อิทธิพลของไนโตรเจนและโมลิบดีนัมต่อผลผลิตสับปะรดและการสะสมไนเทรตในผล

Main Article Content

ปิยะนัส นาคนคร
สมชัย อนุสนธิ์พรเพิ่ม
ศุภิฌา ธนะจิตต์
ธานี ศรีวงศ์ชัย

บทคัดย่อ

การศึกษาผลของปุ๋ยไนโตรเจนและโมลิบดีนัมต่อผลผลิตสับปะรดและการสะสมไนเทรตในผลดำเนินการในแปลงเกษตรกร ตำบลร่อนทอง อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่เป็นดินชุดดินฝั่งแดง (Rhodic Kandiudults) ระหว่างปี 2555-2556 ใช้แผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block (RCB) จำนวน 9 ตำรับการทดลอง 4 ซ้ำ ได้แก่ T1: ไม่มีการใส่ปุ๋ยเคมีใดๆ T2: ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 13-7-35 อัตรา 50 กก./ไร่ T3: ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 13-7-35 ร่วมกับปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตอย่างละ 25 กก./ไร่ T4: ฉีดพ่นโซเดียมโมลิบเดตความเข้มข้น 0.5% (50 กรัม/ไร่) ทางใบ T5: ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 13-7-35 อัตรา 50 กก./ไร่ ร่วมกับฉีดพ่นโซเดียมโมลิบเดตความเข้มข้น 0.5% (50 ก./ไร่) ทางใบ T6: ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 13-7-35 ร่วมกับปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตอย่างละ 25 กก./ไร่ และฉีดพ่นโซเดียมโมลิบเดตความเข้มข้น 0.5% (50 ก./ไร่) ทางใบ T7: ฉีดพ่นโซเดียมโมลิบเดตความเข้มข้น 1% (100 ก./ไร่) ทางใบ T8: ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 13-7-35 อัตรา 50 กก./ไร่ ร่วมกับฉีดพ่นโซเดียมโมลิบเดตความเข้มข้น 1.0% (100 ก./ไร่) ทางใบ และ T9: ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 13-7-35 ร่วมกับปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตอย่างละ 25 กก./ไร่ และฉีดพ่นโซเดียมโมลิบเดตความเข้มข้น 1.0% (100 ก./ไร่) การใส่ปุ๋ยดำเนินการครั้งแรกหลังปลูกสับปะรดได้ 3 เดือนโดยใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต 50 กก./ไร่ ทางกาบใบในทุกตำรับการทดลอง เมื่อสับปะรดอายุได้ 12 เดือน ทำการบังคับดอกด้วยแคลเซียมคาร์ไบด์ หลังจากนั้นอีก 45 วันทำการใส่ปุ๋ยตามตำรับการทดลอง เก็บเกี่ยวผลผลิตเมื่อสับปะรดอายุได้ 18 เดือน ผลการทดลอง พบว่า การใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 13-7-35 อัตรา 50 กก./ไร่ ร่วมกับการฉีดพ่นโซเดียมโมลิบเดตความเข้มข้น 0.5 และ 1% (50 และ 100 ก./ไร่ ตามลำดับ) ทางใบได้น้ำหนักสดผลสับปะรดสูงสุดอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติเท่ากับ 8.06 (T5) และ 8.08 (T8) ตัน/ไร่ ตามลำดับ การใส่ปุ๋ยเคมีแอมโมเนียมซัลเฟตร่วมกับกับปุ๋ยเคมีสูตร 13-7-35 อย่างละ 25 กก./ไร่ ร่วมหรือไม่ร่วมกับการฉีดพ่นปุ๋ยโซเดียมโมลิบเดตทางใบไม่ทำให้ผลผลิตน้ำหนักสดผลสับปะรดเพิ่มข้น การฉีดพ่นโซเดียมโมลิบเดตทางใบทั้ง 2 อัตรา มีประสิทธิภาพใกล้เคียงต่อการช่วยลดปริมาณการสะสมไนเทรตในผล การใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตร่วมทำให้ผลมีการสะสมไนเทรตเพิ่มขึ้น การฉีดพ่นปุ๋ยโซเดียมโมลิบเดตทางใบโดยไม่ใส่ปุ๋ยหลักมีผลทำให้ผลผลิตของสับปะรดลดลง เนื่องจากพืชขาดธาตุอาหารหลัก เนื่องจากโมลิบดีนัมไปยับยั้งการดูดใช้ไนโตรเจน และชะลอการเจริญเติบโต ปุ๋ยเคมี และโมลิบดีนัมไม่ทำให้ความเข้มข้นธาตุอาหารพืชในผลสับปะรดแตกต่างกัน โดยผลสับปะรดมีโพแทสเซียมมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ไนโตรเจน และฟอสฟอรัสตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

เดช อยู่ชา. 2536. สารไนเทรตในสับปะรด. หนังสือความรู้เนื่องในโอกาสนิทรรศการสับปะรดไทยครั้งที่ 7. บริษัท สับปะรดไทย จำกัด, ประจวบคีรีขันธ์.
พรพรหม ชัยฤทธิชัย. 2539. อิทธิพลของโมลิบดีนัมที่มีต่อการตกค้างของไนเทรตในสับปะรด. รายงานการสัมนาวิชาการสับปะรดครั้งที่ 2. โรงแรมเจมส์ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี
ประภาศรี จงประดิษฐ์นันท์. 2539. ความเป็นไปได้ที่ธาตุอาหารเสริมช่วยลดปริมาณไนเทรตในผลสับปะรด. รายงานการสัมมนาวิชาการสับปะรดครั้งที่ 2. โรงแรมเจมส์ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี.
ยงยุทธ โอสถสภา. 2543. ธาตุอาหารพืช. ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2555. สถิติการส่งออก (Export) -- สับปะรดบรรจุภาชนะที่อากาศผ่านเข้าออกไม่ได้: ปริมาณและมูลค่าการส่งออกรายเดือน. แหล่งข้อมูล: http://goo.gl/d60Ndn. ค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2556.
เอื้อมพร สกุลแก้ว. 2551. 100 สารก่อมะเร็งต้องเลี่ยง. สำนักพิมพ์ใกล้หมอ, กรุงเทพฯ.
Brady, N.C., and R.R. Weil. 2008. The Nature and Properties of Soils. 14th edition. Prentice Hall, NJ.
Havlin, J.L., J.D. Beaton, S.L. Tisdale, and W.L. Nelson. 2005. Soil Fertility and Fertilizers: An Introduction to Nutrient Management. Prentice-Hall, Inc., NJ.
Mondy, N.I., and C.B. Munshi. 1993. Effect of soil and foliar application of molybdenum on the glycoalkaloid and nitrate concentration of potatoes. J. Agri. Food Chem. 41(2): 256-258
Quaggio, J.A., V.J. Romos., P.R. Furlani, and M.L.C. Carelli. 1991. Limming and molybdenum effect on nitrogen uptake and grain yield of corn. Develop. Plant Soil Sci. 45: 327-332.
Smith, B.L. 1988. Factors affecting nitrate contents of pineapple fruit for canning. Circus and Sub Tropical Fruit J. 643: 12-15.
Stiefel, E.T. 1993. Molybdenum Enzymes Cofactors, and Chemistry: An Introduction Survey. American Chemical Society.
Zheng, X.M., L.P. Gu, and R.B. Zhou. 1995. Effect of molybdenum on the decrease of nitrate nitrogen in common Chinese cabbage. Plant Physiol. Commun. 31(2): 95-96.