@article{นิลวิเชียร_ภูวัน_เด็กหลี_2021, title={ผลของวัสดุปูพื้นต่อการเจริญเติบโต อัตรารอดและความเข้มสีของกุ้งเชอรี่}, volume={49}, url={https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/249332}, abstractNote={<p>กุ้งเชอรี่เป็นกุ้งน้ำจืดสวยงามขนาดเล็กที่ได้รับความนิยมเลี้ยงในปัจจุบัน การศึกษาครั้งนี้ศึกษาผลของวัสดุปูพื้นที่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโต อัตรารอดและความเข้มสีของกุ้งเชอรี่ โดยใช้วัสดุปูพื้นที่แตกต่างกัน 4 ชนิด ได้แก่  ดิน GEX<sup>®</sup> หินดำ ทราย และหินขาว และทำการทดลองเป็นระยะเวลา 30 วัน พบว่าน้ำหนักตัวของกุ้งเชอรี่ที่เลี้ยงในดิน GEX<sup>®</sup> หินดำ ทราย และหินขาวมีค่าเท่ากับ 0.12±0.00, 0.13±0.01, 0.13±0.00 และ 0.10±0.00 กรัม ตามลำดับ ซึ่งไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (P>0.05) ด้านความยาวลำตัวที่เลี้ยงในดิน GEX<sup>®</sup> หินดำ ทราย และหินขาวมีค่าเท่ากับ 2.09±0.02, 2.03±0.03, 2.11±0.02 และ 1.90±0.00 ซม. ตามลำดับ ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) โดยหินขาวมีความยาวเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นน้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับวัสดุปูพื้นชนิดอื่น ด้านอัตรารอดพบว่าทรายส่งผลให้กุ้งเชอรี่มีอัตรารอดสูงสุด (76.67±3.33%) ตามด้วย ดิน GEX<sup>®</sup> (70.00±17.32%) หินดำ (13.33±3.33%) และหินขาว (10.00±0.00%) ตามลำดับ  ในขณะที่ความเข้มสีของกุ้งเชอรี่ที่เลี้ยงด้วยดิน GEX<sup>®</sup> มีความเข้มสีมากที่สุดที่ระดับ 7 และกุ้งเชอรี่ที่เลี้ยงด้วยทรายมีความเข้มสีน้อยที่สุดที่ระดับ 3 นอกจากนี้ปริมาณแคโรทีนอยด์รวมสะสมสุดท้ายในกุ้งเชอรี่ในแต่ละชุดการทดลองไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) ชี้ให้เห็นว่าวัสดุปูพื้นที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อปริมาณแคโรทีนอยด์ที่สะสมในตัวกุ้งเชอรี่</p>}, number={1}, journal={วารสารแก่นเกษตร}, author={นิลวิเชียร ปาริชาต and ภูวัน นิรันดร and เด็กหลี ภุมเรศ}, year={2021}, month={ก.พ.}, pages={203–212} }