์แดง (Rhode Island Red; RIR) ที่เลี้ยงในโรงเรือนแบบเปิดของจังหวัดนครพนม การทดลองใช้ไก่สาวที่อายุ 20 สัปดาห์ ทั้งหมด 90 ตัว (PSB, n = 30; WL, n= 30; RIR, n = 30) เก็บข้อมูลเป็นระยะเวลา 24 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยหุ่นจำลองเชิงเส้นแบบกำหนด คือ กลุ่มพันธุกรรม (PSB WL และ RIR) และความคลาดเคลื่อนเป็นปัจจัยสุ่ม ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มพันธุกรรมมีอิทธิพลต่อทุกลักษณะที่ศึกษา โดย PSB มีปริมาณอาหารที่กินสะสม ปริมาณอาหารที่กินต่อวัน อายุเมื่อให้ไข่ฟองแรก น้ำหนักตัวเมื่อให้ไข่ฟองแรก น้ำหนักไข่ฟองแรก น้ำหนักเฉลี่ยของไข่ทั้งหมด ปริมาณอาหารที่กินต่อการผลิตไข่ 1 ฟอง และต้นทุนค่าอาหารต่อการผลิตไข่ 1 ฟอง สูงกว่าไก่ WL และไก่ RIR (P&lt;0.01) แต่อัตราการให้ผลผลิตไข่ และจำนวนไข่สะสม ต่ำกว่าไก่ WL และไก่ RIR &nbsp;(P&lt;0.05) อย่างไรก็ตาม ทุกลักษณะที่ศึกษาของไก่ WL และไก่ RIR ไม่แตกต่างกัน ยกเว้น น้ำหนักตัวเมื่อให้ไข่ฟองแรก น้ำหนักไข่ฟองแรก และน้ำหนักเฉลี่ยของไข่ทั้งหมด ที่พบว่าไก่ RIR มีค่าสูงกว่าไก่ WL (P&lt;0.05) ผลการศึกษาชี้ให้เห็นถึงลักษณะเด่นของไก่ WL และ RIR สำหรับการให้ผลผลิตไข่ที่ดีกว่าไก่ PSB ภายใต้การจัดการ การให้อาหาร และสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย</p> Mattaneeya Sarakul Copyright (c) 2023 วารสารเกษตรนเรศวร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-31 2023-12-31 20 2 e0200207 e0200207 การเปรียบเทียบสมรรถภาพการผลิต และองค์ประกอบของซากไก่พื้นเมืองอินทรีย์ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/aginujournal/article/view/259499 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเลี้ยงไก่พื้นเมืองในระบบปศุสัตว์อินทรีย์ต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโต และองค์ประกอบของซากไก่พื้นเมืองสองสายพันธุ์ การทดลองนี้ใช้ลูกไก่พื้นเมืองสายพันธุ์ประดู่หางดำและเหลืองหางขาวอายุ 1 วัน สายพันธุ์ละ 120 ตัว แบ่งออกเป็น 3 ซ้ำ ๆ ละ 40 ตัว กกลูกไก่ในโรงเรือนเป็นเวลา 2 สัปดาห์ และเลี้ยงต่อไปจนถึงอายุ 8 สัปดาห์จึงปล่อยออกสู่พื้นที่แปลงหญ้า ไก่ทั้งสองกลุ่มได้รับอาหารที่ผลิตจากวัตถุดิบอินทรีย์สูตรเดียวกัน พร้อมกับได้รับน้ำตลอดเวลา ทำการเลี้ยงจนถึงอายุ 20 สัปดาห์ สุ่มไก่ซ้ำละ 4 ตัว เพศละ 2 ตัว มาทำการประเมินองค์ประกอบของซาก ผลการศึกษา พบว่า ไก่ประดู่หางดำมีสมรรถภาพการผลิตสูงกว่าไก่เหลืองหางขาวอย่างมีนัยสำคัญ (p&lt;0.05) โดยไก่ประดู่หางดำมีปริมาณการกินได้ การเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัว และอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักสูงกว่าไก่เหลืองหางขาว ในขณะที่น้ำหนักซากอุ่น น้ำหนักซากตัดแต่ง เปอร์เซ็นต์ซากตัดแต่ง และเปอร์เซ็นต์ชิ้นส่วนของไก่ทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกัน (p&gt;0.05)</p> วรศิลป์ มาลัยทอง ดุจดาว คนยัง พิชิตร์ วรรณคำ ศุกรี อยู่สุข สุรพงษ์ ทองเรือง วงศ์วริศ วงศ์นาค อิศรา วัฒนนภาเกษม Copyright (c) 2023 วารสารเกษตรนเรศวร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-31 2023-12-31 20 2 ผลของการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างปลานิล (Oreochromis niloticus) สายพันธุ์จิตรลดา 3 กับสายพันธุ์สุพรีมต่อปริมาณผลผลิตลูกพันธุ์ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/aginujournal/article/view/259156 <p style="font-weight: 400;">การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะความดกไข่ของการผสมข้ามสายพันธุ์ปลานิล(<em>Oreochromis niloticus</em>) ระหว่างสายพันธุ์จิตรลดา 3 (CHI) และ สายพันธุ์สุพรีม (SUP) โดยทำการเลี้ยงปลานิลพ่อแม่พันธุ์ปลานิล 4 คู่ผสม ได้แก่ ♂CHI×♀CHI, ♂CHI×♀SUP,♂SUP×♀CHI และ ♂SUP×♀SUP ตามลำดับ เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลานิลอายุเฉลี่ย 1.5 ปี กลุ่มการทดลองละ 20 ตัว ในอัตราส่วนเพศผู้ต่อเพศเมีย 1:1 ในบ่อซีเมนต์ กลุ่มการทดลองละ 3 บ่อ เป็นระยะเวลา 35 วัน ทำการตรวจสอบไข่ในปากแม่ปลานิลทุกสัปดาห์ ผลพบว่าแม่ปลาทุกกลุ่มให้ไข่ระยะที่ 1, 2, และ 4 โดยมีน้ำหนักไข่ต่อฟองเฉลี่ยระหว่าง 0.0096-0.0100 กรัม (<em>P</em>&gt;0.05) โดยปลาคู่ผสมในสายพันธุ์เดียวกัน คือ ♂CHI×♀CHI และ ♂SUP×♀SUP มีแนวโน้มจำนวนแม่ปลาที่วางไข่ต่อสัปดาห์ น้ำหนักไข่ต่อแม่ และ จำนวนไข่ต่อแม่เฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มคู่ผสมข้ามสายพันธุ์ ♂CHI×♀SUP และ ♂SUP×♀CHI โดยพบว่า ♂CHI×♀CHI มีจำนวนแม่ปลาที่วางไข่ต่อสัปดาห์ ค่าน้ำหนักไข่ต่อแม่ และ จำนวนไข่ต่อแม่เฉลี่ยสูงกว่าคู่ผสมอื่นอย่างมีนัยสำคัญ (<em>P</em>&lt;0.05)</p> มินตรา ศีลอุดม กานดา คลาดกองทุกข์ นภสินธุ์ สมมิตร ศิริพร โทลา Copyright (c) 2023 วารสารเกษตรนเรศวร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-31 2023-12-31 20 2 e0200206 e0200206