การตอบสนองต่อการคัดเลือกด้วยวิธีแบบวงจรพื้นฐานของผลผลิตในประชากรข้าวโพดข้าวเหนียวสีส้ม

Main Article Content

วทัญญู ขามเกาะ
พลัง สุริหาร
กมล เลิศรัตน์
ดนุพล เกษไธสง
คมศร ลมไธสง

บทคัดย่อ

การปรับปรุงพันธุ์เพื่อเพิ่มผลผลิตในประชากรข้าวโพดข้าวเหนียวสีส้ม เป็นแนวทางการเพิ่มมูลค่าและเป็นทางเลือกใหม่สำหรับผู้บริโภคข้าวโพดข้าวเหนียว ในการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการตอบสนองต่อการคัดเลือกต่อการเพิ่มผลผลิต และศึกษาสหสัมพันธ์ ระหว่างผลผลิตกับลักษณะที่ศึกษาในประชากรข้าวโพดข้าวเหนียวสีส้มที่ผ่านการคัดเลือกแบบวงจรพื้นฐาน จำนวน 2 รอบ และพันธุ์การค้า ทำการปลูกทดสอบ ณ จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดอุทัยธานีในฤดูฝน 2559 ผลการศึกษาพบว่า การคัดเลือกพันธุ์ด้วยวิธีแบบวงจรพื้นฐานสามารถเพิ่มผลผลิตได้ที่จังหวัดอุทัยธานีโดยมีอัตราการเพิ่มขึ้น 143 กิโลกรัม/ไร่ต่อรอบการคัดเลือก มีน้ำหนักฝัก (14 กรัม/ฝัก/รอบ) และความยาวฝัก (0.012 ซม./รอบ) เพิ่มขึ้น แต่การปลูกทดสอบที่จังหวัดขอนแก่น ไม่มีความก้าวหน้าของการคัดเลือกพันธุ์ในลักษณะผลผลิต และยังพบว่าลักษณะผลผลิตมีสหสัมพันธ์ในทางบวกกับลักษณะน้ำหนักฝักก่อนปอก (0.77**) จากการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าวิธีการคัดเลือกแบบวงจรพื้นฐานสามารถเพิ่มผลผลิตในประชากรข้าวโพดข้าวเหนียวสีส้มได้ ซึ่งประชากรที่ผ่านการปรับปรุงนี้สามารถใช้เป็นแหล่งพันธุกรรมสำหรับสกัดสายพันธุ์แท้เพื่อสร้างพันธุ์ลูกผสมข้าวโพดข้าวเหนียวที่มีสีส้มต่อไปได้

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กมล เลิศรัตน์. 2536. การปรับปรุงพันธุ์พืชผสมข้าม. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

เกรียงศักดิ์ สุวรรณธราดล. 2553. Seed business development and management. เอกสารประกอบสัมมนาวิชาการเรื่อง Plant breeding for commercial organization. ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน,นครปฐม.

ภานุพงษ์ ลาขันธ์, กมล เลิศรัตน์ และพลัง สุริหาร. 2551. การเปรียบเทียบวิธีการปรับปรุงประชากรข้าวโพดข้าวเหนียว. แก่นเกษตร. 36(ฉบับพิเศษ): 26-32.

ประกาศิต ดวงพาเพ็ง, พลัง สุริหาร และกมล เลิศรัตน์. 2560. การตอบสนองต่อการคัดเลือก 2 วิธีการของลักษณะขนาดเมล็ดในประชากรข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง. แก่นเกษตร. 43(4): 635-642.

สมพงษ์ ไมล์หรือ. 2546. การตอบสนองต่อการคัดเลือกพันธุ์แบบ Simple Recurrent Selection จำนวน 3 รอบในการปรับปรุง เพื่อจำนวนต้นที่มีฝักคู่ในประชากรข้าวโพดหวานพิเศษพันธุ์ข้าวเหนียวหวานขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Andlauer, W. and P. Furst 1999. Does cereal reduce the risk of cancer?. Cereal Food World. 44: 76-78.

Dhliwayo, T., N. Palacios-Rojas, J. Crossa, and K. V. Pixley. 2014. Effects of S1 recurrent selection for provitamin a carotenoid content for three open-pollinated maize cultivars. Crop Sci. 54: 2449-2460.

Dwyer, J. H., M. Navab, K. M. Dwyer, K. Hassan, P. Sun, A. Shircore, S. Hama-Levy, G. Hough, X. Wang, T. Drake, N. B. Merz, and A. M. Fogelman. 2001. Oxy- genated carotenoid lutein and progression of early atherosclerosis: The Los Angeles Atherosclerosis Study. Circulation. 103: 2922-7.

Gomez, K. A., and A. A. Gomez. 1984. Statistical Proce- dures for Agricultural Research. 2ed Edition. John Wiley & Sons, Singapore.

Palozza, P., and N. I. Krinsky. 1992. Antioxidant effects of carotenoids in vivo and in vitro: an overview. Meth. Enzymol. 213: 403-452.

Weyhrich, R. A., K. R. Lamkey, and A. R. Hallauer. 1998. Responses to seven methods of recurrent selection in the BS11 maize population. Crop Sci. 38: 308-321.

Yang, Z., and W. Zhai. 2010. Identification and antioxidant activity of anthocyanins extracted from the seed and cob of purple corn (Zea mays L.). Innov. Food Sci. & Emerg. Technol. 11: 169-176.