การประเมินปริมาณอะไมโลส เนื้อสัมผัส และคุณภาพการหุงต้มของข้าวเหนียวพันธุ์คัดเลือกบางสายพันธุ์

Main Article Content

อาทิตย์ ผาภุมมา
ธิดารัตน์ มอญขาม
จิรวัฒน์ สนิทชน
สมพงศ์ จันทร์แก้ว

บทคัดย่อ

ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของความหลากหลายทางพันธุกรรมของข้าวพื้นเมืองแห่งหนึ่งของโลก โดยเฉพาะข้าวเหนียว ซึ่งนิยมบริโภคเป็นอาหารหลักในเขตภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ข้าวเหนียวพันธุ์ กข6 เป็นข้าวเหนียวพันธุ์ปรับปรุงที่มีคุณภาพสูงและนิยมบริโภคในพื้นที่ดังกล่าว ปัจจุบันถึงแม้ว่าข้าวพื้นเมืองบางสายพันธุ์มีศักยภาพการให้ผลผลิตที่ดีและกำลังเป็นที่นิยมของผู้บริโภค แต่การศึกษาข้อมูลด้านคุณสมบัติและคุณภาพของข้าวพื้นเมืองดังกล่าวยังมีจำกัด การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินปริมาณอะไมโลส เนื้อสัมผัส และคุณภาพการหุงต้มของข้าวเหนียวพันธุ์พื้นเมือง พันธุ์คัดเลือกบางสายพันธุ์ ได้แก่ ข้าวสกลนคร เหนียวดำม้ง พระยาลืมแกง ซิวเกลี้ยง และซิวแม่จัน เปรียบเทียบกับข้าวเหนียวพันธุ์ กข6 และข้าวเจ้าพันธุ์ขาวดอกมะลิ105 ตามลำดับ โดยใช้เมล็ดข้าวที่ได้จากการปลูกและเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ปี พ.ศ. 2560 ผลการทดลองพบว่า ปริมาณอะไมโลสที่วัดได้จากข้าวเหนียวพันธุ์พื้นเมืองมีค่า ในช่วง 7.1- 7.9 เปอร์เซนต์ โดยน้อยกว่าปริมาณอะไมโลสในข้าวเจ้า ขาวดอกมะลิ 105 ซึ่งมีปริมาณอะไมโลสสูงที่สุด (19 เปอร์เซ็นต์) การทดสอบเนื้อสัมผัสพบว่า ข้าวเหนียวพื้นเมืองทุกพันธุ์มีค่าความหนืดต่ำกว่าข้าวเหนียวพันธุ์ กข6 ในขณะที่ข้าวเจ้าพันธุ์ ขาวดอกมะลิ 105 มีค่าความหนืดสูงสุด สำหรับคุณภาพหุงต้มและความหอม นั้นพบว่า ข้าวเหนียวพันธุ์พื้นเมืองเหนียวดำม้งและสกลนครมีความหอมมากที่สุด นอกจากนั้นยังเป็นพันธุ์ที่นิยมของผู้บริโภคมากที่สุดเท่ากับพันธุ์ กข6

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กาญจนา มหัทธนทวี, คุลิกา จันทรศรี, และ ดวงตา สว่างภพ. 2556. ข้าวกล้องผสมหุงสุกไว Quick-Cooking Mixed Brown Rice วารสารเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยสยาม ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มิถุนายน 2555- พฤษภาคม 2556

งามชื่น คงเสรี, จารุวรรณ บางแวก, กิติยา กิจควรดี, ละม้ายมาศ ยังสุข, กัญญา เชื้อพันธุ์, สุนันทา วงศ์ปิยชน,พลูศรี สว่างจิต, ศิริวรรณ ตั้งวิสุทธิจิต, ประนอม มงคลบรรจง และ วัชรี สุขวิวัฒน์. 2547. คุณภาพและการตรวจสอบ ข้าวหอมมะลิไทย. เอกสารวิชาการกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ.

สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค. 2558. โรคเบาหวาน. นายแพทย์ อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์.(บรรณาธิการ) สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค 2558.

สุธยา พิมพ์พิไล. 2549. การศึกษากรรมวิธีการผลิตข้าวหอมมะลิแดงแบบหุงสุกเร็ว ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะวิศวะกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 2549.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2562. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญและแนวโน้ม ปี 2562. ค้นเมื่อ 29 กันยายน 2562, จาก http://www.oae.go.th/assets/portals/1/files/jounal/2562/agri_situation2562.pdf

Chueamchaitrakun, P., P. Chompreeda., V. Haruthaithanasan., T. Suwonsichon, and S. Kasemsamran. 2011 Physical Properties of Butter Cake Made from Mixed Hom-Mali and Glutinous Rice Flours Kasetsart J. (Nat. Sci.) 45: 295 – 304.

IRRI. 1986. Progress in rain fed lowland. Los Banos, Manila, Philippines

IRRI. 1996. Standard evaluation system for rice. IRRI, Manila, Philippines.

Jaruchai, W., T. Monkham, S. Chankaew, B. Suriharn, and J. Sanitchon. 2018. Evaluation stability and yield potential of variance 1 upland rice genotypes in North and Northeast Thailand. Journal of Integrative Agriculture. 17: 28–36.

Jones, J. M. 2010. The Role of Glycemic Index & Glycemic Load on Carbohydrate Food Quality.

Juliano, B.O. 1971. A Simplified Assay for Milled-rice Amylose. Cereal Sci. Today. 16: 334-338.

Khush, G.S. 1997. Origin, dispersal, cultivation and variation of rice. Plant Mol. Bio. 35: 25–34.

Raskin, I. and H. Kende. 1983. How does deep water rice solve its aeration problem Plant Physiol. 72: 447- 454.

Tsugita, T., K. Tadao, and K. Hiromichi. 1980. Volatile Components after Cooking Rice Milled to Different Degrees Department of Agricultural Chemistry, The University of Tokyo.

Venables, W. N. and D. M. Smith. The R Development Core Team. 2009. An Introduction to R. Online available at :http://cran.r-project.org/doc/manuals/R-into.pdf, Jule 16, 2017.

Yoshida, S. 1981. Fundamentals of rice crop science. The International Rice Research Institute Los Banos, Philippines.