@article{อินยอด_ชวนะนรเศรษฐ์_เติมอารมย์_กอนี_ญาติโสม_บัวลอย_เอี่ยมประสงค์_2021, title={ปริมาณและคุณภาพผลผลิตของเห็ดนางฟ้าภูฏานดำ-01 Pleurotus Pulmonarius (TISTR_Ppul-01) และนางรมฮังการี-01 Pleurotus Ostreatus (TISTR_Post-01) จากการเพาะด้วยวัสดุเหลือทิ้งกากกาแฟ}, volume={49}, url={https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/249233}, abstractNote={<p>การศึกษาวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ได้แก่ ขี้เลื่อยไม้ยางพาราและกากกาแฟต่อปริมาณผลผลิต และคุณภาพของดอกเห็ดนางรมฮังการี-01 (<em>Pleurotus Ostreatus</em>)  และเห็ดนางฟ้าภูฏานดำ-01 (<em>P. Pulmonarius</em>) เพาะในอัตราส่วนแตกต่างกัน ได้แก่ สูตรที่ 1 ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 100% (ชุดควบคุม), สูตรที่ 2 กากเมล็ดกาแฟ : ขี้เลื่อย อัตราส่วนร้อยละ 70 : 30, สูตรที่ 3 กากเมล็ดกาแฟ : ขี้เลื่อย อัตราส่วนร้อยละ 50 : 50,  และสูตรที่ 4 กากเมล็ดกาแฟบด 100%, ทำการวัดอัตราการเจริญของเส้นใย น้ำหนักผลผลิต คุณภาพของดอกเห็ด  และวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ พบว่าเห็ดทั้ง 2 สายพันธุ์ ที่เพาะในวัสดุขี้เลื่อยไม้ยางพารา 100% เส้นใยเจริญเต็มก้อนเร็วที่สุด รองลงมาเป็นสูตรที่ผสมกากกาแฟ 50% และ 70% ส่วนสูตรที่ใช้กากกาแฟอย่างเดียวใช้เวลานานที่สุด มีค่าเท่ากับ 26, 47, 60 และ 80 วัน ตามลำดับ ผลผลิตเห็ดนางรมฮังการี-01 เพาะด้วยกากกาแฟอัตราส่วน 50%  ให้น้ำหนักดอกสดมากที่สุดเฉลี่ย 257.99 กรัมต่อก้อน ในขณะที่เห็ดนางฟ้าภูฏานดำ-01 ให้น้ำหนักดอกสดมากที่สุด 182.82 กรัมต่อก้อน จากสูตรที่ใช้กากกาแฟอัตราส่วนทดแทน 70% ดอกเห็ดที่ได้มีลักษณะทรงกลม ขนาดดอกใหญ่ ก้านดอกยาว และให้จำนวนดอกต่อก้อน และมีปริมาณโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และแร่ธาตุบางชนิดสูงอีกด้วย แสดงให้เห็นว่าสูตรที่ใช้กากกาแฟเป็นวัสดุทดแทนให้ผลผลิตและคุณภาพของเห็ดดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม ดังนั้นการนำกากกาแฟมาใช้เป็นวัสดุเพาะผสมกับขี้เลื่อย ทำให้ลดอัตราการใช้ขี้เลื่อยลง 50-70% และช่วยลดต้นการผลิต อีกทั้งเป็นการเพิ่มมูลค่าให้แก่กากกาแฟ</p>}, number={6}, journal={วารสารแก่นเกษตร}, author={อินยอด ธนภักษ์ and ชวนะนรเศรษฐ์ ขนิษฐา and เติมอารมย์ ธนภัทร and กอนี ชาตรี and ญาติโสม สุริมา and บัวลอย สุจิตรา and เอี่ยมประสงค์ ปิยะดา}, year={2021}, month={ก.ค.}, pages={1551–1562} }