ความสัมพันธ์ของปากใบและสีใบกับระดับความต้านทานโรคราสนิมในข้าวโพด

Main Article Content

วันเพ็ญ ชลอเจริญยิ่ง
วีระศักดิ์ ศักดิ์ศิริรัตน์
พลัง สุริหาร
กมล เลิศรัตน์

บทคัดย่อ

เทคนิควิธีการประเมินความต้านทานโรคที่ถูกต้อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ เป็นสิ่งที่จำเป็นในการปรับปรุงพันธุ์พืชเพื่อเพิ่มความต้านทานต่อโรค การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะของปากใบและสีใบกับระดับของความต้านทานต่อโรคราสนิม ในข้าวโพด 11 สายพันธุ์/พันธุ์ ปลูกทดสอบ ในฤดูแล้ง ปี 2557/2558 ประเมินระดับความต้านทานต่อโรคราสนิม จำนวน 3 ครั้ง เมื่อข้าวโพดออกดอกไปแล้ว 7, 14 และ 21 เก็บข้อมูลลักษณะปากใบที่ระยะออกไหม และเก็บข้อมูลสีใบที่ระยะข้าวโพดมีใบขยายตัวเต็มที่ 11 ใบ ผลการศึกษา พบว่า ข้าวโพดไร่ NS3 และข้าวโพดข้าวเหนียว Fancy111 มีความต้านทานต่อโรคราสนิมระดับปานกลางถึงสูง ระดับคะแนนของความต้านทานต่อโรคราสนิมที่ประเมิน 7, 14 และ 21 หลังออกดอก มีความสัมพันธ์ทางสถิติในทิศทางลบกับความกว้างของปากใบที่อยู่ด้านบนใบ (r=-0.77** -0.70* และ -0.73** ตามลำดับ) ความกว้างของปากใบที่อยู่ด้านล่างใบ (r = -0.79** -0.76* และ -0.79** ตามลำดับ) และค่าสีใบ (r = -0.59** -0.67** และ -0.66** ตามลำดับ) แต่ไม่มีความสัมพันธ์หรือมีความสัมพันธ์ในระดับต่ำกับจำ นวนปากใบที่อยู่ด้านบนใบและด้านล่างใบ ความยาวปากใบที่อยู่ด้านบนใบและด้านล่างใบ จากการศึกษานี้ ชี้ให้เห็นว่า ความกว้างของปากใบที่อยู่ด้านบนใบ ความกว้างของปากใบที่อยู่ด้านล่างใบ รวมทั้งค่าสีใบ สามารถนำมาใช้คัดเลือกประชากรข้าวโพดทางอ้อมเพื่อช่วยในการคัดเลือกพันธุ์ความต้านทานต่อโรคราสนิมในเบื้องต้นได้

