@article{ธิสา_คุ้มชัย_2021, title={ความดีเด่นของลูกผสมและการคัดเลือกสายพันธุ์ทนร้อนในผักกาดขาวปลี}, volume={50}, url={https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/247769}, abstractNote={<p>ผักกาดขาวปลีเป็นผักที่เพาะปลูกกันอย่างแพร่หลายในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน และในฤดูหนาว เนื่องจากต้องการอากาศเย็นเพื่อกระตุ้นให้ห่อหัว  ผักชนิดนี้ได้รับความนิยมในการบริโภคทั้งในและต่างประเทศ การศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์ เพื่อคัดเลือกสายพันธุ์ลูกผสมผักกาดขาวปลีที่มีความดีเด่นเหนือพ่อแม่พันธุ์ และมีลักษณะทนร้อนเหมาะสำหรับการผลิตในประเทศไทย วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ในบล็อค (randomized complete block design: RCBD) จำนวน 30 คู่ผสม สายพันธุ์พ่อแม่ 6 พันธุ์ และพันธุ์การค้า 2 สายพันธุ์ กรรมวิธีละ 3 ซ้ำ ระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายน 2563 จากผลการทดลองพบว่า 3 คู่ผสมที่มีแนวโน้มที่ดีได้แก่ PR<sub>4</sub> x PR<sub>1</sub>, PR<sub>3</sub> x PR<sub>1</sub> และ PR<sub>2</sub> x PR<sub>6</sub>  สามารถห่อหัวได้ในฤดูร้อน รูปทรงของหัวยาว โดยมีค่าดัชนีหัวตั้งแต่ 1.5 และให้ผลผลิตหลังตัดแต่งสูงกว่าพันธุ์การค้า และคู่ผสมอื่น ๆ  ในขณะที่พันธุ์การค้านั้นไม่ห่อหัว นอกจากนี้ยังพบว่า คู่ผสม PR<sub>1</sub> x PR<sub>2</sub>, PR<sub>2</sub> x PR<sub>6</sub>, PR<sub>3</sub> x PR<sub>1</sub>, PR<sub>4</sub> x PR<sub>1</sub> และ PR<sub>6</sub> x PR<sub>3</sub> มีค่าความดีเด่นเหนือพ่อแม่พันธุ์ทางบวกในทุกลักษณะที่ศึกษา ได้แก่ ความสูงต้น ทรงพุ่ม จำนวนใบ ความกว้างใบ ความยาวใบ น้ำหนักก่อนตัดแต่ง และน้ำหนักหลังตัดแต่ง จากการทดลองนี้ชี้ให้เห็นว่าคู่ผสมหลายคู่มีศักยภาพที่ดีในการนำไปพัฒนาลูกผสมเพื่อใช้เพาะปลูกในประเทศไทย สามารถห่อหัวได้ตลอดทั้งปี และให้ผลผลิตหลังตัดแต่งสูง ตลอดจนมีลักษณะของหัวที่ดี ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค </p>}, number={2}, journal={วารสารแก่นเกษตร}, author={ธิสา สุรัตน์มณี and คุ้มชัย จุฑามาส}, year={2021}, month={พ.ย.}, pages={330–339} }