ความสามารถในการรวมตัวสำหรับผลผลิตและคุณภาพการบริโภคในสายพันธุ์ข้าวโพดหวานพิเศษยีนด้อยร่วมที่พัฒนาจากเชื้อพันธุกรรมต่างประเทศ

Main Article Content

วริษา สุทธิลักษณ์
พัชราภรณ์ สุวอ
พลัง สุริหาร
พรชัย หาระโคตร

บทคัดย่อ

การเพิ่มความหลากหลายทางพันธุกรรมด้วยเชื้อพันธุกรรมจากต่างประเทศเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดหวานพิเศษประสบผลสำเร็จมากยิ่งขึ้น ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการรวมตัวสำหรับผลผลิตและคุณภาพการบริโภคในสายพันธุ์ข้าวโพดหวานพิเศษยีนด้อยร่วมที่พัฒนาจากเชื้อพันธุกรรมต่างประเทศชั่วรุ่น S4 จำนวน 18 สายพันธุ์ สร้างคู่ผสมด้วยวิธีการผสมข้ามกับพันธุ์ทดสอบ 2 พันธุ์ ได้คู่ผสมทั้งหมด 36 คู่ผสม ทำการปลูกประเมินในฤดูแล้ง ปี พ.ศ. 2562/2563 จำนวน 2 สถานที่ทดสอบ จากผลการศึกษา พบว่า ความแปรปรวนอันเนื่องมาจากอิทธิพลของยีนแบบข่มสูงกว่าแบบผลบวกสะสม ในทุกลักษณะที่ทำการศึกษา ยกเว้น ความกว้างและความยาวฝัก ซึ่งการคัดเลือกลักษณะดังกล่าวควรทำในชั่วรุ่นหลังๆ สายพันธุ์ L2 L3 และ L18 มีค่าความสามารถในการรวมตัวทั่วไป (GCA) สูงสุดในลักษณะผลผลิต ในขณะที่สายพันธุ์ L3 L9 L16 และ L18 มีค่า GCA สูงสุด สำหรับลักษณะรสชาติ ความนุ่ม ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ และความหวาน ตามลำดับ นอกจากนี้ คู่ผสมที่มีค่าเฉลี่ยและความสามารถในการรวมตัวเฉพาะสูงเกิดจากการผสมข้ามระหว่างพันธุ์ทดสอบและสายพันธุ์ S4 ที่มีความสามารถในการรวมตัวทั่วไปสูง หรือมาจากข้างใดข้างหนึ่งที่มีความสามารถในการรวมตัวทั่วไปสูง จากการศึกษานี้ ชี้ให้เห็นว่า สายพันธุ์ L18 มีศักยภาพสำหรับพัฒนาเป็นสายพันธุ์แท้ข้าวโพดหวานพิเศษที่มียีนด้อยร่วม และสร้างลูกผสมเดี่ยวที่มีผลผลิตและคุณภาพการบริโภคสูงต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กฤษฎา สัมพันธารักษ์. 2546. ปรับปรุงพันธุ์พืช พื้นฐานวิธีการและ แนวคิด. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

กมล เลิศรัตน์. 2550. พันธุ์พืชยุคใหม่เพื่อชีวิตที่ยืนยาวอย่างเป็นสุข. สำนักพิมพ์เท็กซ์ แอนด์ พับลิเคชั่น จำกัด, กรุงเทพฯ.

ชบา ทาดาวงษา, กมล เลิศรัตน์ และพลัง สุริหาร. 2558. สมรรถนะการรวมตัวของจำนวนฝักและน้ำหนักผลผลิตฝักสดในข้าวโพดเทียนสีม่วงสายพันธุ์แท้. แก่นเกษตร. 43: 557-564.

ชวนชัย ผ่องใสย์. 2544. การทดสอบสมรรถนะการผสมในชั่ว S4 เพื่อเป็นดัชนีสำหรับการปรับปรุงข้าวโพดลูกผสม. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ณัฏฐนี กิจไพบูลทวี. 2546. การใช้ประโยชน์จากเชื้อพันธุกรรมข้าวโพดจากเขตอบอุ่นเพื่อการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดหวานลูกผสมภายในประเทศ. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

นันทยา วงษา. 2552. สมรรถนะการรวมตัวของข้าวโพดหวานที่ควบคุมด้วยยีน shrunken-2. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

พลัง สุริหาร. 2558. ข้าวโพดและการปรับปรุงพันธุ์. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

ไพศาล เหล่าสุวรรณ. 2527. หลักการปรับปรุงพันธุ์พืช. โรงพิมพ์ ไทยนำ, สงขลา.

อาภากร เฟื่องถี. 2562. ความสามารถในการรวมตัวของสายพันธุ์แท้ข้าวโพดข้าวเหนียวและข้าวโพดหวานเขตร้อนชื้นที่พัฒนามาจากเชื้อพันธุกรรมต่างประเทศ. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

Abadassi, J. and Y. Herve. 2000. Introgression of temperate germplasm to improve an elite tropical maize population. Euphytica. 113: 125–133.

Baker, R. J. 1978. Issue in diallel analysis. Crop Sci. 18: 533-536.

Castellanos, J. S., A. R. Hallauer, and H. S. Cordova. 1998. Relative performance of testers to identify elite line of corn (Zea mays L.). Maydica. 43: 217-226.

Dhasarathan, M., C. Babu, and K. Lyanar. 2015. Combining ability and gene action studies for yield and quality traits in baby corn (Zea mays L.). SABRAO J. Breed. Gen. 47: 60-69.

Evensen, K. B. and Boyer, C. D. 1986. Carbohydrate composition and sensory quality of fresh and stored sweet corn. J. Am. Soc. Hortic. Sci. 111: 734-738.

Kumari, J., R. N. Gadag, G. K Jha, H. C. Joshi, and R. D. Singh. 2008. Combining ability for field emergence, kernel quality traits, and certain yield components in sweet corn (Zea mays L.). J. Crop improve. 22: 66-81.

Letrat, K. and T. Pulum. 2007. Breeding for increased sweetness in sweet corn. Intl. J. Plant Breed. 1: 27-30.

Pumichai, C., W. Dounganan, P. Puddhanon, S. Jumpatong, P. Grudloyma and C. Kirdsri. 2008. SSR-based and grain yield-base diversity of hybrid maize in Thailand. Field Crop Res. 108: 157-162.

Rice, R. R. and W. F. Tracy. 2013. Combining ability and acceptability of temperate sweet corn inbreds derived from exotic germplasm. J. Amer. Soc. Hort. 138: 461-469.

Sadaiah, K., V. R. Narsimha, and S. K. Sudheer. 2013. Study on heterosis and combining ability for earliness in hybrids and parental lines in sweet corn (Zea mays L. saccharata). Inter. J. Trop. Agr. 31: 3-4.

Simla, S., Lertrat, K. and Suriharn, B. 2016. Combination of multiple genes controlling endosperm characters in relation to maximum eating quality of vegetable waxy corn. SABRAO J Breed Genet. 48: 210-218.

Singh, R. K. and B. D. Chaudhary. 1979. Biometrical Methods in Quantitative Genetic Analysis. Kalyani Publishers. New Delhi-Ludhiana.

Tracy, W. F. and A. R. Hallauer. 1994. Sweet corn. P.148-187. In A. R. Hallauer. Specialty Corns. SRC Press, FL.