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมการข้าว. 2549. การปลูก การดูแลรักษา และใช้ปุ๋ยในนาข้าว. สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว. แหล่งข้อมูล: https://goo.gl/12fyih. ค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2559.
กิ่งเพชร แก้วประเสริฐ. 2554. การพัฒนาดัชนีชี้วัดปริมาณไนโตรเจนในใบของข้าวโพด. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
เจตษฎา อุตรพันธ์, ทวีศักดิ์ ภู่หลำ, เฉลิมพล ภูมิไชย์ และประภา ศรีพิจิตต์. 2552. การวิเคราะห์พันธุกรรมที่ควบคุมลักษณะความต้านทานโรคราสนิมในข้าวโพด. น. 35-42. ใน: การประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 47. 17-20 มีนาคม 2552. สาขาพืช คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ปณวัตร สิขัณฑกสมิต, อุณารุจ บุญประกอบ และรัติยา พงศ์พิสุทธา. 2557. การระบาดของโรคราสนิมและความต้านทานของพี้ชในประเทศไทย. แก่นเกษตร. 42(3): 668-673
มนตรี บุญจรัส. 2555. บทบาทของซิลิคอนต่อการบรรเทาความเครียดจากปัจจัยอชีวนะ. แหล่งข้อมูล: https://goo.gl/gb3zFx. ค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2559.
สมเกียรติ ฐิตะฐาน, ดิลก อัญชลิสังกาศ, วีระ แจ่มกระจ่าง และนิยม จิ้วจิ้น. 2521. โรคข้าวโพด. เอกสารวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 22 หน้า.
สุธาทิพย์ แสงกุล. 2532. ความรุนแรงของโรคราสนิม Puccinia polysora Underw. ต่อข้าวโพดพันธุ์ต่างๆ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สุรศักดิ์ เพิ่มลาภ. 2539. การศึกษาปากใบของพรรณไม้หอมบางชนิด.วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
Agarwal, P. C., R. K. Khetarpal, and M. M. Payak. 2001. Polysora rust of maize caused by Puccinia polysora. Indian Journal of Agricultural Sciences. 71: 275-276.
Aghora, T. S. 1999. Studies on mechanisms of resistance to rust and genetics of quantitative haracters in snap bean (Phaseolus vulgaris L.). Ph.D. Thesis. University of Agricultural Sciences, Dharwad, India.
Auwanich, W., and D. Anchareesangas. 1998. Plant Disease and Microbiology Newsletter. 8(1): 11-14.
Camargo, R. S., L. C. Forti, R. T. Fujihara, and F. Roces. 2011. Digging effort by leaf-cutting ant queens (Atta sexdens rubropilosa) and its effects on survival and colony growth during the claustral phase. Insectes Sociaux. 58: 17-22.
Chen, C. X., Z. L. Wang, D. E. Yang, C. J. Ye, Y. B. Zhao, D. M. Jin, M. L Weng, and B. Wang. 2004. Molecular tagging and genetic mapping of the disease resistance gene RppQ to southern corn rust. Theoretical and Applied Genetics. 108: 945-950.
Deacon, J. W. 2006. Fungal Biology. Blackwell Publishing Ltd.4th Edition, Oxford, UK. 371p.
Divya, B., T. S. Aghora, A. Rekha, H. P. Sudeep, and B. N. Radha. 2014. Physiological Basis of Rust Resistance in French Bean (Phaseolus Vulgaris). International Journal of Horticulture. 4(11): 53-57
Edington, B. R., P. E. Shanahan, and F.H. J. Rijkenberg. 1994a. Breeding for partial resistance in dry beans (Phaseolus vulgaris L.) to bean rust (Uromyces appendiculatus). Annals of Applied Biology. 124: 341-350.
Groth, J. V., and N. V. Rama Raje Urs. 1982. Differences among bean cultivars in receptivity to Uromyces phaseoli var. typica. Phytopathology. 72: 374-378.
Holland, J. B., D. V. Uhr, D. Jeffers, and M. M. Goodman. 1998. Inheritance of resistance to southern corn rust in tropical-by-corn-belt maize populations,” Theoretical and Applied Genetics. 96(2): 232-241.
Ji, H. C. 2006. Epidermal cell response to rust hyphae and the resistance mode of tropical maize to southern corn rust (Puccinia polysora Underwood).Journal of Plant Biology. 49(5): 392-397.
Kalappanaver, I. K., and R. V. Hiremath. 2000. Studies on stomatal characters in foliar disease resistant and susceptible sorghum genotypes. Karnataka Journal of Agricultural Science. 13: 68-72.
Lianghua, W., and Z. Zengrong. 1994. The relationship between rice leaf color and occurrence of rice diseases and Insects and Its mechanism. Chinese Journal of Rice Science. 8(4): 231-235.
Melching, J.S. 1975. Corn rust: type, races and destructive potential, pp.90-115. In: Proceeding of the 30th Annual Corn and Sorghum Research Conference. 30 th ASTA Chicago, USA.
Meidner, H., and T. A. Mansfield.1968. Physiology of stomata.McGraw-Hi11 Book, Co., London. 179 p.
Meyer, B. S., D. B. Anderson, R. H. Bohning, and D. G. Fratianne. 1973. Introduction to plant physiology 2nd edition. D. Van Nostrand Company, New York, New York. 565 p.
Pernezny, K., and T. Kucharek. 1999. Rust diseases of several legumes and corn in Florida. Department of 281 Plant Pathology, Florida Cooperative Extension, Gainsville, FL.
Raid, R. N., S. P. Pennypacker, and R. E. Stevenson. 1988. Characterization of Puccinia polysora epidemics in Pennsylvania and Maryland. Phytopathology. 78: 579-585.
Rodrigues-Ardon, R., G. E. Scott, and J. F. Hennen. 1980. Maize yield losses caused by southern corn rust. Crop Science. 20: 812-814.
Shukla, S. N., and S. Gangopadhyaya. 1981. Stomatal index and size of stomatal opening of rice cultivars varying in reaction to bacterial leaf blight. Proceedings of the Indian National Science Academy. 4: 557-559.
Sikhandakasmita, P., U. Boonprakob, and R. Pongpisutta. 2014. Stone fruit rust epidemiology and resistance of peach in Thailand. Khon Kaen Agri. J. 42(3): 668-673.
Timothy, M. S., and W.S. Arnold. 2013. Mineral nutrition contributes to plant disease and pest resistance. Document is HS1181, one of a series of the Horticultural Sciences Department. Available: https://edis.ifas.ufl.edu/hs1181. Accessed March 14, 2016.